ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์2555-03-052555-03-052552-02-24หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ. (24 ก.พ. 2009)https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3221บทความวิชาการปรากฏการณ์หนึ่งคนในสองนครหมายถึงคนที่มีภูมิลำเนาในท้องที่หนึ่ง แต่มีผูกพันธ์ หรืออาศัยอยู่ในอีกท้องที่หนึ่ง ทั้งในฐานะที่เป็นแหล่งงานหรือที่พักพิงจากภัยสงครามก็ตาม ที่คนคนหนึ่งอาศัยอยู่เข้าๆ ออกๆ ระหว่างสองดินแดนปรากฏกาณณ์ดังที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่เกือบจะธรรมดาแล้วในสังคมเมืองยุคหลังอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะที่เกิดขึ้นแล้วในโลกตะวันตก ทั้งในสหรัฐฯ ซึ่งถือว่ามีความเป็นพหุสังคมมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก (ได้หลอมรวมความเป็นชาติจากความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งละตินอเมริกา แอฟริกา และเอเชีย) ในทำนองเดียวกันกับสังคมยุโรปหลายประเทศ ซึ่งการผสานความหลากหลายทางเชื้อชาติ กำลังกลายเป็นภาพสังคมใหม่ที่ความเป็นประเทศในฐานะ “ภูมิศาสตร์แห่งความเป็นเชื้อชาติเดียวกัน” เริ่มสลายลง อาทิ สังคมฝรั่งเศสที่มีต่อคนจากแอฟริกา สังคมเยอรมันที่มีต่อคนตุรกี หรือแม้แต่สังคมอังกฤษที่มีต่อคนอินเดียและปากีสถาน เป็นต้นotherคนสองนครคนสองนคร : (Urban Bigamy)Article