ปรรณพัชร์ ฐิติธรรมเวทย์2561-01-102561-01-102018-01-102018-01-102560ปรรณพัชร์ ฐิติธรรมเวทย์. (2560). การกระทำทางละเมิดของลูกจ้างผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5500ปรรณพัชร์ ฐิติธรรมเวทย์. การกระทำทางละเมิดของลูกจ้างผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2560.การประกอบธุรกิจไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไม่สามารถกระทำได้เพียงคนเดียว จึงจำเป็นต้องมีผู้ร่วมงานเข้ามาในฐานะ เรียกว่า ลูกจ้าง เข้ามาช่วยเหลือในการปฏิบัติงาน สำเร็จดังความมุ่งหมายของเจ้าของกิจการหรือนายจ้าง เมื่อเจ้าของกิจการหรือนายจ้างได้มอบหมายกิจการใดให้ลูกจ้างทำงาน นายจ้างก็ได้รับประโยชน์ในงานนั้นหากลูกจ้างไปก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น นายจ้างก็ต้องรับผิดด้วย อันถือได้ว่าเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้แก่สังคม จากการศึกษาพบว่าปัญหาความรับผิดทางละเมิดที่เกิดจากลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การเยียวยานักท่องเที่ยวที่ได้รับความเดือดร้อนจากการกระทำของลูกจ้าง นายจ้างต้องมีส่วนร่วมรับผิดในค่าเสียหาย การดูแลและเยียวยานักท่องเที่ยว กฎหมายที่ใช้บังคับในปัจจุบัน ได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กฎหมายดังกล่าวยังมิได้กำหนดการพิจารณาขอบเขตของทางการที่จ้างจะพิจารณาจากหน้าที่หลักของลูกจ้างว่า การละเมิดนั้นเกี่ยวกับหน้าที่หลักหรือไม่ ซึ่งการพิจารณาขอบเขตของทางการที่จ้างจึงต้องพิจารณาหน้าที่ของลูกจ้างผู้กระทำละเมิดเป็นกรณีไป อีกทั้งไม่ปรากฏหน้าที่ตามกฎหมาย ตามสัญญา หรือตามพฤติกรรมต่างๆจากการกระทำก่อนๆของผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของลูกจ้างก็ไม่อาจเรียกร้องโดยมูลละเมิดได้thลูกจ้างผู้ประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพฤติกรรมของการท่องเที่ยวการกระทำทางละเมิดของลูกจ้างผู้ประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวVIOLATION OF BUSINESS EMPLOYEES IN TOURISM INDUSTRYOther