ไพจิตร ผาวันวริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์2567-07-152024-07-152567-06ไพจิตร ผาวัน, และวริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์. (2567). การประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารที่ระดับการพัฒนาต่างกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับผนังก่ออิฐฉาบปูน. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 12(1), 93–103.2351-0811https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9815การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและเปรียบเทียบแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM) ที่ระดับการ พัฒนา (Level of Development: LOD) LOD300 และ LOD400 ของอาคารพักอาศัยกึ่งสำนักงาน 7 ชั้น โดยใช้โปรแกรม Autodesk Revit และถอดปริมาณวัสดุของผนังก่ออิฐฉาบปูน เพื่อเปรียบเทียบกับปริมาณวัสดุที่ถอดจากแบบก่อสร้าง 2 มิติ ที่ผู้รับเหมาได้คำนวณไว้ ผลการวิจัยพบว่า ค่าความคลาดเคลื่อนของปริมาณวัสดุจาก BOQ (Bill of Quantities) กับแบบจำลอง LOD300 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 3.98% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 11.24% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และที่ระดับ LOD400 ของปริมาณงานก่อผนังหนา 100 มม. เท่ากับ 10.54% ปริมาณงานก่อผนังหนา 200 มม. เท่ากับ 19.18% ปริมาณงานฉาบผนัง เท่ากับ 38.85% และปริมาณงานเสาเอ็น-คานทับหลัง เท่ากับ 0.95% นอกจากนี้ยังพบว่าสมการถดถอยเชิงเส้นที่สร้างขึ้นสามารถทำนายปริมาณวัสดุได้อย่างแม่นยำ โดยมี R2 อยู่ระหว่าง 0.9942 ถึง 1 ซึ่งจะช่วยลดความคลาดเคลื่อนในการคำนวณปริมาณวัสดุได้อย่างมีนัยสำคัญthแบบจำลองสารสนเทศอาคาร (BIM)การถอดปริมาณวัสดุสมการถดถอยเชิงเส้นการประยุกต์ใช้แบบจำลองสารสนเทศอาคารที่ระดับการพัฒนาต่างกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการคำนวณปริมาณวัสดุสำหรับผนังก่ออิฐฉาบปูนArticle