สิรินธร สินจินดาวงศ์รณิดา นุชนิยมกรกฎ ผกาแก้ว2564-11-292021-11-292564-10-28https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7798บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการถ่ายทอดองค์ความรู้ และภูมิปัญญาของผู้สูงวัย 2) ศึกษาประเภทของภูมิปัญญาผู้สูงวัย จากฐานข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ โดยสรุปการนำเสนอเป็น 2 ส่วน การถ่ายทอดภูมิปัญญาและสาขาภูมิปัญญาผู้สูงวัย ซึ่งวิธีการถ่ายทอดภูมิปัญญาของผู้สูงวัยที่นิยมใช้กันมากที่สุด ได้แก่ การบอกเล่า บรรยายด้วยวาจา การสาธิต และการปฏิบัติจริงตามลำดับ นอกจากนี้ ยังใช้แหล่งเรียนรู้ หรือเรียนรู้จากสื่อด้วยตนเอง รวมถึงการบันทึกองค์ความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร การแสดงพื้นบ้านเป็นสื่อ ส่วนประเภทภูมิปัญญาของผู้สูงวัยจากการรวบรวมข้อมูลของกรมกิจการผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนใหญ่เป็นภูมิปัญญาเกี่ยวกับ อุตสาหกรรม หัตถกรรม จักสานและโอทอป รองลงมา ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี และการเกษตร ส่วนด้านเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง สถาปัตยกรรม วิศวกรรม กฎหมาย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และด้านต่างประเทศยังมีจำนวนน้อย เมื่อนำมาพิจารณาภูมิปัญญาของผู้สูงวัย ในจังหวัดปทุมธานี พบว่า ผู้สูงวัยมีภูมิปัญญาด้านศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี, อุตสาหกรรม หัตถกรรม จักสานและโอทอป, การเกษตร, การศึกษา, การแพทย์และสาธารณสุข, พัฒนาสังคม สังคมสงเคราะห์ จัดสวัสดิการสังคม, ภาษา วรรณคดี วรรณศิลป์ / วาทศิลป์, ศาสนา จริยธรรม, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพาณิชย์และการบริการ ตามลำดับ ดังนั้น การศึกษาเชิงลึกจากการปฏิบัติจริง และมีการเผยแพร่องค์ความรู้ ภูมิปัญญาผ่าน Social Media เพื่อให้เยาวชนและบุคคลทั่วไปเข้าถึงได้ง่ายขึ้นthการถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาผู้สูงวัยศักยภาพผู้สูงวัยการถ่ายทอดองค์ความรู้และภูมิปัญญาตามศักยภาพของผู้สูงวัยKNOWLEDGE TRANSFER AND WISDOM ACCORDING TO THE POTENTIAL OF THE AGINGArticle