ปฏิชน มณีกาญจน์ไพบูลย์ ปัญญาคะโป2563-05-312020-05-312563-05-28https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6668บทความนี้นำเสนอการศึกษาพฤติกรรมต้านทานแผ่นดินไหวของโครงอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีผนังก่ออิฐเสริมกำลังด้วยกรงเหล็กและตะแกรงเหล็กฉีก อาคารที่ใช้ศึกษานี้เป็นอาคารเรียนตามแบบของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งไม่ได้มีการออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว วิธีการเสริมกำลังด้วยกรงเหล็กประกอบด้วย เหล็กฉากประกบที่มุมของหน้าตัดตลอดความยาวของเสาและคาน คาดด้วยแถบแผ่นเหล็กและเชื่อมยึดด้วยตะแกรงเหล็กฉีก การประเมินกำลังโครงสร้างอาคารใช้วิธีการผลักแบบแรงสถิตไม่เชิงเส้น ซึ่งวิเคราะห์โดยการใช้โปรแกรม RUAUMOKO ในการจัดทำแบบจำลองโครงสร้างคานและเสา ใช้แบบจำลองพฤติกรรมการรับแรงของโครงสร้างแบบไม่เชิงเส้นบริเวณข้อหมุนพลาสติกที่ปลายคานและเสา และใช้แบบจำลองค้ำยันสปริงเทียบเท่าสำหรับผนังก่ออิฐ เพื่อศึกษาพฤติกรรมของโครงสร้างทั้งก่อนและเสริมกำลัง ผลการวิเคราะห์พบว่า โครงสร้างอาคารเดิมเกิดข้อหมุนพลาสติกที่ปลายเสาและมีค่าระดับความเสียหายสูงมาก โดยเฉพาะเสาชั้นล่างและเสาที่มีผนังก่ออิฐแบบไม่เต็มแผง และคานชั้นที่ 2 หลังจากการเสริมกำลัง โครงสร้างเสริมกำลังให้ค่ากำลังต้านทานสูงกว่าโครงสร้างเดิม 1.53-3 เท่า และไม่พบการเกิดข้อหมุนพลาสติกที่ปลายเสาthตะแกรงเหล็กฉีกการเสริมกำลังกรงเหล็กผนังก่ออิฐการวิเคราะห์แรงสถิตไม่เชิงเส้นพฤติกรรมต้านทานแผ่นดินไหวของโครงสร้างอาคารผนังก่ออิฐที่เสริมกำลังด้วยกรงเหล็กและตะแกรงเหล็กฉีกArticle