ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์สุขุมาภรณ์, จงภักดี2552-02-162552-02-162547https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1356ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2546พื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนที่อยู่อาศัยของรัฐ หรือพื้นที่ที่แต่เดิมมีไว้เพื่อการนันทนาการในชุมชน เป็นพื้นที่ที่ขาดการดูแลรักษา โดยงานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สำรวจ และอธิบายสภาพปัญหาดังกล่าวในเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของปัญหาใน 4 ประเด็นอย่างมีความสัมพันธ์กันได้แก่ 1) มิติทางกายภาพของพื้นที่ โดยศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้พื้นที่กับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ 2) มิติทางเศรษฐกิจ การเงิน และทรัพยากร โดยศึกษาสถานภาพทางด้านทรัพยากรของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดูแลพื้นที่ว่างสาธารณะ 3) มิติเชิงพฤติกรรมและสังคม โดยศึกษาพฤติกรรม แบบแผนและทัศนคติของผู้ใช้ พื้นที่ว่างสาธารณะในแง่มุมต่างๆ และ 4) มิติเชิงสถาบัน โดยศึกษาลักษณะความสัมพันธ์ในแง่มุมต่างๆ ของผู้ที่มีส่วนได้เสียในประเด็นการฟื้นฟูพื้นที่ว่างสาธารณะ เนื่องจากงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงสหวิทยาการ ที่ใช้มุมมองต่อปัญหาในหลายมิติ ทำให้วิธีการวิจัยต้องอาศัยข้อมูลการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ได้แก่ การใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในเชิงลึกไปตามแต่ชนิดของมิติที่วิเคราะห์ โดยอาศัยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในการอธิบายปัญหาและความสัมพันธ์ของปัญหาในภาพรวม ผลการศึกษา พบว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้พื้นที่ว่างสาธารณะขาดการดูแลรักษาคือ ปัญหาด้านประสิทธิภาพของการจัดการของหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ อันเนื่องมาจากประชากรที่มีมาก เกินกว่าที่หน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะดูแลได้ รวมทั้งความขัดแย้งของหน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ฯ เนื่องจากมีความทับซ้อนของบทบาท หน้าที่ ตลอดจนถึงความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ ที่ส่งผลให้เกิดการใช้พื้นที่ว่างสาธารณะที่ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผังการใช้พื้นที่เดิมพื้นที่ว่างสาธารณะผู้มีส่วนได้เสียสหวิทยาการการฟื้นฟูพื้นที่ว่างสาธารณะในชุมชนที่อยู่อาศัยของรัฐ กรณีศึกษา: โครงการเมืองใหม่บางพลี วาระที่ 1 ของการเคหะแห่งชาติREVITALIZING THE OPEN SPACE IN PUBLIC HOUSING COMMUNITY A CASE OF NHA’S BANGPLEE NEW TOWN, PHASE 1