LAW-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 20 ของ 648
  • รายการ
    ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) อภิสิทธิ์ เสาวลักษณ์
    สารนิพนธ์เรื่องนี้มุ่งศึกษาปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกม (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกม (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกม (4) เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดระดับความเหมาะสมของเกม
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและจัดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกษตรกรรม
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) นครินทร์ สาครนครินทร์
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและจัดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกษตรกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการการขึ้นทะเบียนและจัดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกษตรกรรม (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและจัดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกษตรกรรม (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและจัดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกษตรกรรม (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนและจัดการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นเกษตรกรรม
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดความผิดอาญาของนิติบุคคล: กรณีใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) รื่นฤดี ดำเดิม
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดความผิดอาญาของนิติบุคคลกรณีใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ในการกำหนดหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่จะต้องปฏิบัติเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องข้อบังคับของกฎหมายอย่างเคร่งครัด หากนิติบุคคลที่อยู่ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นผู้ให้บริการบนเครือข่ายสังคมออนไลน์ อาจก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญ หรือความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายในการลงโทษทางอาญาตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • รายการ
    ปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดโทษสำหรับความผิดการรับจ้างเปิดบัญชีม้า ตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เขมจิรา เทศพานิช
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดโทษสำหรับความผิดการรับจ้างเปิดบัญชีม้า ตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความหมาย ประวัติความเป็นมา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดโทษสำหรับความผิดการรับจ้างเปิดบัญชีม้า (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดโทษสำหรับความผิดการรับจ้างเปิดบัญชีม้าของประเทศไทยเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดโทษสำหรับความผิดการรับจ้างเปิดบัญชีม้าตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566 (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการกำหนดโทษสำหรับความผิดการรับจ้างเปิดบัญชีม้า ตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคำจำกัดความและการกำหนดบทลงโทษทนายความ ซึ่งประพฤติผิดมรรยาททนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) เกศกมล โสภณสิริ
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับคำจำกัดความและการกำหนดบทลงโทษทนายความ ซึ่งประพฤติผิดมรรยาททนายความในกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับใช้ในคดีมรรยาททนายความ เนื่องจากพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เป็นกฎหมายที่ใช้ในการควบคุมจรรยาบรรณวิชาชีพและมรรยาททนายความ ยังมิได้มีคำจำกัดความที่ใช้ประกอบดุลพินิจในการพิจารณาของคณะกรรมการมรรยาททนายความ กรณีมีคำสั่งลบชื่อทางทะเบียนทนายความไว้เป็นการเฉพาะ รวมถึงมาตรการลงโทษในคดีมรรยาททนายความยังไม่สามารถยับยั้งการกระทำความผิดได้อย่างแท้จริง
  • รายการ
    การกำหนดความผิดและมาตรการลงโทษฐานลักทรัพย์รถยนต์
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) กมลชนก วรนุชกุล
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความรับผิดและการลงโทษฐานลักทรัพย์ประเภทรถยนต์ ทั้งแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานลักทรัพย์ประเภทรถยนต์ โดยศึกษากฎหมายของประเทศไทย ได้แก่ ความผิดฐานลักทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมทั้งวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศแคนาดา และ สาธารณรัฐตุรกี เพื่อหาแนวทางกำหนดความรับผิดและบทลงโทษที่เหมาะสมฐานลักทรัพย์ประเภทรถยนต์
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระทำในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65 และ มาตรา 66 : ศึกษากรณีโรคซึมเศร้า
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ธณัญชนก สุทธิศักดิ์ไพบูลย์
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าและการไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ของประเทศไทยและต่างประเทศ และปัญหากฎหมายเกี่ยวกับกระทำในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 และ มาตรา 66 กรณีโรคซึมเศร้า เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไข ปรับปรุง ประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
  • รายการ
    ปัญหาการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการค้าประเวณีในประเทศไทย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) สรเดช ทองในเมือง
