อรรถสิทธิ์ เจริญทรัพย์2019-03-082019-03-082562-03-08https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6008นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายโปรแกรมประยุกต์ (application) ในโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (smart phone) ตามประมวลรัษฎากรฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551 ในเรื่องการจัดเก็บภาษีว่าควรจัดเก็บในรูปแบบใด จัดเก็บภาษีกับใครระหว่างผู้ซื้อหรือผู้ขายโปรแกรมประยุกต์ และหากผู้มีหน้าที่เสียภาษีอยู่ในต่างประเทศ จะมีมาตรการในการจัดเก็บภาษีอย่างไร จากการศึกษาพบว่าประมวลรัษฎากรฉบับปรับปรุง พ.ศ.2551 ยังไม่ได้วางหลักในเรื่องการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายโปรแกรมประยุกต์ไว้ และยังไม่สามารถตีความได้ว่าการซื้อขายโปรแกรมประยุกต์เป็นการซื้อขายหรือการให้บริการ ดังนั้นผู้วิจัยเห็นควรกำหนดมาตรการและขั้นตอนในการจัดเก็บภาษีดังกล่าว และควรแก้ไขอนุสัญญาภาษีซ้อน โดยรัฐภาคีสมาชิกของอนุสัญญา ให้สอดคล้องกับยุคเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งควรกำหนดให้การจัดเก็บภาษีนี้เป็นการจัดเก็บภาษีบริการ เนื่องจากสิทธิเด็ดขาดในโปรแกรมประยุกต์ยังคงอยู่ที่ผู้ขายโปรแกรมประยุกต์ ทั้งนี้เป็นประโยชน์แก่รัฐ เพื่อนำภาษีดังกล่าวมาพัฒนาประเทศต่อไปthภาษีโปรแกรมประยุกต์โทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายโปรแกรมประยุกต์ในโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะLEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES IN COLLECTING TAXES FROM SALES OF APPLICATIONS IN SMART PHONESThesis