LAW-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 246
  • รายการ
    ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) ปฐมพงศ์ กามนต์
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 รวมทั้งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 การศึกษาปัญหาดังกล่าว เป็นการวิจัยเอกสาร โดยรวบรวมค้นคว้าข้อมูลจาก ตำรา เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ บทความ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยวิธีพรรณนาความ จากการศึกษาจะพบปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานคนต่างด้าวหลายประการ กล่าวคือ 1. การเข้าไปค้นในสถานที่ทำงาน 2. สินบนนำจับ 3. ค่าธรรมเนียมในการจ้างแรงงานต่างชาติ (Levy) 4. บทลงโทษและอัตราโทษ 5. กองทุนเพื่อการส่งกลับแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาสัมปทาน : กรณีศึกษาโครงการโฮปเวลล์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) วัลลภ มากุญชร
    บริการสาธารณะโดยเฉพาะด้านการจราจรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับประชาชนในการเดินทาง รัฐมีหน้าที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน แม้ว่าในปัจจุบันจะมีหน่วยงานภาครัฐวิสาหกิจ ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ, รถไฟฟ้ามหานคร หรือ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (มหาชน) จำกัด (บี.ที.เอส) หน่วยงานดังกล่าวก็ไม่อาจบริการได้เพียงพอ รวดเร็วทั่วถึง ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ชั้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีจุดตัดระหว่างทางรถไฟกับถนนอยู่เป็นจำนวนมากก่อให้เกิดผลสียหายต่อระบบการขนส่งโดยรวม คือ ก่อให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดตรงบริเวณจุดตัดของถนนกับทางรถไฟ ด้วยเหตุนี้ รัฐจึงจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการให้สัมปทานโครงการระบบขนส่งทางรถไฟและถนนยกระดับในเขตกรุงเทพมหานคร (โครงการโฮปเวลล์) ให้เอกชนดำเนินการตามความเป็นจริง แต่โดยที่โครงการดังกล่าวและเงื่อนไขของสัญญาสัมปทานขาดประสิทธิภาพและมาตรฐานต่ำ ขาดกฎหมายควบคุม กับทั้งรัฐยังไม่ได้ดำเนินการอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมในลักษณะของการบริหารอย่างมืออาชีพเนื่องจากในขณะทำสัญญาศาลปกครองยังไม่เปิดดำเนินการจึงมีปัญหาไปสู่การพิจารณาว่าสถานะภาพทางกฎหมายสัญญาสัมปทานโครงการโฮปเวลล์เป็นสัญญาทางปกครองหรือไม่และการบอกเลิกสัญญาโดยคู่สัญญาฝ่ายรัฐชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ตลอดจนกระบวนการขั้นตอนระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นถูกต้องเป็นธรรมหรือไม่
  • รายการ
    การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์นอกศาล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2555) เอกวัฒน์ รัตนาวงศ์ศรี
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับข้อจำกัดทางกฎหมายของกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์นอกศาล ซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution - ADR) วิธีหนึ่ง เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขและส่งเสริมให้การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททางพาณิชย์นอกศาลได้รับความนิยมและสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของการระงับข้อพิพาททางพาณิชย์ เนื่องจากการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนอกศาลมีความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายและลดปริมาณคดีของศาล และยังสามารถรักษาความสัมพันธ์ระหว่างคู่พิพาท รักษาชื่อเสียงและรักษาความลับทางธุรกิจของคู่พิพาทเอาไว้ได้
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายอังกฤษ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2551) ดวงกมล จำสัตย์
    การศึกษาเรื่อง “ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการลวงขายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายอังกฤษ” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาอันเกี่ยวกับการลวงขายเครื่องหมายการค้า เพื่อหาสาเหตุของปัญหาต่างๆและหามาตรการทางกฎหหมายในการแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการลวงขาย ให้มีประสิทธิภาพเพียงพอกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงเสนอมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาในอนาคต
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ผู้ประกอบกิจการรายเดียวและกิจการห้างหุ้นส่วน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) สานิต กระต่ายทอง
