ARC-03. บทความวิชาการ/วิจัย (อื่นๆ)

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 55
  • รายการ
    การอนุรักษ์เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย เพื่อการพัฒนา เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชน
    (ห้างหุ้นจำกัด พิมพ์ทันใจ, 2564-12) อานนท์ พรหมศิริ ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ ณภัทร ประศาสน์ศิลป์
    เรือนพื้นถิ่นถือเป็นมรดกทางสถาปัตยกรรมที่แสดงถึงรากเหง้าทางภูมิวัฒนธรรม บ้านเรือนที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลา และบริบทที่แตกต่างกันนั้น สามารถสะท้อนที่เรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งเปรียบเสมือนเครื่องบันทึกเรื่องราวจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน อันแสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมผ่านงานช่างสถาปัตยกรรมแบบพื้นถิ่น ซึ่งประกอบไปด้วยเหตุและหลักที่คำถึงการใช้สอยและการดำรงชีวิตของผู้อาศัยผนวกเข้ากับความเชื่อของท้องถิ่นที่ถูกผสมผสานกันได้อย่างลงตัว เรือนพื้นถิ่นชุมชนมอญบางเหี้ย ตำบลคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบันเหลือคงอยู่จำนวนไม่มาก เพียง 3-4 หลังคาเรือน แต่กลับแสดงลักษณะแสดงเฉพาะตัวของเรือนได้ค่อนข้างสมบูรณ์ โดยผู้วิจัยพบว่าเป็นเรือนไทยไม้ริมน้ำยกใต้ถุนสูง สร้างเป็นเรือนแฝด 2 หลัง ภายในประกอบไปด้วยวิถีที่เกิดจากการผสมผสานวัฒนธรรมระหว่าง จีน ไทย มอญ ที่ทรงคุณค่าภายในอาคาร ภายนอกอาคารส่วนใหญ่มีสภาพทรุดโทรมตามกาลเวลา การซ่อมบำรุงใช้ทุนทรัพย์สูง นอกจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ที่ทำให้วิถีชีวิตเปลี่ยนไป เรือนพื้นถิ่นแบบเดิมจึงไม่สามารถตอบสนองความเป็นอยู่แบบใหม่ได้ ทำให้ทายาทปัจจุบันต้องมีการปรับพื้นที่ให้ตอบสนองความต้องการที่มากขึ้น เรือนเดิมจึงถูกทิ้งไว้เป็นเพียงแค่มรดกตกทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น คณะผู้วิจัยได้เล็งเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมและภูมิปัญญา ซึ่งทำการสำรวจและพูดคุยกับทายาทของเจ้าของเรือนเพื่อวางนโยบายในการอนุรักษ์ป้องกันการทำลายคุณค่าของเรือนพื้นถิ่นเก่า เพื่อให้คงไว้เป็นมรดกทางสถาปัตยกรรม และเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของชุมชนมอญบางเหี้ย ที่สะท้อนถึงการปะทะสังสรรค์กันระหว่างเชื้อสาย มอญ จีน ไทย ในด้านประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ซึ่งนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ และการสร้างใหม่
  • รายการ
    การยศาสตร์สมาธิสู่การออกแบบสมถกรรมฐานอาสนะ
    (ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2561-10-25) อานนท์ พรหมศิริ
    ปัจจุบันการทำสมาธิเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ การวิจัยจานวนมากบ่งชี้ว่าช่วยเพิ่ม ความสามารถทางร่างกายและจิตใจของผู้ที่สนใจปฏิบัติ ผลงานสร้างสรรค์นี้มีแนวคิดจากการศึกษา เรื่องการยศาสตร์ของผู้ทำสมาธิโดยยึดตามหลักการของการทำสมาธิรูปแบบสมถกรรมฐาน (Samadhi) ซึ่งเป็นพื้นฐานการทำสมาธิ หนึ่งในปัจจัยการทำสมาธิของคนในปัจจุบันคือปัญหาของ การนั่งสมาธิบนพื้นราบที่มีระยะเวลานาน ทำให้เกิดความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ โครงสร้างของ กระดูก และปัจจัยทางสรีรวิทยาที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นแนวคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบสมถกรรม ฐานอาสนะ จากการศึกษาการยศาสตร์ของการทำสมาธิเป็นอีกวิธีหนึ่งแนวทางเพื่อออกแบบ เครื่องมือในการอานวยความสะดวกของผู้ปฏิบัติสมาธิได้ดี โดยไม่ขัดกับการปฎิบัติสมาธิตามหลักสม ถกรรมฐาน อันมีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกจิตให้มีสมาธิและส่งผลให้เกิดภาวะสมดุลทั้งจิตใจและสรีระ ของผู้ปฎิบัติ ผู้ศึกษาจึงสนใจการวิเคราะห์ถอดระยะสัดส่วนของการยศาสตร์การนั่งสมาธิในรูปแบบ ต่างๆ และใช้ทฤษฎีการนั่งสมถกรรมฐาน มาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์รูปทรงที่ตอบสนองกับสรีระ และออกแบบและพัฒนาเป็นเครื่องเรือนประเภทลอยตัว
  • รายการ
    “การศึกษาหมอนขวานหัตถกรรมพื้นบ้านชาวอีสานสู่การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์”
    (ศูนย์การเรียนรู้พุทธศิลป์ถิ่นอีสาน สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2561-10-25) ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์
