สายฝน กล้าเดินดง2554-09-192554-09-192554-05http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2884การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การตามประเภทผู้รับใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 383 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ และได้ทำการทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) ได้ค่า Cronbach’s reliability Coefficient alpha โดยรวมเท่ากับ 0.92 แล้วจึงนำแบบสอบถามไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองจนได้แบบสอบถามครบถ้วนสมบูรณ์ แล้วจึงนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ การทดสอบสมมติฐานโดยใช้ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพียร์สัน (Pearson Product moment correlation coefficient, Rxy) ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร มีคุณภาพชีวิตในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ประเภทผู้รับใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนประเภทผู้รับใบอนุญาตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน (2) คุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครคุณภาพชีวิตในการทำงานความผูกพันต่อองค์การการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานเพื่อเพิ่มความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครThe Development of the Quality of Work Life for the Purpose to Build Up the Organizational Commitments of the Employees at Private Higher Education Institutions in Bangkok, Thailand