    กฎหมายฟื้นฟูกิจการเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการแก้ไขปัญหาทางการเงินของลูกหนี้ เมื่อลูกหนี้ไม่ว่าจะกิจการขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ประสบปัญหายุ่งยากทางการเงินแล้วย่อมชอบที่จะเลือกใช้กฎหมายฟื้นฟูกิจการเป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของตนได้ การศึกษา ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ : ศึกษากรณีลูกหนี้ผู้ประกอบกิจการรายเดียวและกิจการห้างหุ้นส่วน เป็นการศึกษาให้ทราบถึงกระบวนการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ผู้ประกอบกิจการรายเดียวและกิจการห้างหุ้นส่วนของต่างประเทศ เปรียบเทียบกับกฎหมายฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ของไทย จากการศึกษาพบว่า กฎหมายฟื้นฟูกิจการของต่างประเทศให้โอกาสลูกหนี้ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลหากประกอบการค้าขายหรือประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจแล้ว ย่อมสามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้ โดยไม่คำนึงถึงขนาดของกิจการหรือโครงสร้างทางกฎหมายของลูกหนี้ ส่วนกฎหมายฟื้นฟูกิจการตามกฎหมายไทยนั้นให้สิทธิลูกหนี้บางประเภทเท่านั้นที่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการได้
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพ และสวัสดิการของนักแสดงเด็กในอุตสาหกรรมบันเทิง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ทิพวรรณ โชคชื่น
    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ และสวัสดิการของนักแสดงเด็กในอุตสาหกรรมบันเทิง โดยศึกษาจากความหมาย และลักษณะการทำงาน รวมถึงมาตรการทางกฎหมายระหว่างประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งการศึกษานี้ได้มุ่งเน้นไปที่การวิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการคุ้มครองแรงงานเด็กในอุตสาหกรรมบันเทิงของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กับมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศออสแตรเลีย มลรัฐควีนส์แลนด์ การศึกษาในครั้งนี้เน้นการแยกประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสิทธิ สวัสดิภาพ และสวัสดิการของนักแสดงเด็กในอุตสาหกรรมบันเทิง เพื่อให้เห็นถึงมาตรการของต่างประเทศที่ควรนำมาเป็นแนวทางในการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิสวัสดิภาพและสวัสดิการของนักแสดงเด็กในอุตสาหกรรมบันเทิงได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • รายการ
    การพัฒนากฎหมายเพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ดาวใจ บุญจันทร์
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายเพื่อป้องกันการตกแต่งบัญชีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ เพื่อศึกษาปัญหาและผลกระทบอันเกิดจากการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ และเพื่อศึกษาถึงแนวทางแก้ไขและพัฒนากฎหมายที่ใช้ในการป้องกันการเกิดการตกแต่งบัญชีโดยทุจริตของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเอกสารจากหนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง
  • รายการ
    บทบาทของพนักงานอัยการต่อการดำเนินคดีอาญาในคดีแข่งขันทางการค้า
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) พสิษฐ์ อันทรินทร์
    การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัญหาและข้อคิดเห็นทางกฎหมายเกี่ยวกับบทบาทของพนักงานอัยการในการดำเนินคดีแข่งขันทางการค้า วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีแข่งขันทางการค้าของพนักงานอัยการของประเทศไทยและต่างประเทศ และเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีเเข่งขันทางการค้าของพนักงานอัยการ ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ปานว่าน สาแก้ว
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนของระหว่าประเทศ ต่างประเทศ และประเทศไทย (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชนกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม (4) เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำเสนอข่าวอาชญากรรมของสื่อมวลชน กรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม
  • รายการ
    การประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์ : ศึกษาเฉพาะกรณีของศัลยแพทย์เสริมความงาม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2552) มชิมา ราชกิจ
