สุภาพร อุดไชย, วารุณี ลัภนโชคดี และ ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ2564-02-162021-02-162563-08-31https://joe-edu.rmu.ac.th/system/fileupload1/11-06-2020922666261.pdf2630-0125 (online)https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7296-การประเมิน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศีกษากรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการประเมินเชิงระบบ (CIPPI Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูล คือ คณะครูและบุคลากร 25 คน ผู้บริหาร 1 คน ศึกษานิเทศก์ 1 คน ครูผู้รับผิดชอบกิจกรรม ในโครงการ 11 คน คณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสำหรับชุมชน 3 คน นักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 224 คน และผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบประเมินพฤติกรรมนักเรียน 5) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม และ 6) แบบบันทึกข้อมูลโครงการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหา ค่าความถึ่ และค่าร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมิน ดังนี้ 1) ด้านบริบท พบวา วัตถุประสงค์มีความชัดเจนและเหมาะสม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์มีความเหมาะสมและเพียงพอ 3) ด้านกระบวนการ พบว่า โรงเรียน มีกระบวนการในการดำเนินการการจัดกิจกรรม การประชาสัมพันธ์ การกำกับติดตามและประเมินผล อย่างเหมาะสม 4) ด้านผลผลิต พบว่าบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ในโครงการโรงเรียนสุจริต ทั้ง 3 ข้อ 5) ด้านผลกระทบ พบว่า หลังจากที่โรงเรียนดำเนินงานทำให้โรงเรียนมีชื่อเสียง และได้รับรางวัลหลายอย่าง โดยผลการประเมินทั้ง 5 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกตัวบ่งชี้thการประเมิน / โครงการโรงเรียนสุจริตการประเมินโครงการโรงเรียนสุจริตของโรงเรียนวัดเวตวันธรรมาวาสThesis