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหา แนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการค้าประเวณีโดยการโฆษณาบนอินเทอร์เน็ต รวมทั้งศึกษามาตรการกำหนดโทษทางอาญาตามกฎหมายไทย และต่างประเทศ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนากฎหมาย และแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาการใช้ถ้อยคำที่อาจไม่ชัดเจน ขาดความครอบคลุม และอัตราโทษที่ไม่ได้สัดส่วน ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539
  • รายการ
    ปัญหาการพิจารณาคำร้องขอใช้มาตรการในการคุ้มครองพยาน
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) นิธิ แรมวิโรจน์
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการพิจารณาคำร้องขอใช้มาตรการในการคุ้มครองพยาน ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2546 กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขในการยื่น และการพิจารณาคำร้องขอใช้มาตรการพิเศษในการคุ้มครองพยาน พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่าด้วยหลักเกณฑ์การแจ้ง วิธีการให้ความคุ้มครอง และการสิ้นสุดการคุ้มครอง ตามมาตรการทั่วไปแก่พยานในคดีอาญา พ.ศ. 2551 โดยทำการศึกษาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ กฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายต่างประเทศ และกฎหมายไทย ในการพิจารณาคำร้องขอใช้มาตรการคุ้มครองพยานในคดีอาญา
  • รายการ
    ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการสอบปากคำผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และพยาน ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี กรณีการกระทำความผิดโดยใช้แอพพลิเคชั่น
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ชัญญา โชติอัครวุฒิกร
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ ใช้วิธีการศึกษาการวิจัยเชิงคุณภาพและวิเคราะห์ข้อมูล มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสอบปากคำผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และพยาน ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี กรณีการกระทำความผิดโดยใช้แอพพลิเคชั่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 133 ทวิ เกี่ยวกับการกระทำความผิดโดยใช้แอพพลิเคชั่น ของผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และพยาน ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี กระบวนการหลอกให้ลงทุนผ่านแอพพลิเคชั่น ในคดีสินทรัพย์ดิจิทัล และในคดีรับจ้างเปิดบัญชีม้า และศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ส่งผลต่อการสอบปากคำผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และพยาน
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายการคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ : ศึกษากรณีการหลอกลวงทางออนไลน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคล
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) กัณตาชา แดนมะตาม
    สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาปัญหากฎหมายการคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ ศึกษากรณีการหลอกลวงทางออนไลน์เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะการหลอกลวงทางออนไลน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะการหลอกลวงทางออนไลน์ เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคลของต่างประเทศและประเทศไทย วิเคราะห์ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะการหลอกลวงทางออนไลน์เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคลและแนวทางในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองประชาชนจากอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ในลักษณะหลอกลวงทางออนไลน์เพื่อให้ได้ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ณัฐวุฒิ พร้อมสิ้น
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวคิด ทฤษฎี หลักการเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ (2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะของต่างประเทศและประเทศไทย (3) วิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ (4) แนวทางแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
  • รายการ
    ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานฉ้อโกง : ศึกษากรณีการแสดงตนเป็นทนายความ
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) นนท์ปวิธ แก้ววงษา
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกง กรณีการแสดงตนเป็นทนายความ เพื่อนำมาวิเคราะห์เหตุฉกรรจ์ของความผิดฐานฉ้อโกงของประเทศไทย เนื่องจากประมวลกฎหมายอาญาที่ใช้ในการลงโทษผู้กระทำความผิดฐานฉ้อโกง ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงในลักษณะแสดงตนเป็นทนายความประกอบกับพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 มิได้บัญญัติไว้เป็นความผิดเฉพาะเช่นเดียวกัน
  • รายการ
    ปัญหาทางกฎหมายในการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับและควบคุมตัว ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ปาริฉัตร สูงงาม
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาทางกฎหมายในการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับและควบคุมตัว ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ซึ่งจะทำการศึกษา ค้นคว้า เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายในการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับและควบคุมตัวของกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ อีกทั้ง วิเคราะห์เปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศกับกฎหมายไทยเพื่อแก้ไขปรับปรุงปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรการในการบันทึกภาพและเสียงในขณะจับและควบคุมตัวเพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
  • รายการ
    การพัฒนากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน ศึกษากรณี : การยกระดับอายุขั้นต่ำในการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ดมิสา ลิ้มไทย
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงาน กรณีการยกระดับอายุขั้นต่ำในการจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นเด็ก โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการคุ้มครองแรงงานเด็กตามสิทธิเด็กระหว่างประเทศ มาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศ รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและแผนปฏิบัติการด้านการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับการคุ้มครองแรงงานเด็กของประเทศไทยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎหมายต่างประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา ศรีลังกา และแคนนาดา เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายคุ้มครองแรงงานของประเทศไทย
  • รายการ
    ปัญหาการบังคับใช้โทษอาญาของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 : ศึกษากรณีการดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จตามมาตรา 107
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ปวริศ วิสุทธิ
    ปัญหากฎหมายอาญาเฟ้อเป็นปัญหาสำคัญต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยโดยคดีส่วนมากที่ขึ้นสู่ศาลเป็นคดีความผิดที่กระทำต่อกฎหมายที่มีบทลงโทษทางอาญาซึ่งเป็นความผิดเพราะกฎหมายบัญญัติ (mala prohibita) ทำให้รัฐต้องสูญเสียทรัพยากรในด้านบุคลากรและงบประมาณไปกับการดำเนินคดีประเภทนี้อย่างมาก และเมื่อปริมาณคดีอาญาจำนวนมากเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา จึงส่งผลให้เกิดความล่าช้าและเกิดปัญหานักโทษล้นคุกตามมา
  • รายการ
    ปัญหาในการคุ้มครองสิทธิผู้ซื้อในการซื้อขายรถยนต์ใหม่
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2557) ธนดล ถนอมนิรชรชัย
    ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างผู้บริโภคผู้ซื้อรถยนต์ไหม่กับบริษัทผู้ขายรถยนต์ไหม่นั้น มีสาเหตุเกิดจากการไม่พยายามทำความเข้าใจกันเองของทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย และต่างก็ยึดถือข้อได้เปรียบเสียเปรียบของบทบัญญัติของกฎหมายที่มีใช้อยู่ ซึ่งตามระบบการค้าเสรีทำให้ผู้ซื้อและผู้ขายต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเสรีภาพในการที่จะทำสัญญาซื้อขายได้อย่างคล่องตัว โดยอยู่ภายใต้หลักเสรีภาพของการแสดงเจตนา ดังนั้นในสารนิพนธ์นี้จะวิเคราะห์เกี่ยวกับสิทธิตามกฎหมายของผู้ซื้อรถยนต์ที่ชำรุดบกพร่อง ดังนี้ 1) สิทธิปฏิเสธการรับชำระหนี้ 2) สิทธิปฏิเสธการชำระราคา 3) สิทธิเรียกให้ผู้ขายซ่อมแซม 4) สิทธิเรียกให้ผู้ขายส่งมอบทรัพย์ใหม่ 5) สิทธิเรียกค่าเสียหาย 6) สิทธิเรียกราคาคืนหรือสิทธิเลิกสัญญา
  • รายการ
    การนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้ในพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) อภิสรา พูลเกษม
    สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทบัญญัติของกฎหมายให้มีมาตรการชะลอฟ้องมาใช้กับพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ให้สามารถนำมาตรการชะลอฟ้องมาใช้บังคับกับผู้ที่กระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนคดีออกจากกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก โดยศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ของการชะลอฟ้องรวมถึงศึกษากฎหมายของประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันนี สหรัฐอเมริกา และประเทศญี่ปุ่นในเรื่องของการชะลอฟ้อง รวมทั้งศึกษาพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 และแนวคิดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย
  • รายการ
    การพัฒนามาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญา มาใช้ในพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 ศึกษากรณีความผิดฐานบุกรุกแผ้วถางป่า
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ฐานิตา ดุจดำเกิง
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการชะลอฟ้องในคดีอาญา เพื่อนำมาปรับใช้กับการกระทำความผิดฐานบุกรุกแผ้วถางป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 โดยศึกษาถึงแนวคิด หลักการและวิธีการเกี่ยวกับการชะลอฟ้องของประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบกฎหมายเกี่ยวกับมาตราการการชะลอฟ้องมาใช้กับความผิดฐานบุกรุกแผ้วถางป่าและยึดถือครอบครองทำประโยชน์ของประเทศไทยกับต่างประเทศ ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อเป็นแนวทางในการนำการชะลอฟ้องมาใช้กับการกระทำความผิดในคดีฐานบุกรุกแผ้วถางป่าและยึดถือครอบครองทำประโยชน์
  • รายการ
    ปัญหาการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่ออนุวัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 (พ.ศ. 2546)
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2567) ศิรินทิพย์ แสงมิ่ง
    สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน การเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศที่เกี่ยวข้อง และศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน การศึกษานี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาเอกสารของประเทศไทยและต่างประเทศ คำตอบที่ได้จากการศึกษาจะนำไปสู่ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่ออนุวัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003