เกียรติศักดิ์ สกุลพันธ์1* และธนภัทร พรหมวัฒนภักดี12567-04-282024-04-282567-03-22การประชุมวิชาการ (Proceedings) ครั้งที่ 19 คอวท.978-616-584-167-2https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9737การจัดการเรียนรู้ด้านเทคนิคการสอนเพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ด้วยเทคนิคการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped classroom) ใน รายวิชาปฎิบัติการออกแบบเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นวิชาชีพบังคับในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตร บัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในอดีตพบว่า การเรียนการสอนในเนื้อหารายวิชาจะเป็นการใช้โปรแกรม สำเร็จรูปทางวิศวกรรมในการจำลองชิ้นงานสามมิติ, ชิ้นงานประกอบ, และการทำแบบแปลนสั่งงาน โดยจะ เป็นการบรรรยายหน้าห้องเรียนพร้อมกับเอกสารประกอบการสอนเพื่อให้นักศึกษาทำตามทีละขั้นตอน ทำให้ การเรียนรู้เป็นไปอย่างช้าๆ ส่งผลให้เนื้อหาที่สอนไม่สามารถจบในคาบเรียน ต่อเนื่องถึงบรรยากาศในการ เรียนรู้ และไม่เกิดการกระตุ้นจูงใจนักศึกษาได้อย่างเต็มศักยภาพ จึงได้ทำการปรับปรุงแนวทางการเรียนรู้ใหม่ ตามแนวทางการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการปรับปรุงรายละเอียดในเอกสาร ประกอบการสอน และจัดทำสื่อวีดิทัศน์ในแต่ละบทเรียนให้นักศึกษาสามารถศึกษาก่อนและหลังคาบเรียน ผล การศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักศึกษาจำนวน 182 คน ใน 3 ภาคการศึกษา โดยทั้งหมดมีผู้สอนและใช้ชิ้นงาน เดียวกันกับอดีตที่ผ่านมา นักศึกษาสามารถทำการจำลองชิ้นงานได้เร็วขึ้นกว่าการสอนแบบเดิม 87 เปอร์เซ็นต์ ด้วยคำสั่งที่ใช้ในการขึ้นรูปที่เท่ากัน ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถทำแบบฝึกหัดท้ายบทได้เสร็จภายในคาบเรียน เนื่องจากนักศึกษาสามารถย้อนดูวิดีโอได้ตลอดเวลา ทำให้บรรยากาศในกิจกรรมการเรียนสนุกและไม่ เคร่งเครียดจนเกินไป อีกทั้งนักศึกษายังสามารถทบทวนการเรียนรู้ด้วยการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกิดการ เรียนรู้และความเข้าใจที่เร็วขึ้นthห้องเรียนกลับทาง, การออกแบบเครื่องจักรกลด้วยคอมพิวเตอร์, การทำแบบแปลนสั่งงานThe Learning of the Computer Mechanical Design Course by Flipped Classroom Technique for Faculty of Engineering StudentsArticle