Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1326
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุภาวดี โพธิยะราช-
dc.date.accessioned2552-02-13T02:40:09Z-
dc.date.available2552-02-13T02:40:09Z-
dc.date.issued2551-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1326-
dc.descriptionได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2550en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อหาแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบวิสาหกิจชุมชนของเกษตรกรชาวสวนยางที่ประสบความสำเร็จได้แก่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มยางพาราห้วยคต จังหวัดอุทัยธานี และสหกรณ์กองทุนสวนยางทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อนำมาเป็นต้นแบบให้แก่เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดพิษณุโลกโดยใช้วิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษา พบว่า วิสาหกิจชุมชนกลุ่มยางพาราห้วยคต มีกำไรสุทธิในช่วงยางให้ผลผลิต ช่วงอายุ 8-10 ปี 11-14 ปี และ 15 ขึ้นไป เท่ากับ 15,528.89, 24,121.65 และ 14,309.51 บาทต่อไร่ ช่วงที่ยางพาราให้ผลผลิตนี้ มีต้นทุนการผลิต ประมาณ 6.97-11.40 บาทต่อกิโลกรัม สหกรณ์กองทุนสวนยางทองผาภูมิ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 16,674.83, 28,824.70 และ 16,205.19 บาทต่อไร่ ช่วงที่ยางพาราให้ผลผลิต มีต้นทุนการผลิต ประมาณ 5.46-10.89 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับกลุ่มส่งเสริมการปลูกยางพารา จังหวัดพิษณุโลก มีกำไรสุทธิเท่ากับ 13,666.78, 19,139.13 และ 11,382.49 บาทต่อไร่ และมีต้นทุนการผลิต ประมาณ 6.97-11.40 บาทต่อกิโลกรัม กลุ่มวิสาหกิจและสหกรณ์ที่ศึกษา มีระบบการบริหารจัดการในรูปแบบสหกรณ์ มีระเบียบการซื้อ-ขาย การคัดคุณภาพยาง การรวบรวมยางเพื่อส่งไปยังบริษัทที่รับซื้อด้วยวิธีการประมูล โดยกลุ่มจะหักเงินไว้ร้อยละ 2 บาทจากรายได้ที่เกิดจากการขายยางของสมาชิก ซึ่งสมาชิกได้เงินปันผลร้อยละ 8 บาทต่อปีของยอดหุ้นที่ตนเองมีอยู่ และได้รับเงินเฉลี่ยคืนกำไรตามจำนวนหุ้นและกลุ่มเรียกเก็บเงินจากสมาชิกร้อยละ 1 ของยอดขายสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ จากการจัดเวทีประชุมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราพิษณุโลก 2 ครั้ง กลุ่มเกษตรกรมีความตั้งใจที่จะขับเคลื่อนการรวมกลุ่มให้เป็นวิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็ง เนื่องจากเห็นว่าการประกอบอาชีพปลูกยางพาราสามารถสร้างรายได้และเพิ่มคุณภาพชีวิตในระยะยาวได้เป็นอย่างดี ดังนั้น เพื่อให้สามารถบริหารจัดการกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงร่วมกันเสนอแผนงานที่จะดำเนินการ 2 โครงการ คือ (1)โครงการศึกษาดูงานด้านการจัดกลุ่มวิสาหกิจและสหกรณ์ผู้ปลูกยางพาราเพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน กลุ่มส่งเสริมการปลูกยางพารา อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ปี 2550-2551 และ(2) โครงการเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้การดูแลรักษายางพาราen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectยางพาราen_US
dc.subjectการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.titleแนวทางการส่งเสริมการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรชาวสวนยาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกen_US
dc.title.alternativeGuidelines for Promoting Organization of the Community Entreprises by Using Participation Action Research Method : A Case Study of Rubber Farmers Group in Amphoe Wang Thong Changwat Phitsanulokeen_US
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
50 ผศ.สุภาวดี.pdfรายงานวิจัย23.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.