กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3574
ชื่อเรื่อง: ปัญหากฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 : ศึกษากรณีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: LEGAL ISSUES RELATING TO ENFORCEMENT OF ESCROW ACT OF B.E. 2551 : STUDY ON THE CASE OF RESIDENTIAL REAL ESTATE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิโย คงหิรัญ
คำสำคัญ: การดูแลผลประโยชน์
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
วันที่เผยแพร่: 2555
แหล่งอ้างอิง: ปิโย คงหิรัญ. 2553. "ปัญหากฎหมายในการบังคับใช้พระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ.2551 : ศึกษากรณีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
บทคัดย่อ: สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการนำพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้กับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยอันจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องเงินดาวน์ที่ผู้ซื้อจะต้องชำระให้แก่ผู้ขาย ซึ่งโดยปกติผู้ขายจะนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาโครงการ แต่เนื่องจากไม่มีการจำกัดอำนาจการใช้เงินจำนวนดังกล่าว เมื่อผู้ขายนำเงินไปใช้ผิดประเภท เป็นเหตุให้โครงการของผู้ขายประสบความล้มเหลว ส่งผลให้ผู้ซื้อต้องสูญเสียเงินดาวน์ไปและก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 มาตรการทางกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ โดยเป็นการช่วยเยียวยาหลังจากเกิดความเสียหายแล้วไม่ใช่ในเชิงป้องกัน โดยที่ผู้ดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาซึ่งได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551จะให้ความคุ้มครองผู้ซื้อในการได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญา หรือหากผู้ขายไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ซื้อได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินที่จ่ายชำระไปแล้วคืน นอกจากนี้ ยังสามารถป้องกันผู้ประกอบการหรือผู้ขายนำเงินดาวน์ไปใช้ผิดประเภท อีกทั้งเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่ดำเนินกิจการโดยสุจริตทั้งรายใหญ่และรายย่อยอีกด้วย เนื่องจากการที่ผู้ขายนำพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญาพ.ศ. 2551 มาใช้ในการดำเนินกิจการ จะเป็นการแสดงถึงความตั้งใจของผู้ขายที่จะปฏิบัติตามสัญญา ทำให้ผู้ซื้อเกิดความเชื่อมั่นในการเข้าทำสัญญากับผู้ขาย ส่งผลให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการพัฒนามากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามได้มีการนำหลักการของระบบเอสโครว์ (Escrow) จากต่างประเทศมาใช้ในการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ การที่จะได้รับประโยชน์และสามารถนำพระราชบัญญัติการดูแลผลประโยชน์ของคู่สัญญา พ.ศ. 2551 มาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นจำเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติฉบับนี้เพื่อที่จะสามารถนำมาใช้ได้จริง เนื่องจากระบบกฎหมาย สภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย มีความแตกต่างจากต่างประเทศ เพื่อให้สามารถคุ้มครองทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3574
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GRA-11. การค้นคว้าอิสระ/สารนิพนธ์

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
บทคัดย่อ.pdf72.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
ปกไทย.pdf47.34 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น

เครื่องมือสำหรับผู้ดูแลระบบ