LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์
URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้
เรียกดู
การส่งล่าสุด
รายการ การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของทหาร(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ณัฐพนธ์ วาปีธรรมสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของทหาร ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของทหาร (2) กฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของทหารของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหากระบวนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของทหาร (4) แนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของทหาร ผลการศึกษาพบว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 แม้ว่ามาตรา 21 กำหนดให้ข้าราชการทหารมีสิทธิร้องทุกข์หากพบว่าถูกลงโทษโดยไม่เป็นธรรม แต่ไม่มีบทบัญญัติที่ให้สิทธิในการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ส่งผลให้ไม่มีช่องทางอุทธรณ์ทำให้ข้าราชการทหารไม่สามารถโต้แย้งคำสั่งลงโทษหรือขอให้มีการพิจารณาใหม่ได้รายการ การหักส่วนความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ศุภกร ศรีคณากุลสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาประวัติความเป็นมาแนวคิดและทฤษฎีของความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่และการหักส่วนความรับผิดของเจ้าหน้าที่โดยพิจารณาตามความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐและระบบการดำเนินงานส่วนรวม โดยเปรียบเทียบกฎหมายไทย กฎหมายต่างประเทศ แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองไทยและศาลต่างประเทศในคดีละเมิดจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายในประเทศไทยนั้นไม่ได้กำหนดความหมายของความร้ายแรงแห่งการกระทำและความเป็นธรรมในแต่ละกรณี และความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐและระบบการดำเนินงานส่วนรวม และหลักเกณฑ์ในการหักส่วนความรับผิดไว้อย่างชัดเจนรายการ ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ชนันนัทธ์ ขาวเผือกสารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาบทบัญญัติเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองนักท่องเที่ยวซึ่งซื้อรายการนำเที่ยวผ่านธุรกิจตัวแทนการเดินทาง เพื่อนำมากำหนดกฎเกณฑ์คุ้มครองนักท่องเที่ยวที่ซื้อรายการนำเที่ยวผ่านธุรกิจตัวแทนการเดินทาง ให้เกิดประโยชน์อย่างประสิทธิภาพสูงสุด และศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของนักท่องเที่ยว โดยการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการนำคดีนักท่องเที่ยวขึ้นสู่ศาล จากการศึกษาวิจัยพบว่า กฎหมายของประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติคุ้มครองนักท่องเที่ยวจากการซื้อรายการนำเที่ยวผ่านธุรกิจตัวแทนการเดินทางซึ่งมีหน้าที่เพียงขายและส่งมอบเงินที่ขายรายการนำเที่ยวให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกง: ศึกษากรณีฉ้อโกงโดยอาศัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อ(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) เพชรพิสุทธิ์ อิ่มเดชาสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายอาญาเกี่ยวกับการกำหนดความผิดทางอาญากรณีกรณีฉ้อโกงโดยอาศัยศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อเพื่อให้ได้ทรัพย์สินจากผู้เสียหาย ซึ่งภายใต้กฎหมายไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ว่าด้วยความผิดฐานฉ้อโกง ยังไม่สามารถนำมาใช้บังคับกับกรณีลักษณะนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการหลอกลวงในลักษณะดังกล่าวเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งไม่ถือเป็นข้อความอันเป็นเท็จตามองค์ประกอบของความผิด ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินคดีเอาผิดกับผู้กระทำความผิดได้ แม้ว่าจะมีเจตนาแสวงหาประโยชน์โดยไม่สุจริตก็ตามรายการ การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) อรจิรา ชาดิษฐ์ในปัจจุบันนี้ บุหรี่ไฟฟ้ากำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เด็กและวัยรุ่น ซึ่งการสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นส่งผลกระทบต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาทและสมอง รวมถึงส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเด็กและทารกในครรภ์ งานวิจัยชิ้นนี้จึงศึกษา เรื่อง การพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในเด็กและเยาวชน โดยมีการศึกษาแนวคิดทฤษฎีของกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า และศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศ อันได้แก่ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล และเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยวิเคราะห์มาตรการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ได้แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล ศึกษากรณี : การจับ การควบคุมฝากขังและการปล่อยตัวชั่วคราว(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) พัฒนพงศ์ จันทวฤทธิ์การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจศาล (Court Marshal) โดยเฉพาะภารกิจในงานด้านการจับกุมบุคคลตามหมายจับของศาล การควบคุมหรือฝากขังบุคคลที่ถูกจับกุมดังกล่าวและการติดตามผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลในกรณีที่ได้รับการปล่อยชั่วคราวแล้วหลบหนีไปย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งมีผลเป็นการจำกัดเสรีภาพทางร่างกายของบุคคลโดยเฉพาะของผู้ที่ถูกจับกุม ดังนั้น เจ้าพนักงานตำรวจศาล จึงต้องกระทำตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้อย่างเคร่งคัด มีวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องและมีความชัดเจน หากไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือมีการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องหรือไม่มีอำนาจในการกระทำ ย่อมต้องส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลภายใต้การรับรองและคุ้มครองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและก่อให้เกิดความเสียหายแก่งานราชการศาลยุติธรรมรายการ การนำมาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญามาใช้ในความผิดฐานแข่งรถในทางตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) วัลภา กิจเจาสารนิพนธ์บับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฏี และความเป็นมาของมาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญา รวมถึงการนำมาตรการดังกล่าวมาปรับใช้กับความผิดฐานแข่งรถในทางตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยศึกามาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ อาทิสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนศึกษาร่างพระราชบัญญัติชะลอการฟ้อง พ.