LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 236
  • รายการ
    กฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่สัญญา กรณีทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหาย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วีรพัฒน์ พลศรี
    สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งในบรรพ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยตามมาตรา 572 วรรคแรก สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่าที่ควร เช่าซื้อเป็นสัญญาที่นิยมทำกันแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน แต่โดยเหตุที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับโดยตรงกับสัญญาเช่าซื้อเพียงไม่กี่มาตรา ทำให้ต้องนำหลักกฎหมายอื่นมาปรับใช้กับนิติสัมพันธ์ของสัญญาเช่าซื้อด้วย ผู้เขียนจึงได้ทำการวิจัยจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 รวมทั้งหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • รายการ
    มาตรการตามกฎหมายเกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วราพงษ์ ฤทธิ์ศรี
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึง (1) หลักการ แนวคิด และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบพยานหลักฐานและความจริงในคดีอาญา และกฎหมายต่างประเทศ (2) ปัญหาความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนในการค้นหาความจริงและแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาญาในชั้นสอบสวน (3) ปัญหาการลงพื้นที่เกิดเหตุของพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบความจริงหรือข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดี (4) ปัญหาความเป็นอิสระของศาลในการตรวจสอบความจริงและพยานหลักฐานตามคำฟ้องโจทก์และในการหยิบยกพยานหลักฐานตามที่ปรากฏขึ้นจริงก่อนจะพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศศิพงษ์ งามศรีขำ
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที (4) แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
  • รายการ
    การตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ : ศึกษาเฉพาะคดีที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภาณุพงศ์ ในเรือน
    การที่ผู้เสียหายได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท และมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งหากพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จหรือศาลได้วินิจฉัยขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว ย่อมส่งผลต่ออำนาจการไต่สวนและวินิจฉัยคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นไปตามหลักการห้ามดำเนินคดีอาญาซ้ำ (ne bis in idem) ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายส่งผลกระทบต่ออำนาจการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าควรมีมาตการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหาย
  • รายการ
    ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองการโคลนมนุษย์ภายใต้กฏหมายสิทธิบัตรไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) รภัทภร น่วมลมัย
    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหากฎหมายการให้ความคุ้มครองการโคลนมนุษย์ภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 รวมทั้งเปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสิงคโปร์
  • รายการ
    ปัญหาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : ศึกษาการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศิริโรจน์ โรจน์วรพร
    จากการที่รัฐมีแนวโน้มขยายการเปลี่ยนแปลงบทบาของรัฐ ให้เป็นรูปแบบรัฐสมัยใหม่มีลักษณะเป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งการกระทำ หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆของหน่วยงานของรัฐโดยเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของรัฐ ต้องใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย บางครั้งการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจกระทำการกระทบซึ่งสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลคนอื่น รวมทั้ง ทางภาคเอกชนและทางภาครัฐด้วยกันเอง เป็นผลมาจากการกระทำทางปกครอง การที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดเต็มจำนวนในการกระทำต่างๆ แทนรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดในลักษณะของลูกหนี้ร่วม โดยปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นการกระทำทางมหาชน และเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ขึ้นใช้บังคับ
  • รายการ
    ปัญหาการจัดทำเอกสารหรือหลักฐาน หรือเข้าไปแฝงตัวในองค์กรหรือกลุ่มคนใดตามกฎหมายว่าด้่วยการสอบสวนคดีพิเศษ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วรรณชัย พรหมรักษ์
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารหรือหลักฐาน หรือการเข้าไปแฝงตัวในองค์กรหรือกลุ่มคนใด ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ อันเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • รายการ
    การจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) คณัชวรรธก์ดา สุภาพ
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 283 ได้บัญญัติเรื่องกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถื่น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปให้ส่วนท้องถิ่นในการจัดให้มีบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นให้ได้รับการบริการและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ซึ่งการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญนั้นหมายความรวมถึงการกระจายอำนาจทางการคลังด้วย เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงต้องกระจายอำนาจการจัดเก็บรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกัน เพราะการจัดเก็บรายได้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านการคลัง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจทางการคลัง
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการให้กู้ยืมนอกระบบ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วัชรพงษ์ อินสกุล
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงความเป็นมา ความหมาย ลักษณะของการกู้ยืมเงินนอกระบบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบ ซึ่งเป็นการศึกษาถึงแง่มุมของการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารอันมีผลกระทบต่อการให้กู้ยืมเงินนอกระบบ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์การโอนหนี้นอกระบบให้เข้าสู่ระบบตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะออกมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นอย่างมาก
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานออกกำลังกาย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เรืองยศ ขันสุวรรณ
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจสถานออกกำลังกายในประเทศไทยและแนวความคิดทางกฎหมายในการควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและมาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย รวมทั้งเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้สถานออกกำลังกาย ทั้งนี้ เพื่อได้แนวทางในการตรากฎหมายควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้สถานออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในอนาคต โดยวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ เอกสาร และวารสารกฎหมาย รวมทั้งศึกษากฎหมายของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ตลอดจนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) พงษ์รพี บัวทอง
    เมื่อความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้นพบเซลล์ต้นกำเนิดนั้น ได้นำพามาซึ่งความหวัง และได้รับความสนใจจากสังคมเป็นอย่างมากโดยคาดหวังว่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคร้ายต่างๆ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถรักษาได้ ทำให้ทั่วโลกมีการสนับสนุนให้มีการศึกษาวิจัยเซลล์ต้นกำเนิดเป็นจำนวนมาก โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี ทั้งทางด้านจริยธรรม กล่าวคือ การแยกสกัดเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนจำเป็นต้องใช้ตัวอ่อนมนุษย์ทำกระบวนการแยกเซลล์ออกมาจากตัวอ่อน จึงทำให้ตัวอ่อนมนุษย์นั้นไม่สามารถเจริญเติบโตต่อไปได้ จึงเป็นการฆ่าตัวอ่อนทำให้ผิดจริยธรรม และในทางกฎหมายนั้น การฆ่าตัวอ่อนเหล่านี้นั้นผิดกฎหมายหรือไม่
  • รายการ
    การแปรรูปรัฐวิสาหกิจและผลกระทบของการเก็บภาษีสรรพสามิตในธุรกิจโทรคมนาคมศึกษากรณีการเก็บภาษีสรรพสามิตในส่วนแบ่งรายได้ของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เพ็ญนภา ชูพงษ์
    บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็นรัฐวิสาหกิจที่แปรรูปกิจการของรัฐมาเป็นเอกชน โดยพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการดำเนินกิจการโทรศัพท์ซึ่งเป็นกิจการสาธารณูปโภคทางด้านสื่อสารโทรคมนาคม จึงต้องมีพระราชบัญญัติคุ้มครอง เพราะดำเนินการในลักษณะเพื่อประโยชน์สาธารณะและบริการสาธารณะ อีกทั้ง ยังมีพระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทสไทย พ.ศ. 2497 ยังได้ให้สิทธิพิเศษในการยกเว้นจากการเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19 รวมถึงแผนแม่บทกิจการโทรคมนาคม ฉบับที่ 2 (พุทธศักราช 2551 – 2553) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กิจการโทรคมนาคมไทยเข้มแข็ง และมีการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม เพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคมที่ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนความมั่นคงของรัฐ และการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
  • รายการ
    ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกิจการรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ณัฐพงษ์ แสงกมล