    ผลงานสร้างสรรค์การออกแบบเบาะรองนั่งอเนกประสงค์ ได้แรงบันดาลใจมาจากหมอนขวาน ซึ่งเป็นภูมิปัญญางานศิลปหัตถกรรมของชาวอีสาน มีรูปทรงสามเหลี่ยมใช้สาหรับพิงด้านข้างหรือ ด้านหลัง แนวคิดในการออกแบบผลิตภัณฑ์ ใช้หลักทฤษฎีการออกแบบและองค์ประกอบด้าน ประโยชน์ใช้สอย สู่กระบวนการวิเคราะห์หาอัตลักษณ์ทั้งด้านรูปธรรม และนามธรรม อีกทั้งยังใช้ เทคนิคการตัด และลดทอนรายละเอียด โดยยังคงรูปโครงสร้างหลักของสามเหลี่ยมด้านเท่าของหมอน ขวานเอาไว้ แต่ปรับให้มีความเรียบง่ายมากขึ้น เพิ่มคุณสมบัติใช้งานโดยใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นโครงสร้าง หลักแทนไส้หมอน และเพิ่มช่องว่างด้านข้างเป็นพื้นที่เก็บของ ออกแบบเบาะรองนั่งแบบเดี่ยว ทาให้ สามารถถอดซักทาความสะอาดและประกอบกลับได้ โดยผู้ใช้งานสามารถสลับปรับเปลี่ยนได้ตามความ ต้องการ ตอบสนองต่อรูปแบบการใช้ชีวิตและกิจกรรมหลากหลายในพื้นที่ที่จากัด การออกแบบนี้แสดง ถึงการพัฒนาต่อยอดแนวคิดจากภูมิปัญญา แต่ยังคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ด้านรูปแบบการใช้งานของหมอน ขวาน
  • รายการ
    "ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมและรูปแบบอาคารชุมชนวัดราชนัดดา สู่โครงการออกแบบ เฮียร์ โฮสเทล บางกอก"
    (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2563-09-15) ณัฐวุฒิ กิ่งตระการ; ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์; อานนท์ พรหมศิริ; ปิยะ ไล้หลีกพาล
    การขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติด้วยแผนพัฒนาการท่องเที่ยว และการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีหลากหลายช่องทางดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มีความต้องการสัมผัสรูปแบบเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มายังเกาะรัตนโกสินทร์ พื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ศิลปกรรม ประกอบกับการเดินทางที่ครอบคลุมพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการขยายตัวด้านธุรกิจโฮลเทลอย่างรวดเร็ว ตึกแถวเก่าสองชั้นในชุมชนวัดราชนัดดาจากบ้านพักอาศัยสมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาปรับเป็นอาคารพานิชย์ และถูกแทนที่ด้วยธุรกิจโฮลเทล โครงการเฮียร์ โฮสเทล บางกอก เกิดจากความต้องการอนุรักษ์บรรยากาศเก่าเชื่อมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้มาเข้าพักกับบริบทชุมชน โดยคงวิถีชีวิตเดิมไว้ให้กลมกลืนไปกับบริบทของชุมชนโดยรอบ การออกแบบปรับปรุงอาคารใช้วิธีปรับโครงสร้างให้มีความแข็งแรงและเพิ่มประโยชน์ใช้สอยเพื่อรองรับผู้ใช้บริการคงกรอบอาคารเดิมตกแต่งด้วยวัสดุและรูปแบบเฟอร์นิเจอร์เก่า สร้างจุดเด่นของด้วย “สไลด์เดอร์ยักษ์”รางส่งกระเป๋าชั้นสองสู่พื้นที่โถงต้อนรับเพื่อความสะดวกและสร้างภาพจำให้เกิดความประทับใจ บริเวณพื้นที่ว่างภายในที่ถูกปิดล้อมด้วยอาคาร จัดไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลางรองรับกิจกรรมสันทนาการและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของผู้ใช้บริการ
  • รายการ
    ยุทธศาสตร์ การอนุรักษ์และฟื้นฟูย่านชุมชนเก่า
    (2562-11-11) ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์
  • รายการ
    โครงการ ด่านซ้ายเมืองแห่งสถาปัตยกรรมเพื่อทุกคน อeเภอ ด่านซ้าย จังหวัดเลย
    (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) กนกวรรณ อุสันโน
  • รายการ
    การทบทวนวรรณกรรม เรื่องความเหลื่อมล้ำในบริบทเมืองศูนย์กลาง
    (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ฐิติวัฒน์ นงนุช; ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ; ทนงศักดิ์ รัตนสุคนธ; ธีรบูลย์ ฉลองมณีรัตน์
    This article is partial sumary from the full research of urban inequality. The objective of this research was to collect and classify all linkage researches of urban inequality to identify the gap of inequality studying. Data collecting was relied on the 542 paper which published on the data base of The National Research Council of Thailand (NRCT) and The Thailand Research Fund (TRF). The data were analyze from the data repetition by percentage. This study has founded that the group of research divided into 11 typology of urban inequality group: income, opportunity to access,environment, geography, public access, education, community, safty, health, public administration, and data subscribe. The research gap of urban inequality has divided in 4 topics: income, data subscribe, public administration, and education research. Inaddition, the description study of urban inequality has few number of researches.