    การศึกษาเรื่อง "การทำประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแเพทย์เสริมความงาม : ศึกษาเฉพาะกรณีของศัลยแพทย์เสริมความงาม" โดยได้ศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายประกันภัยความรับผิดผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์เสริมความงามกับต่างประทศ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัยถึงความสำคัญของปัญหาอันเกี่ยวกับการกระทำเวชปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์เสริมความงามแล้วเกิดความผิดพลาดทำให้ผู้ใช้บริการได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผู้ใช้บริการนำไปฟ้องเป็นคดี เพื่อให้ผู้ประกอบวิชาชีพศัลยแพทย์เสริมความงามต้องชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนมาก
  • รายการ
    กฎหมายที่มีผลกระทบต่อสิทธิของคู่สัญญา กรณีทรัพย์ที่เช่าซื้อสูญหาย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วีรพัฒน์ พลศรี
    สัญญาเช่าซื้อเป็นเอกเทศสัญญาลักษณะหนึ่งในบรรพ 3 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยตามมาตรา 572 วรรคแรก สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่าที่ควร เช่าซื้อเป็นสัญญาที่นิยมทำกันแพร่หลายในสังคมปัจจุบัน แต่โดยเหตุที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับโดยตรงกับสัญญาเช่าซื้อเพียงไม่กี่มาตรา ทำให้ต้องนำหลักกฎหมายอื่นมาปรับใช้กับนิติสัมพันธ์ของสัญญาเช่าซื้อด้วย ผู้เขียนจึงได้ทำการวิจัยจากกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 พระราชบัญญัติว่าด้วยสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการกำหนดธุรกิจที่ควบคุมสัญญาและลักษณะของสัญญา พ.ศ. 2542 รวมทั้งหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
  • รายการ
    มาตรการตามกฎหมายเกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วราพงษ์ ฤทธิ์ศรี
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาถึง (1) หลักการ แนวคิด และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับกลไกการตรวจสอบพยานหลักฐานและความจริงในคดีอาญา และกฎหมายต่างประเทศ (2) ปัญหาความเป็นอิสระของพนักงานสอบสวนในการค้นหาความจริงและแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาญาในชั้นสอบสวน (3) ปัญหาการลงพื้นที่เกิดเหตุของพนักงานอัยการเพื่อตรวจสอบความจริงหรือข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในคดี (4) ปัญหาความเป็นอิสระของศาลในการตรวจสอบความจริงและพยานหลักฐานตามคำฟ้องโจทก์และในการหยิบยกพยานหลักฐานตามที่ปรากฏขึ้นจริงก่อนจะพิพากษาลงโทษผู้กระทำความผิด
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศศิพงษ์ งามศรีขำ
    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันทีของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที (4) แนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการปรุงอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที
  • รายการ
    การตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ : ศึกษาเฉพาะคดีที่อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภาณุพงศ์ ในเรือน
    การที่ผู้เสียหายได้รับผลกระทบโดยตรงจากการกระทำความผิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม มีสิทธิร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีอาญากับเจ้าหน้าที่ของรัฐในความผิดกรรมเดียวต่อกฎหมายหลายบท และมีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งหากพนักงานสอบสวนสอบสวนเสร็จหรือศาลได้วินิจฉัยขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว ย่อมส่งผลต่ออำนาจการไต่สวนและวินิจฉัยคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นไปตามหลักการห้ามดำเนินคดีอาญาซ้ำ (ne bis in idem) ดังนั้น เพื่อป้องกันไม่ให้การดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหายส่งผลกระทบต่ออำนาจการดำเนินคดีของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ผู้ศึกษาจึงเห็นว่าควรมีมาตการทางกฎหมายที่เหมาะสมเพื่อตรวจสอบการดำเนินคดีอาญาของผู้เสียหาย
  • รายการ
    ปัญหากฏหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองการโคลนมนุษย์ภายใต้กฏหมายสิทธิบัตรไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) รภัทภร น่วมลมัย
    วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับปัญหากฎหมายการให้ความคุ้มครองการโคลนมนุษย์ภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 รวมทั้งเปรียบเทียบกับกฎหมายสิทธิบัตรของประเทศสหรัฐอเมริกา สหรัฐราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และสิงคโปร์
  • รายการ
    ปัญหาความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ : ศึกษาการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศิริโรจน์ โรจน์วรพร
