Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1319
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพบูลย์ ปัญญาคะโป-
dc.date.accessioned2552-02-12T08:36:52Z-
dc.date.available2552-02-12T08:36:52Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1319-
dc.descriptionได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2550en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์หากำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครโดยเลือกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีลักษณะสมมาตรขนาดความสูง 15 ชั้นจำนวน 1 หลังและอาคารที่มีลักษณะไม่สมมาตรขนาดความสูง 14 ชั้น จำนวน 1 หลัง อาคารเหล่านี้ไม่ได้มีการออกแบบเพื่อต้านทานแผ่นดินไหว ในการวิเคราะห์นี้ ใช้วิธีการผลักแบบวัฏจักร ซึ่งเป็นการจำลองพฤติกรรมแรงกระทำให้ใกล้เคียงกับสภาพเหตุการณ์แผ่นดินไหวให้มากที่สุด และเปรียบเทียบกับวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่น่าเชื่อถือสำหรับโครงสร้างอาคารสูง และมีการพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้าง เนื่องจากผลกระทบจากชั้นดินอ่อนในเขตกรุงเทพมหานครต่อโครงสร้าง โดยการจำลองฐานรากเป็นแบบยืดหยุ่น และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์กับฐานรากแบบยึดแน่น สำหรับวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้น ใช้คลื่นแผ่นดินไหวจำลองจำนวน 4 คลื่น ที่ให้กราฟอัตราเร่งตอบสนองใกล้เคียงกับสเปคตรัมการออกแบบสำหรับดินในเขตกรุงเทพมหานคร ผลการวิเคราะห์พบว่าวิธีการผลักอาคารแบบวัฏจักร ให้ค่าดัชนีความเสียหายที่น่าเชื่อถือกว่าวิธีการผลักอาคารทั่วไป เนื่องจากมีการรวมผลของความเสียหายสะสมจากการเคลื่อนที่แบบวัฏจักรด้วย สำหรับการเกิดข้อหมุนพลาสติกและค่าระดับความเสียหายไม่ตรงกับผลจากการวิเคราะห์ด้วยวิธีพลศาสตร์ เนื่องจากผลกระทบของโหมดที่สูงขึ้นไป เมื่อพิจารณาผลกระทบจากชั้นดินอ่อน กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารมีค่าลดลงเมื่อดินมีคุณสมบัติอ่อนลง องค์อาคารมีข้อหมุนพลาสติกเกิดมากขึ้น และค่าดัชนีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การวิเคราะห์กำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯซึ่งเป็นชั้นดินอ่อนจึงควรพิจารณาปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้างด้วยen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวen_US
dc.subjectการผลักแบบวัฏจักรen_US
dc.subjectดัชนีความเสียหายen_US
dc.subjectวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้นen_US
dc.subjectปฏิสัมพันธ์ระหว่างดินและโครงสร้างen_US
dc.titleการวิเคราะห์กำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหวของอาคารสูงที่ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeAnalysis of Seismic Capacity of High Rise Buildings in Bangkok Areaen_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
50 รศ.ดร.ไพบูลย์.pdfรายงานวิจัย3.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.