  • รายการ
    บทวิเคราะห์เรือนพื้นถิ่นด่านซ้ายจากการสำรวจภาคสนามเบื้องต้น
    (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560-06-16) ปิยะ ไล้หลีกพาล
    The purpose of this paper is a study in the overview of Dan Sai Vernacular House. The discussion mainly related to architectural styles, house planning and spatial design, structure, construction technics, materials, and social context. The study methodology is survey research included house measurement from field-surveys; house owners, vernacular house builders, and local scholar interviews; and documentary source. Analysis were done by comparison and typology. The conclusions are revealed that the dynamic of Dan Sai vernacular house is conform to Esan-house. Causes of the changing are mainly from construction technology and the way of life diversity. Three Dan Sai vernacular house styles are (1) Traditional timber house (2) Stone foundation post house and (3) Contemporary timber house. Those were changed mainly in construction technology and appearance. House planning and spatial design were changed in the increasing of indoor vestibule space instead of outdoor terrace in Traditional timber house.
  • รายการ
    กล่อม-ไกว ภูมิปัญญาแม่สู่ลูก เพื่อนนำเสนอแนวความคิดการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับแม่และเด็กทารก
    (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2560) ฐิติรัตน์ หมื่นอนันต์; อานนท์ พรหมศิริ
    GLOM-GWAI The wisdom to present the concept about using public space for mothers and baby. To pay attention in parents and baby behaviors that always change by time and place. By creating a space for serve activities like a feeding baby and mother habit and Including hygiene area beneath in design theory for everyone. Study from a research and related theories. Observations will focus in market group from mother who needs to feed her baby with breast milk for her first year or more. Then take the data to analyze, synthetic behavior including in demand of furniture and the right environment for motherhood and baby. To presenting the concept will be result in the ability to design areas in response to baby care activities.
  • รายการ
    การศึกษามาตรฐานความปลอดภัยด้านอัคคีภัย เพื่อการรับรองมาตรฐานระดับสากล กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชนในอาคารสูง
    (2556-05-30T17:07:10Z) เสริมสกุล ศรีน้อย
    อาคารกรณีศึกษา จัดเป็นอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่พิเศษประเภทโรงพยาบาล ตามกฎกระทรวง ฉบับที่33 ( พ.ศ. 2535 ) ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชน ปัจจุบันมีเตียงรองรับผู้ป่วย 350 เตียง มีห้องตรวจกว่า 70 ห้อง สามารถให้การบริการ ผู้ป่วยนอกวันละ 1,500-2,000 คน ด้วยศูนย์บริการทางการแพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา แพทย์ประจํา 50 ท่าน, แพทย์ที่ปรึกษา 250 ท่าน อุปกรณ์ทางการแพทย์ที่สําคัญ และยังได้รับการรับรองคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001:2000 ซึ่งทางโรงพยาบาลมีแนวทางบริการ ด้วยความตั้งใจจริงที่ต้องการให้คนไทยมีสุขภาพที่ดี และมีทางเลือกในการดูแลรักษาพยาบาลตนเองมากขึ้น จึงนํามาตรฐานระดับสากลที่ยอมรับกันทั่วไป คือ มาตรฐานการรับรอง Joint Commission International (JCI) สําหรับโรงพยาบาล เป็นการยกระดับและขีดความสามารถในการให้บริการแก่ผู้ป่วยและผู้ใช้อาคาร อาคารกรณีศึกษา จึงนํามาตรฐานการรับรอง Joint Commission International (JCI) สําหรับโรงพยาบาล ซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของ Joint Commission Resources, Inc. โดยพันธะกิจของ JCI คือการยกระดับคุณภาพและความปลอดภัยการดูแลผู้ป่วยในชุมชนนานาชาติด้วยการให้การศึกษา สิ่งพิมพ์ คําปรึกษา และการประเมินผล โปรแกรมการศึกษาและสิ่งพิมพ์ของ Joint Commission Resources Inc. ที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมรับรองคุณภาพของ Joint Commission International แต่แยกเป็นอิสระออกจากกัน ดังนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยและคุณภาพของการดูแลผู้ป่วยในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งมาตรฐานการรับรองฯ ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนที่ 1. มาตรฐานด้านผู้ป่วย (Patient-Centered Standards) ส่วนที่ 2. มาตรฐานด้านการจัดการองค์กร (Healthcare Management Standards) โดยที่ในส่วนที่ 2. เรื่องมาตรฐานการจัดการสิ่งอํานวยความสะดวกและความปลอดภัย (Facility Management and Safet ) หัวข้อ ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย จึงให้ความสําคัญในการศึกษาครั้งนี้เพราะ อัคคีภัยเป็นสาธารณภัยที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างสูง และสร้างมูลค่าความเสียหายส่งผลสําคัญต่อความสูญเสียในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารประเภทโรงพยาบาล ที่ถือว่าเป็นสถานที่ที่ให้การดูแลรักษาชีวิตของประชาชน ผู้ทําการศึกษาจึงเล็งเห็นถึงความจําเป็นและสําคัญในการที่จัดทําการศึกษามาตรฐานความปล อดภัยด้านอัคคีภัยระดับสากลที่ทั่วไปให้การยอมรับ ของสมาคม National Fire Protection Association, USA ( NFPA ) เพื่อเป็นการประเมินระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยเบื้องต้น ซึ่งจัดว่าเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารทรัพยากรอาคารและเป็นพื้นฐานในด้านความปลอดภัยของผู้ใช้ อาคารกรณีศึกษานี้จะเป็นแนวทางการศึกษาเบื้องต้นที่สรุปตามเกณฑ์มาตรฐานของ NFPA ระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร ซึ่งทําให้ทราบถึงข้อบกพร่องของระบบความปลอดภัยด้านอัคคีภัยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งนําไปสู่การแก้ไข ตามมาตรฐานสากล
  • รายการ
    การปรับเปลี่ยนกระบวนการในหน่วยงานซักรีด กรณีศึกษา โรงพยาบาลเอกชน 18 ชั้น แห่งหนึ่ง ในจังหวัดนนทบุรี
    (2556-05-30T17:04:40Z) สามารถ เจนชัยจิตรวนิช
    การค้นคว้าอิสระนี้เป็นการปรับเปลี่ยนกระบวนการและเพิ่มประสิทธิภาพในหน่วยงานซั กรีด ในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งจากการศึกษาในการบริหารอาคารการปรับเปลี่ยนกระบวนการจะสามารถเพิ่มผลผลิตของหน่วย งานได้ โดยเป็นวิธีการที่ทําได้โดยไม่ต้องลงทุน ซึ่งการเพิ่มผลผลิต สามารถทําได้หลายวิธี จากการศึกษาจะเห็นได้ว่า พลังงานที่ใช้ในโรงพยาบาลในประเทศไทยมีอัตราการใช้พลังงานสูงกว่าถ้าเทียบกับสถานประกอบก ารอื่นๆ ดังนั้นถ้าการปรับเปลี่ยนกระบวนสามารถ เพิ่มผลผลิตได้ สามารถลดต้นทุนการใช้พลังงานลงได้ ก็หมายความว่าสามารถเพิ่มผลกําไรให้กับเจ้าของธุรกิจ หรือ เจ้าของอาคารได้ หน่วยงานซักรีดในโรงพยาบาลถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ใช้พลังงานสูง และ มีค่าใช้จ่ายในด้านพลังงานมากมาย ซึ่งถือเป็นต้นทุนในด้านการบริการในโรงพยาบาล เพราะหน่วยงานซักรีดในโรงพยาบาลนั้นทําหน้าที่บริการด้านการซักผ้า และ รีดผ้าให้กับบุคลากร และ ผู้ป่วยในโรงพยาบาลดังนั้นถือว่าเป็นหน่วยงานสําคัญหน่วยงานหนึ่งในโรงพยาบาลเพราะถ้าหน่วยง านซักรีดไม่สามารถซักผ้าและรีดผ้าได้ตามความต้องการของโรงพยาบาลก็จะทําให้โรงพยาบาลนั้นสู ญเสียในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านความพึงพอใจของบุคลากร และ ผู้ใช้บริการเอง ด้านการเงินเอง เพราะถ้าไม่สามารถผลิตผ้าได้ออกมาตามความต้องการได้ก็จะทําให้สูญเสียรายได้ เพราะไม่สามารถรับผู้ป่วยเพิ่มได้ หรือ ไม่บางครั้งอาจจะต้องมีการสํารอง เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว เพิ่มขึ้นเพื่อให้เพียงพอกับอัตราการมาใช้บริการของผู้ป่วยและบุคลากร การปรับเปลี่ยนกระบวนการในหน่วยงานซักรีดจะเห็นได้ว่า จะต้องหาปัญหาที่เกิดขึ้นที่อะไรที่เป็นอุปสรรคในการทํางาน จากการเข้าไปศึกษาและทําการทดลอง จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นคือการทํางานของแผนกไม่สอดคล้องและไม่สัมพันธ์กัน และมีตัวอุปกรณ์บางตัวที่เป็นปัญหา หรือ ชํารุด ต้องมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เพื่อให้เครื่องจักรทํางานได้เต็มประสิทธิภาพ รวมถึงการไปเข้าไปออกแบบ ตารางจดบันทึกข้อมูลเพื่อที่จะทําให้การจดบันทึกสามารถนําข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ พร้อมกับเข้าไปทําให้สภาพแวดล้อมของการทํางานอยู่ในสภาพที่ดีเพื่อเพิ่มศักยภาพของคนให้ทํางานให้ได้เต็มประสิทธิภาพ จากการทดลองและปรับเปลี่ยนกระบวนการในหน่วยงานซักรีดนั้นเราได้เข้าไปปรับเปลี่ย นโดยทํา 4 มาตรการ เพื่อเพิ่มผลผลิต และ ลดต้นทุนการผลิตของแผนก และ เพิ่มขวัญกําลังใจให้กับบุคลากรในหน่วยงาน ซึ่งทําให้กลายเป็นองค์ความรู้ใหม่ให้กับองค์กรในโรงพยาบาล โดยหน่วยงานซักรีดได้เป็นต้นแบบในการที่ให้หน่วยงานอื่นในโรงพยาบาลเข้ามาศึกษาและนําไปปฏิบัติตาม ในส่วนสุดท้าย ได้นําในการเสนอแนวทางแก้ไขปรับปรุงนั้น ได้คํานึงถึงการที่จะพัฒนาหน่วยงานซักรีดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด และ เป็นการต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ให้กับหน่วยงานซักรีดอื่นที่จะนําไปค้นคว้าหรือศึกษาต่อ เพื่อให้เกิดการประหยัดและเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
  • รายการ
    ศึกษาระดับความเครียดของผู้ใช้อาคารสํานักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในบริเวณ ที่มีความเข้มของแสงที่แตกต่างกัน กรณีศึกษาอาคารอีเทอร์นิตี้
    (2556-05-30T17:01:00Z) ยิ่งยศ สียางนอก
    การศึกษาความแตกต่างของระดับความเครียดของผู้ใช้อาคารสํานักงานที่ได้รับความเข้มแสงต่างกัน ซึ่งผู้ศึกษามีความตั้งใจเป็นอย่างยิ่งเพื่อนําข้อมูลไปเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาหรือลดภาวะความตึงเครียดให้กั บผู้ใช้อาคารสํานักงานซึ่งผู้ศึกษาได้เลือกอาคารสํานักงานอีเทอร์นิตี้ ในการศึกษาเรื่องนี้ การเก็บข้อมูลผู้ศึกษาใช้กลุ่มประชากรจากผู้ใช้อาคารสํานักงานอีเทอร์นิตี้ ซึ่งมีกลุ่มประชากร ทั้งหมด135คนทําการเก็บกลุ่มตัวอย่าง100คนและมีการเก็บข้อมูลความเข้มของแสงใน บริเวณสถานที่ทํางานทุกแผนกทั้ง 3 ชั้นโดยมีการเก็บทั้งหมด 30 ครั้งของแต่ละจุด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในแผนกการตลาด มีระดับความเข้มแสงเฉลี่ย 203.9 lux. ระดับความเครียดเฉลี่ย 3.82 แผนกคืนทุนมีระดับความเข้มแสงเฉลี่ย 208.43 ระดับความเครียดเฉลี่ย 3.70 แผนกรับส่งเอกสารมีระดับความเข้มแสงเฉลี่ย 205.33 lux. ระดับความเครียด เฉลี่ย 3.68 ซึ่งเป็น3 แผนกที่มีความเข้มแสงต่ําที่สุดและมีระดับความเครียดอยู่ในระดับสูงและแผนกบัญชีมีระดับ ความเข้มแสงเฉลี่ย 703.47 lux. ระดับความเครียด 3.77 แผนกการเงินมีระดับความเข้มแสงเฉลี่ย 726.27 lux.ระดับความเครียด 3.71ซึ่งเป็น 2 แผนกที่มีระดับความเข้มแสงสูงสุดและมีระดับความเครียดอยู่ใน ระดับสูง
  • รายการ
    การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยในอาคาร กรณีศึกษา อาคารบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด
    (2556-05-30T16:58:40Z) ไพโรจน์ บุญยิ่ง
    การศึกษาเรื่อง การประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเลือก อาคารบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด เป็นกรณีศึกษา ซึ่งอาคารดังกล่าวเป็นอาคารสํานักงาน สูง17ชั้น(ไม่รวมชั้นใต้ดินและดาดฟ้า)โครงสร้างอาคารเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีพื้นที่ใช้สอย25,185 ตาราง เมตร เปิดใช้งานวันที่ 28 กันยายน 2530 เป็นอาคารที่ก่อสร้างก่อนกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) จะมี ผลบังคับใช้ ซึ่งเป็นกฎหมายควบคุมอาคารที่มีการกําหนดให้อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องจัดให้มี ระบบป้องกันอัคคีภัยตามที่กฎหมายกําหนด วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผล ต่อระดับความปลอดภัยด้านอัคคีภัย รวมถึงข้อบกพร่องในการป้องกันอัคคีภัยของอาคารบริษัทบริหารสิน ทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและปรับปรุง ข้อบกพร่องที่พบ และเพิ่มระดับ ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารบริษัท บริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด ให้สูงขึ้นผู้ศึกษาได้จัด ทําแบบประเมินเป็นแบบ Check-list ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) เป็นเกณฑ์การประเมินเบื้องต้น ดําเนินการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ และการเดินสํารวจพื้นที่ต่างๆ ภายในอาคาร ผลการศึกษาจากการสํารวจและประเมินความปลอดภัยด้านอัคคีภัยของอาคารบริษัทบริหารสิน ทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด ตามข้อกําหนดที่ระบุในกฎกระทรวงฉบับที่ 33 (พ.ศ.2535) ยังถือว่าอาคารยังมีความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยได้ โดยไม่ผ่านการตรวจประเมินรวม 13 รายการ จากรายการที่ทําการตรวจ ประเมินทั้งหมด45รายการโดยที่ผ่านเป็นไปตามข้อกําหนดรวม 32รายการ