    จากการที่รัฐมีแนวโน้มขยายการเปลี่ยนแปลงบทบาของรัฐ ให้เป็นรูปแบบรัฐสมัยใหม่มีลักษณะเป็นรัฐสวัสดิการ ซึ่งการกระทำ หรือการดำเนินกิจกรรมต่างๆของหน่วยงานของรัฐโดยเจ้าหน้าที่ที่เป็นตัวแทนของรัฐ ต้องใช้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย บางครั้งการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจกระทำการกระทบซึ่งสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลคนอื่น รวมทั้ง ทางภาคเอกชนและทางภาครัฐด้วยกันเอง เป็นผลมาจากการกระทำทางปกครอง การที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องรับผิดเต็มจำนวนในการกระทำต่างๆ แทนรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งเจ้าหน้าที่ต้องร่วมกันรับผิดในลักษณะของลูกหนี้ร่วม โดยปรับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งเป็นการกระทำทางมหาชน และเพื่อประโยชน์ส่วนรวม จึงป็นที่มาของการตราพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ขึ้นใช้บังคับ
  • รายการ
    ปัญหาการจัดทำเอกสารหรือหลักฐาน หรือเข้าไปแฝงตัวในองค์กรหรือกลุ่มคนใดตามกฎหมายว่าด้่วยการสอบสวนคดีพิเศษ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วรรณชัย พรหมรักษ์
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้บังคับกฎหมาย รวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารหรือหลักฐาน หรือการเข้าไปแฝงตัวในองค์กรหรือกลุ่มคนใด ซึ่งบัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยการสอบสวนคดีพิเศษ อันเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่คดีพิเศษของกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • รายการ
    การจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) คณัชวรรธก์ดา สุภาพ
    รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 283 ได้บัญญัติเรื่องกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถื่น เพื่อเป็นการกระจายอำนาจจากส่วนกลางไปให้ส่วนท้องถิ่นในการจัดให้มีบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นให้ได้รับการบริการและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ซึ่งการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญนั้นหมายความรวมถึงการกระจายอำนาจทางการคลังด้วย เมื่อมีการกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงต้องกระจายอำนาจการจัดเก็บรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกัน เพราะการจัดเก็บรายได้เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการด้านการคลัง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจทางการคลัง
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการให้กู้ยืมนอกระบบ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) วัชรพงษ์ อินสกุล
    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาถึงความเป็นมา ความหมาย ลักษณะของการกู้ยืมเงินนอกระบบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืมเงินนอกระบบ ซึ่งเป็นการศึกษาถึงแง่มุมของการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารอันมีผลกระทบต่อการให้กู้ยืมเงินนอกระบบ นอกจากนี้ยังได้ศึกษาถึงหลักเกณฑ์การโอนหนี้นอกระบบให้เข้าสู่ระบบตามที่รัฐบาลมีนโยบายที่จะออกมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีความสัมพันธ์กับวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นอย่างมาก
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมสถานออกกำลังกาย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เรืองยศ ขันสุวรรณ
    วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจสถานออกกำลังกายในประเทศไทยและแนวความคิดทางกฎหมายในการควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและมาตรการทางกฎหมายของไทยและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้บริการสถานออกกำลังกาย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย รวมทั้งเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้สถานออกกำลังกาย ทั้งนี้ เพื่อได้แนวทางในการตรากฎหมายควบคุมกำกับธุรกิจสถานออกกำลังกายและการให้ความคุ้มครองผู้บริโภคที่ใช้สถานออกกำลังกายที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในอนาคต โดยวิจัยเชิงเอกสาร (Documentary Research) โดยเป็นการศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูลจากหนังสือ บทความ เอกสาร และวารสารกฎหมาย รวมทั้งศึกษากฎหมายของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติว่าด้วยข้อสัญญาไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551 ตลอดจนคำวินิจฉัยที่เกี่ยวข้อง