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการจัดเก็บภาษีอากรจากกิจการรถแท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยทำการศึกษาประมวลรัษฎากรเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศและจำกัดเฉพาะปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และการบริหารการจัดเก็บภาษีอากร ปัญหาการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลในกรณีผู้ประกอบการรถแท็กซี่ในรูปแบบกิจการสหกรณ์ เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ มิใช่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามมาตรา 39 (3) แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด ดังนั้นถ้ากิจการรถแท็กซี่ในรูปแบบสหกรณ์แต่ไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของสหกรณ์ คือการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อประกอบกิจการ รถแท็กซี่ก็เพื่อที่จะให้เกิดการรวมกลุ่มกันของผู้ประกอบการอาชีพขับรถแท็กซี่ ที่จะมารวมกันช่วยประกอบกิจการ และช่วยกันยกระดับความสามารถในการประกอบอาชีพของเหล่าสมาชิกที่จะมีรถแท็กซี่เป็นของตนเองได้ แต่ปรากฏว่าการจัดตั้งสหกรณ์ดังกล่าวเป็นการจัดตั้งขึ้นของเหล่าผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของอู่รถแท็กซี่ หรือเหล่านายทุนที่มาอาศัยข้อได้เปรียบของการดำเนินการในรูปแบบสหกรณ์ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • รายการ
    การประกันภัยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ : ศึกษากรณีสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วณิชดา สาระศรี
    สินค้าและผลิตภัณฑ์ต่างๆที่มีวางจำหน่ายอยู่ทั่วไปนั้นล้วนแต่ให้ประโยชน์ใช้สอยที่แตกต่างกันไปต่อผู้บริโภค แต่เมื่อใดก็ตามที่สินค้าหรือผลิตภัณฑ์นั้นเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยและก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้ใช้หรือบุคคลทั่วไปแล้ว บุคคลนั้นย่อมต้องการที่จะได้รับการชดใช้เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเป็นหน้าที่ของผู้ประกอบการที่จะต้องรับผิดเพื่อบรรเทาความเสียหาย แต่ปัจจุบันหากผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องการเรียกร้องให้ได้ค่าเสียหายจำต้องไปดำเนินคดีฟ้องร้องผู้ประกอบการซึ่งมีระยะเวลาและขั้นตอนที่ยาวนานและมีภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีอีกด้วย
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สุทธิรักษ์ ยิ้มยัง
    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาทางกฏหมายของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ซึ่งส่งผลให้เกิดอุปสรรคต่อการที่ภาคเอกชนจะเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ รวมทั้งจะทำการศึกษาหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงปัญหาดังกล่าว โดยการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบวิจัยเชิงเอกสารจากตำราทางวิชาการ บทความ และเอกสารที่เกี่ยวข้องต่างๆ ผลการศึกษาสรุปได้ว่ากฏหมายฉบับนี้มีความไม่ชัดเจน เนื่องจากมิได้มีการให้นิยามศัพท์ของคำว่า “โครงการใหม่” และคำว่า “โครงการที่มีทรัพย์สินอยู่แล้ว” ไว้ ทั้งยังมิด้มีการกำหนดถึงรายละเอียดวิธีการคำนวณมูลค่าการลงทุนของโครงการ รวมทั้งขอบเขตของนิยามศัพท์คำว่า “ร่วมงานหรือดำเนินการ” ยังไม่ครอบคลุมถึงโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Tum Key) ซึ่งเป็นรูปแบบโครงการลงทุนของภาครัฐที่นิยมใช้ในปัจจุบัน นอกจากนี้ กระบวนการต่างๆ ที่กำหนดไว้ในกฏหมายฉบับนี้ยังไม่ครบถ้วนและไม่มีประสิทธิภาพที่เพียงพอ กล่าวคือ มิได้มีการบัญญัติถึงกระบวนการแก้ไขสัญญาในภายหลังจากที่โครงการได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว และกระบวนการกำกับดูแลติดตามผลของโครงการยังไม่มีประสิทธิภาพ
  • รายการ
    ปัญหาความรับผิดก่อนสัญญา : ศึกษากรณีการเพิกถอนคำเสนอและยกเลิกการเจรจา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สุทธิพงษ์ เปรมปรัญชา
    โดยปกติทั่วไป บุคคลย่อมมีเสรีภาพภายใต้หลักอิสระทางแพ่งที่ผูกพันตนเองด้วยนิติกรรมสัญญาหรือไม่ก็ได้ การเลือกที่จะไม่ก่อนิติสัมพันธ์ให้เกิดหนี้ควรเป็นสิทธิโดยชอบ อย่างไรก็ตามหากขั้นตอนก่อนเกิดสัญญาดำเนินมาถึงระดับหนึ่ง กล่าวคือมีการแสดงเจตนาทำคำเสนอ มีการเจรจาตกลงต่อรองในการทำสัญญาและผลดำเนินการดังกล่าวมีความก้าวหน้ามากถึงขั้นสร้างความความคาดหวังเชื่อถือว่าจะมีนิติสัมพันธ์ขึ้นจนได้เสียค่าใช้จ่ายตระเตรียมการเพราะใกล้จะเกิดสัญญาแล้วแต่ต่อมาผลที่เกิดจากการดำเนินการก่อนเกิดสัญญาถูกยกเลิกเพิกถอนและมีความเสียหายเกิดขึ้นก็อาจก่อให้เกิดความรับผิดที่จะสามารถเรียกร้องค่าเสียหายต่อกันได้
  • รายการ
    ข้อเสนอการตีความของคำนิยามของคำว่า "เหตุสุดวิสัย" ตามกฎหมายไทย เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ทัตพิชา กรุดวงษ์
    ตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 การตีความคำนิยามของคำว่า “เหตุสุดวิสัย” ของไทยจะมีคำนิยามที่แคบไม่ทันต่อยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป โดยได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ทางกฏหมายของต่างประเทศในระบบคอมมอนลอร์ ระบบซีวิลลอร์และหลักกฏหมายสากลที่เกี่ยวกับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและกรณีการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบาก (Hardship) ว่าสามารถนำหลักการใดมาปรับใช้กับการตีความคำนิยามของคำว่า “เหตุสุดวิสัย” ของไทยได้ ผลการศึกษาพบว่าประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยไม่สามารถนำมาปรับใช้กับวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจและกรณีการชำระหนี้ที่เป็นไปอย่างยากลำบาก (Hardship) ดังนั้น หากเกิดกรณีปัญหาเกี่ยวกับการไม่สามารถปฎิบัติการชำระหนี้ได้เพราะเกิดเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของสัญญาภายหลังที่ทำสัญญาโดยที่คู่สัญญาไม่อาจคาดคิดมาก่อนในขณะที่ทำสัญญานั้น แล้วส่งผลให้การชำระหนี้เป็นภาระหนักเกินควรแก่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไปจนทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างคู่สัญญา คู่สัญญาต้องรับภาระในการชำระหนี้มากเกินไปนั้นจะต้องรับชำระหนี้อย่างสิ้นเชิง เนื่องจากในประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 8 ไม่ได้บัญญัติในเรื่องดังกล่าวไว้ จึงทำให้คู่สัญญาไม่มีสิทธิที่จะปรับข้อสัญญาหรือเลิกสัญญากันได้ตามเหตุการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
  • รายการ
    มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ซื้อบริการท่องเที่ยวในลักษณะเหมาจ่าย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เอกนรินทร์ธร แก้วศรี
    การท่องเที่ยวมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพราะเป็นอุตสาหกรรมด้านการค้าบริการที่ประกอบด้วยธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันเป็นลูกโซ่ โดยมีธุรกิจ หลักคือธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจเดินทางระหว่างประเทศ ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจรองอื่นๆ หลายอย่างและเป็นธุรกิจที่กระตุ้นอุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆอีกและยังส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ซึ่งก่อให้เกิดการกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนในระดับรากหญ้าอีกด้วย
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับขอบเขต อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) นพรัตน์ ฟูเกษม
    การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นกระบวนการแก้ไขให้ลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ไม่ต้องถูกฟ้องล้มละลายซึ่งจะเป็นผลดีต่อธุรกิจของลูกหนี้และสภาพเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม ในการฟื้นฟูกิจการนอกจากแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว ผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการถือเป็นส่วนสำคัญที่มีผลทำให้การฟื้นฟูกิจการประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งตามกฏหมายฟื้นฟูกิจการของไทยได้กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นหนึ่งในผู้ดำเนินการฟื้นฟูกิจการและได้กำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ไว้แต่ยังมีความไม่ชัดเจนไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์และหลักการสากลของการฟื้นฟูกิจการที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้กิจการของลูกหนี้ให้สามารถดำเนินต่อไปได้โดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการล้มละลายเพื่อให้มีความสามารถในการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย จึงทำให้เกิดปัญหาหลายประการอันเป็นอุปสรรคต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนการฟื้นฟูกิจการ
  • รายการ
    ปัญหาการฟ้องเพื่อเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในคดีสิ่งแวดล้อม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ณัฐนรี สงวนวงศ์วิจิตร
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ทำการศึกษาถึงการฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งในคดีสิ่งแวดล้อม ปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีความสำคัญมีผลกระทบต่อบุคคลเป็นจำนวนมาก เมื่อเกิดความเสียหายทางด้านสิ่งแวดล้อมขึ้น การเยียวยาความเสียหายของผู้เสียหายประการหนึ่ง คือการนำคดีขึ้นสู่ศาล และในปัจจุบันการฟ้องร้องค่าเสียหายทางแพ่งในคดีสิ่งแวดล้อมจะเป็นไปตามหลักกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ว่าจะเป็นเรื่องการฟ้องคดีที่มีผู้เสียหายเป็นจำนวนมาก การดำเนินคดีในกรณีที่มีผู้เสียหายหลายคนตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่มีอยู่ยังไม่อาจตอบสนองต่อการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะทำให้เกิดความยุ่งยากและล่าช้าในการดำเนินคดี ส่งผลต่อการทำคำพิพากษาซึ่งยังตั้งอยู่บนหลักการที่คำพิพากษาต้องผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีเท่านั้น