  • รายการ
    การศึกษาแนวทางการบริหารจัดการการคัดแยกขยะเพื่อเพิ่มปริมาณขยะถุงพลาสติกกรณีศึกษา โรงกําจัดขยะ จังหวัด สมุทรสาคร
    (2556-05-30T16:56:16Z) ปรัชนีย์ สถานสถิต
    ปัจจุบันปัญหาขยะมูลฝอยนับเป็นปัญหาที่สําคัญ ที่ควรได้รับการแก้ไขจัดการอย่างถูกวิธี ซึ่งนับวัน จะมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นโรงงานกําจัดขยะมูลฝอยแห่งนี้มีพื้นท่ีประมาณ97 ไร่ปัจจุบันมีขยะที่มาทิ้งจาก เทศบาล อบต. และโรงงาน โดยเริ่มจากการคัดแยกเบื้องต้น คือ ให้คนเข้ามาคัดแยก และขายขยะคืนให้ โรงงาน และคัดแยกโดยเครื่องร้อนและเดินสายพานโดยจะทําการร่อนเอาเศษดิน เศษหินออกก่อน หลังจาก นั้นขยะก็จะถูกลําเลียงบนเครื่องเดินสายพาน เพื่อทําการคัดแยกขยะประเภทเศษถุงพลาสติก เพื่อทําการ ส่งไปเป็นเชื้อเพลิง และขยะประเภทแก้ว โลหะ พลาสติกประเภทต่างๆ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาแนวทางการจดั การปรับปรุงกระบวนการคัดแยกขยะประเภทเศษถุงพลาสติกเพื่อเพิ่มปริมาณการคัดแยก ขยะประเภทเศษถุงพลาสติกโดยสามารถนําผลการศึกษานี้ ใช้ปรับปรุงในขั้นตอนการคัดแยกขยะมูลฝอยของโรงงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  • รายการ
    การจัดการห้องเรียนที่สอดคล้องกับจํานวนนักศึกษา กรณีศึกษา: คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
    (2556-05-30T16:51:08Z) ปชาชิต ลิมวัฒนานนท์
    การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1.) เพื่อศึกษาและแก้ไขปัญหาตารางสอนที่ไม่เหมาะสมโดยคํานึงการปรับเปลี่ยนตารางสอนให้ส่งผลกระทบกับเรื่อง อื่นน้อยที่สุดและสามารถแก้ปัญหาได้จริง 2.) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขให้แก่คณบดี ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือ ห้องสําหรับทําการเรียนการสอนซึ่งอยู่บริเวณชั้นล่างและชั้น 2 ของคณะรวมไปถึงห้องเรียนที่ตั้งอยู่ในบริเวณรอบๆตัวอาคารของคณะ เครื่องมือที่ใช้ในการทําการศึกษาค้นคว้า คือ เครื่องมือวัดระยะ เครื่องมือในการจดบันทึก อุปกรณ์บันทึกภาพ และตารางสอนที่ระบุห้องและจํานวนนักศึกษา ผลการศึกษาค้นคว้า พบว่า รายวิชาของอาจารย์ในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีข้อผิดพลาดในการจัดตารางสอนอยู่พอสมควร จากการศึกษารวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆแล้วทางผู้วิจัยได้ทําการจัดตารางสอนใหม่ให้กับอาจารย์ที่จะต้อง เข้าไปสอนยังห้องที่ไม่สามารถทําการเรียนการสอนได้ และรายวิชาที่ยังไม่มีห้องที่จะทําการเรียนการสอน โดยหลังจากการจัดทําตารางสอนใหม่ของผู้วิจัย ทําให้ทุกรายวิชาภายในคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมีห้องเรียนที่เหมาะสมกับจํานวนผู้เรียนและไม่มีรายวิชาใด ที่ไม่มีห้องสอนเหมือนที่ผ่านๆมาในทุกเทอมของภาคการศึกษา
  • รายการ
    ศึกษาแนวทางการปรับปรุงหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรณีศึกษา: หอพักเอกชน
    (2556-05-30T16:48:45Z) ธีระฉัตร รัตนพงศ์
    การศึกษาแนวทางการปรับปรุงหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรณีศึกษา: หอพักเอกชน ได้ทําการศึกษาด้วยวิธีสํารวจด้วยแบบบันทึกการสํารวจภาคสนาม (Field Survey) ในการเก็บข้อมูลทางกายภาพของหอพักและสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ของหอพักเอกชน และหอพักของมหาวิทยาลัย เพื่อทํามาเปรียบเทียบกันและนํามาวิเคราะห์โดยแนวทางการบริหารอาคาร เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงหอพักของมหาวิทยาลัยให้สามารถแข่งขันกับหอพักเอกชนภายนอกได้ และกลายเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆของนักศึกษาในการเลือกเข้าพักอาศัย จากผลการสํารวจและนํามาเปรียบเทียบกัน เมื่อสรุปแยกเป็นด้านต่างๆของปัญหาที่พบจากการสํารวจของหอพักมหาวิทยาลัย จะได้ดังนี้ 1. ปัญหาอาคารมีสภาพทรุดโทรมขาดการดูแล 2. จํานวนของสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆไม่เพียงพอต่อจํานวนนักศึกษาที่พักในหอพักมหาวิทยาลัย 3. ด้านความปลอดภัยในทรัพย์สิน และด้านความปลอดภัยในชีวิต ที่น้อย ไม่มีระบบประตูเข้าออกแบบ Key Card ไม่มีที่เก็บของส่วนตัวที่เพียงพอ และมีอุปกรณ์ป้องกันอัคคีภัยไม่ครบถ้วนรวมไปถึงปัญหาของการบริการเรื่องของจํานวนแม่บ้าน จํานวนพนักงานรักษาความปลอดภัยไม่เพียงพอกับจํานวนหอพักและนักศึกษา

