วิภาวรรณ ด่านกำเนิด2564-05-192021-05-192563-05-19https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7554งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดเส้นทางและวางแผนการขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ของโรงพยาบาล กรณี ศึกษา ให้มีระยะทางและต้นทุนรวมต่ำที่สุด โดยการสร้างรูปแบบทาง คณิตศาสาตร์ mathematical ( model) ที่มีการโปรแกรมเชิงเส้นตรง linear (-programming) และประยุกต์ใช้วิธีการหาตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดร่วมด้วย ภายใต้เงื่อนไขคือ ระยะทางสั้นที่สุดและปริมาณ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องไม่เกินความจุบรรทุกของยานพาหนะ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ เมื่อปริมาณความต้องการใช้ตามคำสั่งของแพทย์ประจำอาคารมีปริมาณมาก ทำให้แม่บ้านมีกำลังในการขนส่งไม่เพียงพอ เกิดปัญหาการแบ่งสงที่แต่ละครั้งไม่เต็มความจุบรรทุกของยานพาหนะ เกิดต้นทุนทางแรงงานที่ไม่จำเป็นและการขนส่งไมตรงตามเวลาที่กาหนด เมื่อทำการแก้ไขพบว่า ระยะทางที่ใช้ในการขนสงต่อสัปดาห์ลดลงจาก 37,500 เมตร เหลือ 9,500 เมตร ลดลง 28,000 เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 75 และการขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ตรงเวลาเพิ่มขึ้นจากร้อย ละ 40 เป็นร้อยละ 95 นอกจากนี้เมื่อโรงพยาบาลกรณี ศึกษาทำการจัดตั้งหน่วยงานขนส่งกลางจัดหายานพาหนะที่มีความจุบรรทุก 640,000 ลบ.ซม. และใช้ระยะทางที่จัดขึ้นใหม่เมื่อพิจารณาต้นทุน พบว่าต้นทุนระบบการทำงานใหม่ลดลงจาก 779,060 บาทต่อเดือน เหลือ173,120 บาท ต่อเดือน หรือลดลงร้อยละ78 ซึ่งจากการวิจัยสรุปได้ว่าการจัดเส้นทางและวางแผนการขนส่ง สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของโรงพยาบาลกรณีศึกษาได้thการจัดเส้นทางการขนส่งการหาตำแหนงที่ใกล้ที่สุดการโปรแกรมเชิงเส้นตรงการวางแผนการขนส่งผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ในโรงพยาบาล กรณีศึกษาโรงพยาบาลรัฐขนาดใหญ่แหงหนึ่งของประเทศไทยThesis