Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1686
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorไพบูลย์ สุขวิจิตรth_TH
dc.date.accessioned2553-05-07T02:50:35Z-
dc.date.available2553-05-07T02:50:35Z-
dc.date.issued2553-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1686-
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน โดยเน้นศึกษาปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญ 3 ด้านของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม คือ ด้านนักศึกษา ด้านครอบครัว และด้านห้องเรียน ที่มีผลต่อการเรียนภาษาอังกฤษของนักศึกษา นอกจากนี้ยังเพื่อช่วยหาสัมการในการคาดเดาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาต่อไป และเพื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานของนักศึกษาต่างคณะกันว่ามีความแตกต่างกันจริงตามข้อสันนิฐานเบื้องต้น ผู้วิจัยได้ดัดแปลงแบบสอบถามจากเพื่อเป็นเครื่องมือการวิจัยเพื่อใช้วัดปัจจัยทั้ง 3 ด้าน โดยแบ่งย่อยเป็นด้านๆ เช่น ทัศนะคติ แรงจูงใจ ความคาดหวังในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น การสนับสนุนจากครอบครัว การทำกิจกรรมพิเศษเพิ่มเติมที่ใช้ภาษาอังกฤษ คุณภาพการสอนของอาจารย์ วิธีการสอนของอาจารย์ อุปกรณ์ในห้องเรียน โดยแบบสอบถามดังกล่าวได้ปรับปรุงมาจากการวิจัยในอดีตของ มานพ โฮตระกูล (2525) มนัสสวาท โพทะยะ (2531) ศรีระพร จันทโนทก (2538) และ สาลินี วงษ์เส็ง (2546) แล้วได้นำไปทดลองใช้กับนักศึกชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 35 คน เพื่อตรวจสอบความเหมาะสมและความถูกต้องของภาษาที่ใช้ และเพื่อนำไปทดสอบความเชื่อถือได้ของแบบสอบถามกับนักศึกษา โดยคำนวณค่าความคงที่ภายใน (Internal Consistency) ด้วยสูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านนักเรียน ด้านครอบครัว และ ด้านห้องเรียน ซึ่งปรากฎค่าความเชื่อตามลำดับคือ 0.89, 0.81 และ 0.97 จากนั้นผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามที่แก้ไขและปรับปรุงแล้ว ไปทดสอบกับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม จำนวน 580 คน นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ปรากฏผลดังนี้ 1. ปัจจัยด้านนักศึกษามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ 0.11 – 0.16 ยกเว้นการเข้าร่วมกิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวกับภาษาอังกฤษ 2. ปัจจัยด้านครอบครัวในส่วนของความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3. ปัจจัยด้านห้องเรียนไม่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานแต่จากการสัมภาษณ์และคำถามปลายเปิดนักศึกษาแสดงความคิดเห็นว่าการสอน และวิธิการสอนของอาจารย์มีความสำคัญต่อการสนใจเรียนเพิ่มขึ้น 4. นักศึกษาต่างคณะกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยนักศึกษาจากคณะบัญชีมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานดีกว่านักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ ในขณะที่นักศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานที่ดีกว่านักศึกษาในคณะอื่นๆ ทั้งนี้นักศึกษาคณะบัญชีและคณะศิลปศาสตร์มีจำนวนนักศึกษาที่แตกต่างกันอยู่มาก ดังนั้นผลที่ได้จากค่าสถิติจึงไม่มีสามารถสรุปได้ 5. ผลการวิจัยที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ตัวแปร ที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ได้แก่ ความคาดหวังในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 2.40en_US
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยในชั้นเรียน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จากมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษen_US
dc.subjectทางการเรียนภาษาอังกฤษพื้นฐานen_US
dc.subjectความคาดหวังในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นen_US
dc.subjectแรงจูงใจen_US
dc.subjectทัศนะคติต่อการเรียนen_US
dc.subjectLearning achievementen_US
dc.subjectEnglish Foundation Coursesen_US
dc.subjectExpectation in pursuing English learningen_US
dc.subjectMotivationen_US
dc.subjectLearning Interesten_US
dc.titleการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษ พื้นฐานของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.title.alternativeA Study of Factors Affecting Learning Achievement in English Foundation Courses of Second-Year Students at Sripatum Universityen_US
Appears in Collections:งานวิจัยในชั้นเรียน

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
52-1-ไพบูลย์ สุขวิจิตร.pdf52-1-ไพบูลย์ สุขวิจิตร354.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.