S_RES-06. ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 1 ของ 1
  • รายการ
    การปลูกฝังกรอบความคิดเรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้กับนักศึกษาปริญญาตรีโดยใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2559-10) สุบิน ยุระรัช
    การวิจัยเรื่องนี้ออกแบบโดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับของการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี (2) เพื่อวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษาปริญญาตรี และ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางการปลูกฝังกรอบความคิดเรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้กับนักศึกษาปริญญาตรี การวิจัยเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์เส้นทาง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลภาคสนาม ตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 390 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยในการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจำนวน 6 คน เครื่องมือวิจัยมี 3 ฉบับ ได้แก่ (1) แบบสอบถาม (2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และ (3) แบบบันทึกภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า (1) นักศึกษาปริญญาตรีมีการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ในระดับมาก (2) ความมุ่งมั่นมีอิทธิพลทางตรงต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลเท่ากับ 0.95 การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่นโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธพลเท่ากับ 0.28 และมีอิทธิพลทางตรงต่อเจตคติต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลเท่ากับ 0.30 การรับรู้ผลของพฤติกรรมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยส่งผ่านตัวแปรความมุ่งมั่นในการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิตโดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิผลเท่ากับ 0.29 ส่วนความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่มีอิทธิพลต่อการใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำเนินชีวิต และ (3) แนวทางการปลูกฝังกรอบความคิด เรื่อง “ความรู้คู่คุณธรรม” มีลักษณะเป็นกระบวนการแบบขั้นบันได 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การอบรมบ่มเพาะ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างการรับรู้ ขั้นตอนที่ 3 การฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนที่ 4 การถอดบทเรียน และขั้นตอนที่ 5 การเกิดองค์ความรู้และองค์ความคิด (ความรู้คู่คุณธรรม)