สมชาย รอดสวัสดิ์2555-11-212555-11-212555-11-21สมชาย รอดสวัสดิ์. 2551. "ปัญหาในทางกฏหมายเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศไทย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4171กฎหมายหลักที่เกี่ยวกับการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศไทยนั้นฉบับแรกคือพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ปี พ.ศ. 2530 และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ(ฉบับที่3) พ.ศ. 2550 ตามลำดับ พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกฉบับยังคงหลักการในการให้สิทธิในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในรูปแบบภาคสมัครใจ ถึงแม้ว่าได้มีการแก้ไขกฎหมายในปี พ.ศ. 2550 ให้มีความก้าวหน้าไปในหลายๆเรื่องเช่น การแก้ไขในเรื่องนโยบายการลงทุน การโอนย้าย เงินกองทุนของลูกจ้าง ข้อกำหนดในการประชุมสมาชิก การจัดทำบัญชีกองทุน การขอรับเงินเป็นงวด การขอคงเงินไว้ในกองทุน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อความสะดวกของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบริษัทจัดการ เพื่อการปฏิบัติงาน การตรวจสอบ การลงทุนที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะเศรษฐกิจในประเทศและต่างประเทศเท่านั้น และไม่มีกฎหมายฉบับใดเลยที่ได้แก้ไขให้มีลักษณะเป็นการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบภาคบังคับซึ่งพัฒนาไปในบางประเทศที่เจริญแล้วเพื่อผลประโยชน์ของลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่จะได้มีเงินออมไว้ใช้จ่ายเมื่อแกษียณอายุ ดังนั้นจึงมีประเด็นคำถามว่า เป็นการจำกัดสิทธิของลูกจ้างและผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ นักกฎหมาย นักบัญชี วิศวกร คนขับรถรับจ้าง ชางไร่ ชาวนา และผู้ใช้แรงงาน เป็นต้น ที่จะได้รับโอกาศให้มีสิทธิเข้าป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเป็นหลักประกันในวัยชราที่จะมีรายได้เลี้ยงตัวเองไม่ต้องเป็นภาระของรัฐ หรือผู้อื่นในอนาคตกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพปัญหาในทางกฏหมายเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในประเทศไทยThesis