Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1679
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorศรัณย์ภัทร, เรืองประไพ-
dc.date.accessioned2553-04-26T08:26:30Z-
dc.date.available2553-04-26T08:26:30Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1679-
dc.description.abstractการศึกษาของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชา MGT 417 การสื่อสารเพื่อการจัดการ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาผลการเรียนของนักศึกษา ที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือชนิดวิธีการเรียนแบบแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ 2) ศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือโดยการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่ม ร่วมมือ ในการทดลองครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการทดสอบความรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการทดลอง ประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มในระหว่างเรียน และสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ หลังการทดลอง จากนั้น ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดย หาค่าเฉลี่ย (Mean)ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าสถิติ t แบบไม่เป็นอิสระจากกัน (t-test for dependent samples)ของคะแนนการทดสอบวัดผล สัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน แล้วเปรียบเทียบเพื่อหาความแตกต่างคะแนนเฉลี่ย และค่านัยสำคัญทางสถิติของการทดสอบ หาค่าเฉลี่ย (Mean) ของแบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาพฤติกรรมของผู้เรียน หาค่าเฉลี่ย (Mean) ของแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนแบบร่วมมือ เพื่อนำข้อมูลมาประเมินความคิดเห็นในภาพรวม ผลการศึกษาพบว่า 1. การศึกษาสัมฤทธิ์ผลในการเรียนโดยพิจารณาจากคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่าคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 2. พฤติกรรมการร่วมมือในการเรียนของนักศึกษาที่ใช้วิธีเรียนแบบ แบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์,วิธีการเรียนแบบต่อบทเรียนหรือปริศนาความคิด และวิธีการเรียนแบบกลุ่มร่วมมือ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจากระดับน้อยไปเป็นระดับดี แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการด้านพฤติกรรม การให้ความร่วมมือในการเรียนของนักศึกษา 3. ระดับความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมืออยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด แสดงให้เห็นถึงความคิดเชิงบวกที่มีต่อวิธีการเรียนแบบร่วมมือen_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนวิจัยในชั้นเรียน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectการเรียนแบบร่วมมือen_US
dc.subjectCooperative learningen_US
dc.titleผลของการใช้วิธีการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชาMGT 417 การสื่อสารเพื่อการจัดการen_US
dc.title.alternativeThe Effect of Cooperative Learning for MGT 417 Management Communicationsen_US
Appears in Collections:งานวิจัยในชั้นเรียน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
อ.ศรัณย์ภัทร-2.pdf369.77 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.