ปาริชาต ประดิษฐ์2554-09-242554-09-242554-09-24https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3053สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่มีความต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ได้แผ่ขยายใน หลายพื้นที่มากขึ้น ปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในทุก ๆ ปี จึงทำให้เกิดแนวคิดที่จะสร้างบ้านที่สามารถ ลอยตัวบนน้ำได้ เพื่อรองรับกับอุทกภัยที่จะเกิดขึ้น ได้แก่แนวคิดบ้านลอยน้ำของกรมโยธาธิการเมื่อปี 2551 แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยมนำไปปลูกสร้าง เนื่องด้วยราคาค่าก่อสร้างสูง สำหรับประชาชนทั่วไป งานค้นคว้าฉบับนี้เป็นการเสนอแนวทางการลดต้นทุนของบ้านลอยน้ำ โดยการหาทางเลือกของวัสดุ ชนิดอื่นที่สามารถทดแทนวัสดุเดิม การแยกความเหมาะสมของวัสดุแต่ละชนิด คุณสมบัติของวัสดุ จึง เป็นทางเลือกสำหรับประชาชนทั่วไปที่อยากสร้างบ้านพักอาศัยลอยน้ำให้เหมาะสมกับงบประมาณที่มี อยู่ จากการวิเคราะห์วัสดุรายการหลักที่มีผลกระทบกับราคาค่าก่อสร้างรวม เช่นงานโครงสร้างที่เน้น เรื่องความแข็งแรง ได้แก่งานเสาเข็มที่ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ งานทุ่นลอยน้ำที่เป็น หัวใจสำคัญของโครงการที่ยังคงเลือกใช้แบบของกรมโยธาธิการ แต่ปรับลดจำนวนลง และงาน สถาปัตยกรรมที่เน้นเรื่องความสวยงามในงบประมาณที่จำกัด ซึ่งบางรายการ เช่นงานราวระเบียง งาน ผนังที่ต้องมีการเสนอรูปแบบแนวทางใหม่เพื่อทำการวิเคราะห์โดยละเอียดต่อไป จากการศึกษาเปรียบเทียบวัสดุก่อสร้างตามท้องตลาด สำหรับบ้านในเมืองพบว่าราคาค่า ก่อสร้างที่สามารถลดต้นทุนทั้งหมดจำนวน 104,742 บาท คิดเป็นร้อยละ 14.5 จากราคาค่าก่อสร้าง บ้าน 1 หลังตามรูปแบบและรายการของกรมโยธาธิการ และในพื้นที่ชนบทที่สามารถหาวัสดุในพื้นถิ่น ได้โดยเฉพาะเรือนเครื่องผูกจะสามารถลดราคาค่าก่อสร้างลงได้มากกว่านี้เพราะเรือนดังกล่าวมี น้ำหนักเบาวัสดุทดแทนและราคาค่าก่อสร้างบ้านพักอาศัยลอยน้ำปัญหาน้ำท่วมบ้านเรือนแพวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างการศึกษาวัสดุทดแทนและราคาค่าก่อสร้างบ้านพักอาศัยลอยน้ำTHE STUDY OF REPLACEMENT MATERIALS AND CONSTRUCTION COST FOR FLOATING HOUSESOther