ปวีณา นารีเลิศ2563-09-162020-09-162563ปวีณา นารีเลิศ. 2563. การชะลอฟ้องในคดีอาญา ศึกษากรณี ความผิดด้านฉลากสินค้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522.นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6949หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการชะลอฟ้องกับความผิดด้านฉลากสินค้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 เนื่องจากการผู้กระทำความผิดด้านฉลากสินค้าตามกฎหมายฉบับนี้ไม่ยินยอมเปรียบเทียบปรับในชั้นพนักงานสอบสวน ทำให้คดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลเป็นจำนวนมาก ส่งผลต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญา อีกทั้ง ทำให้ผู้กระทำความผิดมีประวัติอาชญากรรม เป็นมลทินติดตัว รวมถึงอาจต้องรับโทษร้ายแรงจึงขนาดต้องโทษจำคุกอีกด้วย ผลการศึกษาวิเคราะห์พบว่า การนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้แทนการฟ้องคดีอาญา โดยให้อำนาจพนักงานอัยการในการใช้ดุลพินิจในการสั่งไม่ฟ้องคดีอาญาโดยกำหนดเงื่อนไข อาทิเช่น การคุมประพฤติ การบำเพ็ญประโยชน์ หรือการชดใช้ความเสียหาย เป็นมาตรการหนึ่งที่มีประโยชน์ต่อกระบวนการยุติธรรมอาญา เนื่องจากช่วยลดปริมาณคดีอาญาที่ขึ้นสู่ การพิจารณาของศาล ช่วยรัฐประหยัดงบประมาณและค่าใช้จ่ายในการคุมขังผู้กระทำความผิด รวมถึงเป็นการให้โอกาสผู้กระทำความผิดได้สำนึกและปฏิบัติตามกฎหมาย โดยไม่ต้องรับโทษร้ายแรงถึงขนาดต้องโทษจำคุก และไม่ต้องมีประวัติอาชญากรรมให้เป็นมลทินต่อการดำเนินชีวิตในสังคมthการชะลอฟ้องฉลากสินค้าการชะลอฟ้องในคดีอาญา ศึกษากรณี ความผิดด้านฉลากสินค้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522DEFERRED PROSECUTION IN CRIMINAL CASE: THE CASE STUDY OF OFFENCES REGARDING PRODUCT LABEL BY THE CONSUMER PROTECTION ACT B.E. 2522Other