  • รายการ
    การศึกษาการใช้โปรแกรมสําเร็จรูปในการบริหารจัดการทรัพยากรอาคาร กรณีศึกษา บริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ
    (2556-05-30T16:46:11Z) กฤษณะ นิลสกุล
    ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาทอย่างมากในทุกๆ ด้าน หากแต่ว่าเราสามารถที่จะนําเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ในงานด้านที่เกี่ยวข้องกับงานของเราได้ จะทําให้เกิดผลของงานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น งานด้านบริหารทรัพยากรอาคารในปัจจุบันก็มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ และนําซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการ ซึ่งงานการค้นคว้าอิสระนี้ ได้ทําการศึกษาการนําโปรแกรมเข้ามาใช้งานในการบริหารจัดการ งานบริหารทรัพยากรอาคาร ส่วนของงานบํารุงรักษา ของบริษัท คิง เพาเวอร์ สุวรรณภูมิ ภายในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโปรแกรมการบริหารจัดการงานบํารุงรักษา, เพื่อศึกษาองค์ประกอบความต้องการพื้นฐานจากโปรแกรมในการบริหารงานบํารุงรักษา, เพื่อศึกษากระบวนการวิเคราะห์ ประกอบการพิจารณาระหว่างการจัดซื้อซอฟต์แวร์โปรแกรมสําเร็จรูปหรือการพัฒนาโปรแกรมซอฟต์แวร์ใช้งานเอ งและเพื่อศึกษากระบวนการวิเคราะห์ ด้านของความคุ้มค่าในการลงทุน จากการศึกษาพบว่าโครงสร้างการทํางานของซอฟต์แวร์บริหารงานบํารุงรักษา ทั้งส่วนซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นโดยต่างประเทศและพัฒนาขึ้นภายในประเทศไม่มีความแตกต่างกัน, การจัดซื้อโปรแกรมซอฟต์แวร์สําเร็จรูป มีค่าใช้จ่ายที่ต่ํากว่าและระยะเวลาพร้อมใช้งานที่สั้นกว่า การพัฒนาโปรแกรมใช้งานเอง และการนําโปรแกรมซอฟต์แวร์บริหารงานบํารุงรักษามาใช้งานจะทําให้เกิดผลประหยัดให้กับองค์กรโดยมีระยะเว ลาคืนทุนที่เหมาะสม
  • รายการ
    ศึกษาปัญหาของการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบ
    (2556-05-30T16:36:15Z) ทองอินทร์ ชมโท
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อศึกษาปญหาของการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุง ภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่งท่องเท่ียวของตําบลเขาสามสิบ 2)เพื่อศึกษากระบวนการ ปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่งท่องเท่ียวของตําบล เขาสามสิบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้คัดเลือกส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จํานวน 5 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบไร้โครงสร้าง สถิติที่ใช้เป็นการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการศึกษาได้พบว่า 1. ปัญหาที่พบ - ในส่วนของกรมชลประทาน งานท่ีจะต้องปรับปรุงและบํารุงรักษา เป็นงานที่มีการ เปลี่ยนแปลงส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารชลประทานที่ได้ออกแบบ/ก่อสร้างไว้เดิม หรือมีการออกแบบ/ ก่อสร้างขึ้นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งน้ําและการระบายน้ําเป็นหลักใหญ่ - ในส่วนของกรมป่าไม้ จะพบว่าการก่อสร้างขัดกับหน้าที่ เพราะในส่วนของกรมป่าไม้ (โครงการพัฒนาพื้นที่ราบเชิงเขาป่าเขาฉกรรจ์(บ้านเขาสามสิบ)อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) มีอํานาจหน้าที่ ในการอนุรักษ์ สงวน คุ้มครอง ฟื้นฟู ดูแลรักษา ส่งเสริมทํานุบํารุงป่าและการดําเนินการเกี่ยวกับป่าไม้ การ ทําไม้ การเก็บหาของป่า การใช้ประโยชน์ในที่ดินป่าไม้และการอื่นเกี่ยวกับป่าและอุตสาหกรรมป่าไม้ ทั้งนี้ เฉพาะที่ไม่อยู่ในอํานาจหน้าที่ของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ปา และพันธุ์พืช - ในส่วนขององค์การบริหารส่วนตําบลเขาสามสิบ จะพบว่าขาดผู้ชํานาญการออกแบบงาน ก่อสร้าง เนื่องจากปัญหาที่เกิดขึ้นมีผลมาจากการออกแบบก่อสร้างที่ผิดพลาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการ ทํางานเป็นอย่างมาก เพราะมีการผิดพลาดเกิดขึ้น จะต้องรอแก้ไขแบบก่อสร้าง รอวิธีการแก้ไขงาน รอการอนุมัติแก้ไขงานจากผู้ออกแบบหรือเจ้าของโครงการ มีการเปลี่ยนแปลงการทํางาน เปลี่ยนแปลง ปริมาณงาน สรุป การปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบเพื่อเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบ จะต้องมีการศึกษาวิธีการในการปรับปรุง บนพื้นฐานของหลักวิชาการ ประกอบกับความเป็นไปได้ซึ่งยากกว่า การดําเนินการสําหรับอาคารที่ออกแบบใหม่ เพราะหากไม่มีการพิจารณาในลักษณะนี้ ก็จะไม่ได้รับการยอมรับและความร่วมมือจากเจ้าของหน่วยงานที่ดูและสถานที่ ให้ดําเนินการตามขั้นตอนดังนี้ - จัดทําโครงการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้างและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอ่างเก็บน้ําเขาสามสิบ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของตําบลเขาสามสิบแนบแบบก่อสร้าง รายละเอียดสถานะของสิ่งปลูกสร้างทางด้านความปลอดภัย และมั่นคงของตัวอาคารที่จะทําการปรับปรุง ข้อแนะนําในการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง งบประมาณในการปรับปรุง และรวมถึงแผนงานด้วย - ดําเนินการยื่นคําขอ ณ โครงการชลประทานเจ้าของพื้นที่ - ยื่นเรื่องขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อป่าไม้จังหวัดท้องที่ที่ป่านั้นตั้งอยู่ - ตั้งคณะทํางานการพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อทําหน้าที่ในการร่วมกําหนดทิศทางในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การสร้างมาตรฐานด้านการบริการและความปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว
  • รายการ
    แรงจูงใจของทายาทผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้าง จังหวัดสุรินทร์
    (2556-05-30T16:18:01Z) ปรวิทย์ ภิรมย์
    การศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจของทายาทผู้สืบทอดธุรกิจครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กในจังห วัดสุรินทร์ โดยนําเอาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ทายาทผู้ประกอบกิจการ เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์กับทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งผลที่ได้จะเป็นประโยชน์แก่ทายาทต่อการตัดสินใจสืบทอดกิจการ รวมถึงประโยชน์แก่ผู้ก่อตั้งที่จะเป็นแนวทางในการสร้างแรงจูงใจให้กับทายาทมีความสนใจในกิจการของตน วิธีการศึกษาจะเป็นการศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับแรงจูงใจของ Herzberg และสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ( Dept Interview) เพื่อหาปัจจัยที่ทําให้เกิดแรงจูงใจในการสืบทอดกิจการ จากผู้เป็นทายาทของผู้ประกอบการครอบครัวผู้รับเหมาก่อสร้างขนาดเล็กในจังหวัดสุรินทร์โดยตรงจํานวน 10 บริษัทรวมถึงการสัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการ บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จํากัด ( มหาชน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท ชาญอิสสระ ดิเวลลอปเม้นท์ จํากัด (มหาชน) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบเพิ่มเติม ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ทําให้เกิดแรงจูงใจในการสืบทอดกิจการ จากผู้เป็นทายาทของผู้ประกอบการมีผลสนับสนุนต่อทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg โดยมีทายาทที่มีแรงจูงใจจากปัจจัยจูงใจ(Motivation Factor) จํานวน 1 คน และมีแรงจูงใจจากปัจจัยค้ําจุน (Maintenance Factor) จํานวน 9 คน โดยทั้ง 9 คนมีแรงจูงใจจากภายนอกที่เหมือนและแตกต่าง อาจด้วยสาเหตุจากปัจจัยส่วนบุคคลเช่น เพศ อายุ ความสัมพันธ์ และการศึกษาที่อาจนําไปสู่การศึกษาในโอกาสครั้งต่อไปได้ ส่วนผลจากการสัมภาษณ์กรรมการผู้จัดการทั้ง 2 ได้ผลที่ตรงกันคือมีปัจจัยจูงใจ(Motivation Factor) เป็นแรงจูงใจในการสืบทอดกิจการ รวมทั้งได้ให้แนวทางในการปลูกฝังทายาทด้วยการให้การศึกษาและการเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อง่ายต่อการสืบท อดกิจการ ผลการศึกษานี้สามารถนําไปปรับปรุงใช้กับธุรกิจอื่นๆ หรือหน่วยงานของรัฐอาจนําไปเป็นกรณีศึกษาเพื่อแผนการพัฒนาธุรกิจครอบครัวที่ยั่งยืน เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป