Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2611
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับอานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการสอบสวนคดี ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
Authors: วีระชัย บุเงิน
Keywords: ปัญหากฎหมาย
อำนาจพนักงาน
การประกันภัย
การสอบสวนคดี
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535
Issue Date: 9-September-2554
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา แนวคิด ทฤษฏี และหลักกฎหมายเกี่ยวกับอานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่คณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ในการสอบสวนคดีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ทั้งของต่างประเทศและของประเทศไทย เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ได้บังคับใช้ผ่านพ้นมาเป็นระยะเวลา 18 ปีแล้ว และพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายบังคับให้ประชาชนทุกคนที่มีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองรถทุกชนิดที่ต้องจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ต้องจัดให้มีการทาประกันภัยภาคบังคับหรือประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 และพระราชบัญญัติฉบับนี้ก็อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลกากับและส่งเสริมของสานักงานคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย กระทรวงการคลัง ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พ.ศ.2550 ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ถูกตราขึ้นภายใต้แนวคิดที่ต้องการคุ้มครองผู้ที่ประสบภัยจากรถและได้รับอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และอนามัย เพื่อให้ได้รับการเยียวยาหรือบรรเทาความเสียหายจากอุบัติเหตุจากรถ ที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยที่รับประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ผู้ศึกษาจึงเห็นด้วยกับการที่ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 ที่เล็งเห็นความสาคัญกับผู้ที่ได้รับอันตรายหรือประสบภัยจากรถเช่นเดียวกันกับหลายๆประเทศที่มีกฎหมายที่คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 คุ้มครองผู้ที่ประสบภัยจากรถ ต่อชีวิตในวงเงินความรับผิดชอบที่บริษัทประกันภัยจะต้องจ่าย 200,000 บาท ความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทประกันภัยต้องจ่ายไม่เกิน 50,000 บาท ตามความเสียหายจริง แต่อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติฉบับนี้ได้มีเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมทดแทนที่บริษัทประกันภัยจะต้องพิจารณาจ่ายอยู่สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งคือค่าเสียหายเบื้องต้นสามารถจ่ายได้ทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิดความคุ้มครองคือ ความเสียหายต่อชีวิต จ่ายค่าปลงศพ 35,000 บาท ค่ารักษาพยาบาล 15,000บาท ส่วนที่สองคือ ค่าเสียหายส่วนที่เกินเบื้องต้น ความเสียหายต่อชีวิต 165,000 บาท หรือค่าเสียหายต่อการบาดเจ็บ ความคุ้มครองอีก 35,000 บาท ซึ่งบริษัทที่รับประกันภัยจะต้องพิจารณาจ่ายได้คือจะต้องเกิดจากความรับผิดของผู้เอาประกันภัยหรือผู้ขับขี่ ซึ่งการจะพิจารณาได้ว่าอุบัติเหตุจากรถนั้นว่าใครเป็นฝ่ายถูกหรือผิดคือพนักงานสอบสวน ซึ่งการสอบสวนทุกวันนี้มักเป็นปัญหาอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับผู้มีอานาจสอบสวนคดี ปัญหาเกี่ยวกับความล่าช้าในการสอบสวน ปัญหาเกี่ยวกับวิธีการสอบสวน ปัญหาเกี่ยวกับการประสานงานของพนักงานสอบสวนขั้นตอนยุ่งยาก เพราะพนักงานสอบสวนนั้นมีงานที่จะต้องสอบสวนทุกเรื่องผลที่ตามมาคือ ผู้ที่ประสบภัยจากรถได้รับความเดือดร้อน เพราะจะต้องรอผลคดีหรือผลการสอบสวนจากพนักงานสอบสวนเพื่อนาผลการสอบสวนของพนักงานสอบสวนไปร้องขอตั้งเบิกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยที่จะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนในส่วนค่าเสียหายที่เกินเบื้องต้นตามเงื่อนไขกรมธรรม์ ผู้ศึกษาจึงมีความเห็นว่าสมควรเป็นอย่างยิ่งที่ควรให้อานาจพนักงานเจ้าหน้าที่คณะกรรมการกากับและส่งเสริมธุรกิจประกันภัยมีหน้าที่สอบสวนคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่เกิดจากรถ เพราะพนักงานเจ้าหน้าคณะกรรมการกากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะด้าน หรือเป็นผู้ชานาญการในการทาหน้าที่สอบสวน เพื่อที่ทาการสอบสวนรวดเร็วแม่นยาและเป็นธรรม ผลที่ตามมาก็จะตกอยู่กับประชาชนหรือผู้ประสบภัยจากรถโดยตรง ผู้ศึกษาวิเคราะห์แล้วเห็นว่าองค์กรหรือหน่วยงานนี้เหมาะสมที่สุด เพราะเป็นหน่วยงานที่กากับดูแลธุรกิจประกันภัยอยู่แล้ว เพียงแต่ให้รัฐออกกฎหมายเพิ่มเติมโดยให้อานาจพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มีอานาจทาการสอบสวนและมีอานาจฟ้องแทนพนักงานอัยการได้เลยเมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2611
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf37.58 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf91.09 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf41.46 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf64.84 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf86.91 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf214.56 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf233.07 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf93.8 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf72.12 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf67.62 kBAdobe PDFView/Open
11appen.pdf185.01 kBAdobe PDFView/Open
12profile.pdf44.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.