รศ.ดร.ไพบูลย์, ปัญญาคะโป2554-05-122554-05-122554-04http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2147งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์หาความสามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารโดยวิธีการผลักแบบวัฏจักร ซึ่งเป็นการจำลองพฤติกรรมแรงกระทำให้ใกล้เคียงกับสภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวให้มากที่สุด ในการศึกษานี้ เลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 5 ชั้น ซึ่งเป็นอาคารที่พักอาศัยตามแบบมาตรฐานของการเคหะแห่งชาติมาเป็นกรณีศึกษา ในการพัฒนาวิธีการนี้ ได้ทำการวิเคราะห์หาค่าการเคลื่อนที่สูงสุด ซึ่งใช้ในการผลักอาคารแบบวัฏจักร พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการกระจายของแรงผลักตลอดความสูงอาคาร และรูปแบบประวัติการเคลื่อนที่ เพื่อหาผลตอบสนองของอาคารที่ได้จากการผลักอาคารแบบวัฏจักร และนำไปเปรียบเทียบกับ วิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือ ข้อมูลคลื่นแผ่นดินไหวมีจำนวน 10 คู่ เป็นตัวแทนสำหรับพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย และเปรียบเทียบกับวิธีการผลักแบบรวมโหมด ผลการศึกษาพบว่า ค่าการเคลื่อนที่ทางด้านข้างสูงสุดบนยอดอาคาร ค่าการเคลื่อนที่สูงสุดของแต่ละชั้นอาคาร การเกิดข้อหมุนพลาสติกและค่าดัชนีความเสียหายซึ่งได้จากวิธีการผลักแบบวัฏจักร ให้ผลที่ใกล้เคียงกับค่าที่ถูกต้องมากกว่าวิธีการผลักแบบรวมโหมด เนื่องจากวิธีการผลักแบบวัฏจักรมีการพิจารณาถึงโครงสร้างมีค่าสติฟเนสที่ลดลงเนื่องจากการเสื่อมถอยภายใต้แรงกระทำแบบวัฏจักร ทำให้ความสามารถในการต้านทานการเคลื่อนที่ลดลง ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่สอดคล้องกับพฤติกรรมโครงสร้างภายใต้แรงแผ่นดินไหว เป็นผลทำให้ ค่าการเคลื่อนที่เข้าใกล้กับค่าที่ถูกต้องยิ่งขึ้นการผลักแบบวัฏจักรการผลักแบบรวมโหมดวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้นค่าการเคลื่อนที่สูงสุดบนยอดอาคารค่าดัชนีความเสียหายการประเมินกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารโดยวิธีการผลักแบบวัฏจักรSeismic Evaluation of Building by Cyclic Pushover Analysis