สุพรรษา ภู่แย้ม2560-08-012017-08-012559ปีการศึกษา 2559https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5325บทความ หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายอันเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ที่ปรากฎในประเทศออสเตรเลีย มลรัฐควีนส์แลนด์เพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่เหมาะสมกับประเทศไทย อันสามารถทำการวิเคราะห์ได้ในประเด็นดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาตามกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551 ซึ่งใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ในประเทศไทย 2. วิเคราะห์เปรียบเทียบการกำหนดความรับผิดของผู้ผลิตและการกำหนดส่วนควบและ เครื่องอุปกรณ์ซึ่งใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ในประเทศออสเตรเลีย 3. แนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ โดยสรุปได้ว่ากฎหมายอันเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ที่บังคับใช้ในประเทศไทยปัจจุบันนั้นมีการกำหนดถึงการลงโทษเพียงแค่ผู้ครอบครองหรือผู้ใช้รถจักรยานยนต์ที่ได้รับการดัดแปลงสภาพเท่านั้น ซึ่งยังไม่เป็นที่เพียงพอในการแก้ไขการกระทำความผิด ดังนั้นจึงเห็นควรให้ มีการกำหนดเพิ่มเติมถึงหลักความรับผิดในทางอาญาให้แก่ผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์โดยเพิ่มเติมในส่วนของบทลงโทษตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และทำการพิจารณาถึงความถูกต้องของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ได้รับการผลิตนั้นตามกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบ และอุปกรณ์สำหรับรถทั้งนี้โดยทำการออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อใช้กับกฎกระทรวงกำหนดส่วนควบ และเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถ พ.ศ. 2551ให้มีความชัดเจนและครอบคลุมเพื่อการพิจารณาชิ้นส่วน หรืออุปกรณ์ที่หากทำการผลิตแล้วจะก่อให้เกิดเป็นการกระทำอันเป็นความผิดthความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ความรับผิดทางอาญาสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนที่ใช้ในการดัดแปลงสภาพรถจักรยานยนต์Article