กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1680
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธาราวัน เพชรเจริญ-
dc.date.accessioned2553-04-26T08:44:06Z-
dc.date.available2553-04-26T08:44:06Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1680-
dc.description.abstractการที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้มีการประมวลผลการเรียนการสอนแบบอิงเกณฑ์ และมีแนวทางให้อาจารย์ผู้สอนทุกรายวิชามีการเก็บคะแนนสอบระหว่างภาคเรียน จำนวน 6 ครั้งโดยดำเนินการตั้งแต่ในปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป โดยเมื่ออาจารย์ทำการทดสอบย่อยแล้วต้องแจ้งคะแนนเก็บให้นักศึกษาทราบอย่างเป็นระบบตลอดภาคเรียนด้วยการบันทึกคะแนนผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาได้รู้สถานะของตนเองในระหว่างภาคเรียน ผู้วิจัยต้องการศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะบัญชี โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามจากนักศึกษาและอาจารย์ และการศึกษาค้นคว้าข้อมูล ตำรา วารสาร นิตยสาร และเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้ทราบคิดเห็นความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง การทำการวิจัยนี้เพื่อทราบให้ผลการปฏิบัติเกี่ยวกับการทำการทดสอบย่อย 6 ครั้งดังกล่าวโดยศึกษาเฉพาะกรณีในรายวิชาการบัญชีคณะบัญชี 5 รายวิชา กลุ่มตัวอย่างรายวิชาละ 20 คนรวม 100 คนและอาจารย์จำนวน 5 ท่าน เพื่อสำรวจความคิดเห็น และ ความพึงพอใจ ของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชีต่อการจัดการทดสอบย่อยและเปรียบเทียบผลการประเมินผลสอบปลายภาค 2/2550และ 2/2551 เฉพาะในรายวิชา ACT 212 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของการจัดการทดสอบเพื่อการปรับปรุง ในการเรียนการสอน หากผู้สอนใช้การประเมินเพื่อการปรับปรุงช่วยให้ผู้เรียนแต่ละคนสามารถเรียนรู้ทุกบทเรียนก็จะเป็นการช่วยผู้เรียนในการสอบปลายภาค ทำให้นักศึกษามีความมั่นใจในตนเองและสบายใจในขณะที่ทำข้อสอบ การประเมินเพื่อการปรับปรุงและควรจะเน้นถึงประโยชน์ของการประเมินเพื่อการปรับปรุงให้ผู้เรียนทราบ จากผลการสำรวจความคิดเห็นและ ความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์คณะบัญชีมีความเห็นว่าการทดสอบย่อยเป็นนโยบายที่ดี ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์สอดคล้องกันในเรื่องการเห็นด้วยต่อการทดสอบย่อยแต่ควรทบทวนวิธีการหรือมาตรการที่แน่ชัดในเรื่องเวลาในการทดสอบ จำนวนครั้งที่เหมาะสมในการทดสอบ เนื้อหาที่ใช้ในการทดสอบนำปัญหาต่าง ๆ ที่พบในการทดสอบมากแก้ไขให้การทดสอบย่อยในแต่ละครั้งเป็นการทดสอบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการเรียนการสอน ของคณะบัญชีมหาวิทยาลัยศรีปทุมต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยในชั้นเรียน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2551 จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectการทดสอบเพื่อการปรับปรุงen_US
dc.subjectFormative Evaluationen_US
dc.titleการศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์ต่อการประเมินผลเพื่อการปรับปรุง: ศึกษาเฉพาะกรณีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.title.alternativeThe Study of Opinion and Satisfaction of Students and Instructors on Formative Evaluation a Case of the Faculty of Accounting at Sripatum Universityen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:งานวิจัยในชั้นเรียน

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อไทย-อังกฤษ-ประวัติ-ลงKM-ธาราวัน.pdf345.58 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น