Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1296
Title: พฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี
Authors: ชนสรณ์ โตกราน
Keywords: พฤติกรรมผู้บริโภค
อาหารญี่ปุ่น
ชลบุรี
Issue Date: 30-January-2552
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพและระดับ รายได้ต่อเดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำนวน 398 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น (Non-probability sampling) โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมีลักษณะเป็นสำรวจรายการ (Check-list) และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานเปรียบเทียบความแตกต่างและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรสองตัวแปร สถิติที่ใช้คือ ไคร์-สแควร์ (Chi-square) ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 26-35 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนมีรายได้ระหว่าง 25,001-35,000 บาท ผู้ตอบแบบสอบถามชอบรับประทานอาหารญี่ปุ่นประเภทซูซิมากที่สุด ความถี่ในการรับ ประทานอาหารญี่ปุ่นคือ นานๆครั้ง และจะรับประทานอาหารญี่ปุ่นเฉพาะวันหยุด (เสาร์-อาทิตย์) ช่วงเวลาเย็น ใช้ระยะเวลาในการรับประทาน 1-2 ชั่วโมงบุคคลที่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อคือ เพื่อนโดยจะไปร้านอาหารญี่ปุ่นตามศูนย์การค้า ค่าใช้จ่ายในการรับประ ทานอาหารญี่ปุ่นประมาณ 201-300 บาทต่อคนและผู้ตอบแบบสอบถามรู้จักอาหารญี่ปุ่นจากสื่อโทรทัศน์มากที่สุด ผลจากการศึกษาในด้านปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยทางการตลาดโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับความสะอาด สดใหม่ของอาหาร 2. ปัจจัยด้านราคา ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับราคาเหมาะสมกับคุณภาพสินค้า 3. ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับความสะอาดของร้าน และปัจจัยด้านการส่งเสริมทางการตลาด ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับส่วนลดพิเศษสำหรับสมาชิก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ได้แก่ ด้านเพศ สถานภาพ และอาชีพ ต่างกัน พฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีไม่แตกต่างกัน ส่วน ด้านอายุ ระดับการศึกษาและรายได้ ต่างกัน พฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีแตกต่างกัน ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาดไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารญี่ปุ่นของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ยกเว้นด้านผลิตภัณฑ์
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1296
Appears in Collections:S_CHO-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
title.pdf24.98 kBAdobe PDFView/Open
abstract.pdf40.49 kBAdobe PDFView/Open
acknow.pdf27.44 kBAdobe PDFView/Open
chap1.pdf97.95 kBAdobe PDFView/Open
chap2.pdf217.64 kBAdobe PDFView/Open
chap3.pdf110.56 kBAdobe PDFView/Open
chap4.pdf286.68 kBAdobe PDFView/Open
chap5.pdf93.58 kBAdobe PDFView/Open
bib.pdf72.45 kBAdobe PDFView/Open
appen.pdf83.61 kBAdobe PDFView/Open
appen2.pdf58.96 kBAdobe PDFView/Open
profile.pdf27.87 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.