ศรัณย์ วรรธนัจฉริยา และคณะ2555-07-232555-07-232555-07-23http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3744สำนักงานเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้กำหนดให้ความมั่นคงทางด้านอาหารและพลังงานเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์การพัฒนาในแผนพัฒนาเศรษ.ฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยให้ความสำคัญกับประเด็นด้านความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหารเป็นสำคัญ เพื่อให้ไทยมีอาหารเพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศและสามารถรองรับการบริโภคจากต่างประเทศนอกจากนี้ยังต้องรักษาความสมดุลระหว่างการผลิตและบริโภคพืชอาหารและพืชพลังงานด้วยการหาแนวทางส่งเสริมเพาะปลูกพืชพลังงานที่ไม่ขัดแย้งกับการปลูกพืชอาหาร ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในอนาคตอย่างเป็นรูปธรรม ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารโลกเหมือนกับหลายๆประเทศเนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรมากที่สุดในโลกอยู่หลายชนิด เช่น ข้าว มันสำปะหลัง สับปะรดกระป๋อง และกุ้ง แต่เราก็ขาดความมั่นคงทางด้านพลังงาน เนื่องจากต้องนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงกว่าปีละ 1 ล้านล้านบาท จนทำให้ประเทศไทยต้องกำหนดนโยบายพลังงานทดแทนจากพืชโดยใช้อ้อย (กากน้ำตาล) และมันสำปะหลัง ในการผลิตเอทานอล เพื่อผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล และปาล์มน้ำมันเพื่อผลิตไบโอดีเซล อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการพึ่งตนเองด้านน้ำมันเชื้อเพลิงยังอยู่ในระดับต่ำมาก คือ ร้อยละ 6.12 และ 1.91 สำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงจากเอทานอลและไบโอดีเซลตามลำดับความมั่นคงอาหารพลังงานของไทยความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของไทยArticle