Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2447
Title: ความสำคัญของการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์กับวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี
Other Titles: The Importance of Franchisor Support and Organizational Culture Toward Franchisor-Franchisee Relationship Quality
Authors: สุนันทา ไชยสระแก้ว
Keywords: คุณภาพความสัมพันธ์
การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์
ธุรกิจแฟรนไชส์ไทย
วัฒนธรรมองค์กรแบบไม่ยืดหยุ่น
วัฒนธรรมองค์กรแบบยืดหยุ่น
Issue Date: June-2554
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Abstract: วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยเชิงสำรวจนี้ คือ เพื่อศึกษาถึงความสำคัญของการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์และวัฒนธรรมองค์กรที่มีต่อคุณภาพความสัมพันธ์ระหว่าง แฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซีในกลุ่มธุรกิจแฟรนไชส์ไทย ซึ่งผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจแฟรนไชส์ไทยให้มีความเป็นมาตรฐานสากลในการบริหารจัดการแฟรนไชส์มากขึ้น เสริมสร้างความเข้มแข็งในกลุ่มธุรกิจระบบเครือข่ายแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี รวมถึงการยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ประชากรในการวิจัย คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ไทยและแฟรนไชส์ซีไทยที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย การสุ่มตัวอย่างใช้วิธี Judgment & Convenience Sampling กลุ่มตัวอย่าง คือ ธุรกิจแฟรนไชส์ซอร์ไทย จำนวน 103 กิจการและแฟรนไชส์ซีของแฟรนไชส์ซอร์ดังกล่าว จำนวน 441 กิจการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถาม โดยมีการออกแบบแบบสอบถาม 2 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามชุด A สำหรับแฟรนไชส์ซอร์ ประกอบด้วย ข้อมูลของธุรกิจ และวัฒนธรรมขององค์กรของแฟรนไชส์ซอร์ แบบสอบถามชุด B สำหรับ แฟรนไชส์ซี ประกอบด้วยข้อมูลของธุรกิจ การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ วัฒนธรรมขององค์กรของแฟรนไชส์ซี และคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี ตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา (Content Validity) ของแบบสอบถามโดยใช้ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญก่อนที่จะนำไปใช้ทดสอบหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) อาศัยค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ในการประเมินค่าความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์ Cronbach’s Alpha ของทุกตัวแปรมีค่าสูงกว่า 0.7 ซึ่งสามารถยอมรับได้สำหรับนำไปใช้กับการวิจัยเชิงสำรวจจริงได้ ตัวแปรอิสระได้แก่ การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ วัฒนธรรมองค์กร แฟรนไชส์ซอร์ และวัฒนธรรมองค์กรแฟรนไชส์ซี ตัวแปรตาม คือ คุณภาพความสัมพันธ์ระหว่างแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS version 17.0 for Windows สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้นำการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) มาใช้ในการทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 เป็นเกณฑ์ในการยอมรับและปฏิเสธสมมติฐาน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงระดับการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ในภาพรวมมีแนวโน้มค่อนข้างสูง โดยเฉพาะด้านการฝึกอบรม สำหรับวัฒนธรรมองค์กรของแฟรนไชส์ซอร์ลักษณะยืดหยุ่นถูกพบอยู่ในระดับสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแบบไม่ยืดหยุ่น และองค์กรแฟรนไชส์ซีก็มีลักษณะยืดหยุ่นในระดับสูงกว่าแบบไม่ยืดหยุ่น เมื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมของทั้งองค์กรแฟรนไชส์ซอร์และแฟรนไชส์ซี พบว่า องค์กรแฟรนไชส์ซอร์มีระดับของวัฒนธรรมทั้งสองแบบสูงกว่าองค์กรแฟรนไชส์ซี ส่วนระดับคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซีมีแนวโน้มอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ซึ่งคุณภาพความสัมพันธ์ด้านความขัดแย้งเนื่องมาจากอารมณ์มีระดับสูงสุด และด้านความเชื่อใจในความน่าเชื่อถือก็มีระดับสูงใกล้คียงกัน การทดสอบสมมติฐานพบความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์กับคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์-แฟรนไชส์ซี เมื่อทำการทดสอบความสัมพันธ์การสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์กับคุณภาพความสัมพันธ์ในแต่ละด้าน พบว่า องค์ประกอบการสนับสนุนของแฟรนไชส์ซอร์ 4 ใน 5 ด้านมีอิทธิพลเชิงบวกต่อคุณภาพความสัมพันธ์ในแต่ละด้านแตกต่างกันไป ยกเว้นการสนับสนุนด้านการจัดหาวัตถุดิบหรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่พบอิทธิพลเชิงลบ สำหรับวัฒนธรรมองค์กรกับคุณภาพความสัมพันธ์แฟรนไชส์ซอร์- แฟรนไชส์ซี พบว่า วัฒนธรรมแบบไม่ยืดหยุ่นขององค์กรแฟรนไชส์ซีมีอิทธิพลเชิงบวกในระดับสูงต่อคุณภาพความสัมพันธ์ และพบทั้งอิทธิพลเชิงบวกและลบของวัฒนธรรมแบบยืดหยุ่นของแฟรนไชส์ซีในบางด้านของคุณภาพความสัมพันธ์ ในขณะที่วัฒนธรรมองค์กรทั้งสองแบบของแฟรนไชส์ซอร์มีอิทธิพลเชิงบวกและลบต่อคุณภาพความสัมพันธ์ในบางด้าน
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2447
Appears in Collections:รายงานการวิจัยมหาวิทยาลัยศรีปทุม

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
53 ดร.สุนันทา ไชยสระแก้ว.pdf4.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.