Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1471
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorฉัตร สุจินดา-
dc.date.accessioned2552-05-26T00:46:41Z-
dc.date.available2552-05-26T00:46:41Z-
dc.date.issued2007-05-09-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1471-
dc.description.abstractในปัจจุบันตลาดวัสดุก่อสร้างไทย มีเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตที่ไม่ได้มาตรฐานตาม มอก. 20-2543 หรือ 24-2548 ขายในเชิงพาณิชย์อยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเหล็กเส้นเหล่านี้ ยังคงนิยมนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงสร้างขนาดเล็กเช่นบ้านพักอาศัย หรืออาคารขนาดเล็ก ที่เจ้าของโครงการไม่มีความรู้หรือไม่เห็นความสำคัญ แต่การใช้เหล็กที่ไม่ได้มาตรฐานอาจมีผลเสียในเชิงวิศวกรรมได้ งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาถึงผลกระทบของเหล็กเสริมไม่ได้มาตรฐานที่มีต่อพฤติกรรม และกำลังขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ในเชิงปริมาณ โดยการเก็บตัวอย่างเหล็กเส้น จากสถานที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัย จำนวน 100 แห่งในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อหาคุณสมบัติทางกลที่สำคัญและมีผลกระทบต่อกำลังการรับแรงขององค์อาคาร จากนั้นได้ใช้เหล็กเส้นที่สุ่มซื้อจากร้านวัสดุก่อสร้าง ทั้งที่ได้มาตรฐาน และไม่ได้มาตรฐาน มาเสริมในชิ้นส่วนตัวอย่างคาน และพื้นทางเดียวที่จัดเตรียมในห้องปฏิบัติการ เพื่อทดสอบหากำลังการรับแรงดัด จากการศึกษาเก็บตัวอย่างเหล็กเส้น พบว่าตัวอย่างเหล็กเส้นส่วนใหญ่ ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มอก. 20-2543 หรือ 24-2548 ทั้งด้านน้ำหนัก ขนาด และกำลังจากการทดสอบการรับ แรงดัดของคาน 2 ตัวอย่างและพื้น 4 ตัวอย่าง พบว่าคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 198% ของค่าที่คำนวณได้จากสูตรที่ใช้ในการออกแบบ ส่วนคานตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น DB12 ที่ไม่ได้มาตรฐานมีกำลังรับโมเมนต์ดัดเป็น 118% ของค่าที่คำนวณได้ จากการทดสอบแผ่นพื้นที่เสริมด้วยเหล็กเส้นกลม กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB6 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 100% และ 77% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ในขณะที่กำลังการรับโมเมนต์ดัดของพื้นตัวอย่างที่เสริมด้วยเหล็กเส้น RB9 ที่ได้มาตรฐานและไม่ได้มาตรฐานเป็นสัดส่วน 121% และ 73% ของค่าที่คำนวณได้ตามลำดับ ข้อมูลดังกล่าวอาจนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงมาตรฐานการออกแบบคอนกรีตเสริมเหล็กสำหรับประเทศไทยต่อไปในอนาคตen_US
dc.description.sponsorshipSPU Research Instituteen_US
dc.publisherSPUen_US
dc.subjectReinforcing steel barsen_US
dc.subjectNon-standard barsen_US
dc.subjectFlexural strength testen_US
dc.titleผลกระทบของเหล็กเสริมไม่ได้มาตรฐานที่มีต่อพฤติกรรมและกำลังขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงดัดen_US
dc.title.alternativeTHE EFFECT OF NON-STANDARD REBARS ON THE BEHAVIOR AND STRENGTH OF FLEXURAL CONCRETE MEMBERSen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
Appears in Collections:บทความวิชาการ

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Research Full Report 2547-2550.pdfFull Report3.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.