Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3173
Title: สภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
Other Titles: The state and problems for education quality assurance in private vocational schools under the responsibility of Bangkok education service area office 2
Authors: รุ่งทิวา โจ๊กทำ
Keywords: การประกันคุณภาพการศึกษา
โรงเรียนอาชีวศึกษา
ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
Issue Date: 2551
Publisher: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2ตามโครงสร้างระบบการประกันคุณภาพการศึกษา 6 ด้าน และเปรียบเทียบสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามขนาดของสถานศึกษา ระยะเวลาก่อตั้ง และผลการประเมิณคุณภาพภายนอก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ขนาดใหญ่พิเศษ จำนวน 3 แห่ง รวม 64 คน ขนาดใหญ่จำนวน 4 แห่ง รวม 53 คน และขนาดกลางจำนวน 20 แห่ง รวม 196 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 313 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 43 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยวิธีการหาความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.67 – 1.00 และการหาค่าความเที่ยงโดยค่าแอลฟ่าตามวิธีของครอนบาคเท่ากับ 0.984 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ t-test และ F-test และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ (1) ผู้บริหารและครูผู้สอนโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับน้อย (2) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาตามขนาดสถานศึกษาพบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าฝดรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษ ส่วนปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดใหญ่พิเศษมีปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนขนาดกลางและขนาดใหญ่ (3) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของกลุ่มตัวอย่างตามระยะเวลาการก่อตั้ง พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งน้อยกว่า 15 ปี มีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งสถาบันตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ส่วนด้านปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา พบว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งมากกว่า 15 ปี มีปัญหาการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระยะเวลาการก่อตั้งน้อยกว่า 15 ปี (4) เมื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนที่มีระดับผลประเมินภายนอกจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) อยู่ในระดับดีมากมีการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาที่มีระดับผลประเมินคุณภาพภายนอกอยู่ในระดับพอใช้และดี นอกจากนี้พบว่า โรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระดับผลประเมินภายนอกจาก สมศ. อยู่ในระดับพอใช้มีปัญหาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มากกว่าโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนที่มีระดับผลประเมินภายนอกอยู่ในระดับดี และดีมาก ผลการศึกษามีข้อเสนอแนะ คือ จากการวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาเฉพาะโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ดังนั้นในการทำวิจัยในครั้งต่อไปควรทำการวิจัยโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาข้อมูลที่มีผลทำให้โรงเรียนอาชีวศึกษาประสบความสำเร็จในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และควรศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3173
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
รุ่งทิวา โจ๊กทำ.pdfFull text7.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.