ศ....และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาเป้นแนวทางในการพัฒนากฎหมายไทยรายการ การพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) พงศกร สุขศิริสารนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวกับความผิดฐานทอดทิ้งเด็ก ในแง่มุมของการกำหนดเกณฑ์อายุของผู้เสียหายและผู้กระทำความผิด รวมถึงการกำหนดบทฉกรรจ์ในความผิดฐานดังกล่าวที่ไม่เหมาะสมเพียงพอตามประมวลกฎหมายอาญา โดยศึกษาประกอบกับกฎหมายฉบับอื่น ๆ ของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องและศึกษาถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ปรากฏอยู่ในกฎหมายของประเทศต่าง ๆ อันได้แก่ รัฐเท็กซัสแห่งสหรัฐอเมริกา รัฐแคลิฟอร์เนียแห่งสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และญี่ปุ่น เพื่อให้ทราบถึงแนวทางในการพัฒนากฎหมายไทยให้สามารถคุ้มครองเด็กจากการถูกทอดทิ้งได้ดียิ่งขึ้นรายการ มาตรการในการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ : ศึกษากรณีผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) สายยุทธ์ ยศคำสารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งหมายศึกษาเกี่ยวกับความเป็นมาและวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำกรณีผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ โดยศึกษามาตรการทางกฎหมายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะความผิดต่อชีวิต ร่างกาย ที่มีลักษณะเป็นคดีอุกฉกรรจ์สะเทือนขวัญ คดีมีอัตราโทษสูง เพื่อนำมาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการกระทำความผิดซ้ำ กรณีผู้กระทำความผิดในคดีอุกฉกรรจ์ให้มีความเหมาะสมกับสภาพของสังคมประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพรายการ การชะลอฟ้องในคดีอาญาศึกษากรณีพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ศุภพัฒน์ เสาวไพบูลย์สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาความผิดเกี่ยวกับการเล่นแชร์ โดยการนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้กับผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 การศึกษาครอบคลุมถึงอำนาจของพนักงานอัยการในการสั่งชะลอฟ้อง ประเภทความผิดที่ใช้มาตรการได้ การชำระค่าปรับ การสืบเสาะผู้กระทำความผิด การให้ความยินยอม และการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า มาตรการชะลอฟ้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้อัยการใช้ดุลพินิจในการคัดกรองคดี ลดภาระของศาล และส่งเสริมการฟื้นฟูผู้กระทำผิดโดยไม่ต้องเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคดีเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ได้เปรียบเทียบกับระบบกฎหมายของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา รวมถึงศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรายการ ปัญหาความเป็นอิสระในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ธนพล ขันทองสารนิพนธ์ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาถึงปัญหาความเป็นอิสระในการบริหารจัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นยังประสบปัญหาด้านต่าง ๆ ในการบริหารจัดการและยังไม่มีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการตนเองได้ เช่น ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการกำกับดูแล และด้านการดำเนินนโยบาย เพราะส่วนกลางจะเป็นผู้กำหนดแนวทางในการปฏิบัติให้ท้องถิ่นปฏิบัติตาม ถึงแม้ว่าจะมีการบัญญัติหลักการกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 แต่ก็ปรากฏว่าท้องถิ่นยังไม่มีความเป็นอิสระอยู่ดี เนื่องจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ยังควบคุม กำกับและติดตามอยู่เช่นเดิม ผู้วิจัยจึงประสงค์ศึกษากฎเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับความเป็นอิสระในการปกครองส่วนท้องถิ่นของต่างประเทศ และของประเทศไทยรายการ การพัฒนากฎหมายควบคุมการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) ดำรงพล พวงมาลัยสารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาการพัฒนากฎหมายควบคุมการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายควบคุมการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ กฎหมายเกี่ยวกับกฎหมายควบคุมการทรมาน และการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประเทศไทยและต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการทรมานและการกระทำอื่น ๆ ที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์รายการ การพักการลงโทษผู้สูงอายุโดยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ (EM)(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) วรรธนัย ชูกลิ่นสารนิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาเรื่องการพักการลงโทษผู้สูงอายุโดยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์โดยนำแนวคิดและทฤษฎีมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับหลักกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำหลักการของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทยเนื่องจากในปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการพักการลงโทษผู้สูงอายุโดยการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งนักโทษที่เป็นผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับการพักโทษด้วยวิธีการดังกล่าวเช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรมีหลักในการพักโทษโดยใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ต้องขังสูงอายุ จะทำให้ระบบการพักโทษของไทยมีการพัฒนาให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันเพิ่มมากขึ้น ลดความแออัดในเรือนจำ และผู้ต้องขังกลับคืนไปสู่สังคมครอบครัวและสังคมภายนอกเพื่อใช้ชีวิตอย่างปกติสุขรายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2568) สิรดา ภักดีศิริปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทยเรื่องที่ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ต้องขังหญิง ทั้งนี้ปัญหาหลักของเรื่องนี้ส่วนใหญ่เกิดขึ้นมาจากพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2560 รวมถึงกฎหมายอื่นและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของประเทศไทย รวมถึงการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐที่ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศสำหรับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังหญิง อันได้แก่ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN Declaration of Human Rights) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ (CEDAW Convention) ข้อกำหนดแมนเดลลา (Mandela Rules) ข้อกำหนดโตเกียว (Tokyo Rules) และข้อกำหนดกรุงเทพฯ (Bangkok Rules) ในปัจจุบัน ปัญหามาตรฐานที่ยังไม่ได้มาตรฐานสำหรับการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังหญิงในประเทศไทยยังคงมีแนวโน้มที่จะตกต่ำลงต่อไปและมีผลกระทบในเชิงลบอย่างยาวนานต่อผู้ต้องขังหญิงทุกคนในประเทศไทยรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ภานุพงศ์ นุสติสารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยจะศึกษาความหมาย วิวัฒนาการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศและกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวรายการ ปัญหากฏหมายในการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเหตุรำคาญ ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 ศึกษากรณี พื้นที่เขตเทศบาลเมืองท่าโขลง(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สิรกาญจน์ สุภาทิตสารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับเหตุรำคาญ ความหมายและขอบเขตของเหตุรำคาญ อำนาจหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย และการควบคุมเหตุรำคาญ สถิติเรื่องร้องเรียนร้องทุกข์ กรณีเหตุรำคาญ ภายในเขตเทศบาลเมืองท่าโขลงกระบวนการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ที่กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นฐานเหตุรำคาญ ศึกษาค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ใขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาในความผิดฐานเหตุรำคาญให้มีประสิทธิภาพโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายและหลักการทางกฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และศึกษาและเสนอแนะมาตรการทางกฎหมาย ในการควบคุมเหตุรำคาญ ของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ โดยเป็นการศึกษาวิจัยจากเอกสาร (Documentary research) ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์บทบัญญัติของกฎหมาย ค้นคว้าศึกษาหาความรู้จากตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการค้าประเวณีบนแอปพลิเคชัน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เมธิสรา หนองหารสารนิพนธ์นี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการค้าประเวณีบนแอปพลิเคชัน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี และหลักการเกี่ยวกับการควบคุมการค้าประเวณีบนแอปพลิเคชัน (2) กฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการค้าประเวณีบนแอปพลิเคชันของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการค้าประเวณีบนแอปพลิเคชัน (4) แนวทางแก้ไขเพิ่มเติมปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการค้าประเวณีบนแอปพลิเคชันรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดักฟังและเข้าถึงข้อมูล กรณีศึกษาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) แพรพลอย ชุติคุณากรสารนิพนธ์ฉบับนี้ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดักฟังและเข้าถึงข้อมูล กรณีศึกษา การป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และความจำเป็นของมาตรการดักฟังและเข้าถึงข้อมูลในคดีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อศึกษามาตรการดักฟังและเข้าถึงข้อมูลของกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการดักฟังและเข้าถึงข้อมูล เพื่อนำมาตรการดักฟังและเข้าถึงข้อมูลมาใช้ในคดีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดักฟังและเข้าถึงข้อมูล หรือผู้ที่เปิดเผยข้อมูลที่ได้มาจากการดักฟังและเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ มาปรับใช้ให้ครอบคลุมและชัดเจน โดยกำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำขอดักฟังและเข้าถึงข้อมูล ทั้งในกรณีทั่วไปและกรณีเร่งด่วน การกำหนดระยะเวลาอนุญาตให้ดักฟังและเข้าถึงข้อมูล และการกำหนดฐานความผิดและอัตราโทษเกี่ยวกับการดักฟังและเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ หรือผู้ที่เปิดเผยข้อมูลที่ได้มาจากดักฟังและเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561รายการ ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ณัฐวุฒิ พากเพียรทรัพย์สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัย โดยผู้วิจัยมุ่งเน้นศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น และประเทศอังกฤษ เพื่อนำมาวิเคราะห์ พร้อมเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุงกฎหมายของไทยเกี่ยวกับการทำสัญญาขายฝากที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นรายการ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน : ศึกษากรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน(มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศรัช นิรัญทวีสารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดิน ศึกษากรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และหลักเกณฑ์เกี่ยวหน้าที่และอำนาจของผู้ตรวจการแผ่นดินในกรณีการแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชนของผู้ตรวจการแผ่นดิน (2) กฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจการแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้ตรวจการแผ่นดินของกฎหมายต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาการแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้ตรวจการแผ่นดินในเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน (4) แนวทางแก้ไขปัญหาการแสวงหาข้อเท็จจริงของผู้ตรวจการแผ่นดินในเรื่องที่มีผลกระทบเป็นวงกว้างต่อชุมชน