กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3806
ชื่อเรื่อง: การศึกษาทั่วไป เพื่อการสร้างสรรค์ความเป็นไทย ในศตวรรษที่ ๒๑ : กระบวนทัศน์ในพุทธสาส์นว่าด้วยสารัตถแห่งจินตนโกศล(ปรีชาญาณเชิงความคิด)ทฤษฎีการสร้างทักษะความคิดแบบโยนิโสมนสิการ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณกมล ปุญชเขตต์ทิกุล
คำสำคัญ: การสร้างสรรค์ความเป็นไทย
โยนิโสมนสิการ
วันที่เผยแพร่: 8-สิงหาคม-2555
บทคัดย่อ: การสร้างทักษะความคิด ตามแนวพุทธธรรมด้วยกระบวนทัศน์แบบโยนิโสมนสิการ ตั้งอยู่บนฐานของความจริงที่ว่าสภาวะจิตใจของมนุษย์ มีส่วนสัมพันธ์ต่อการแสดงออกด้านพฤติกรรมมนุษย์ทั้งในด้านกายกรรม วจีกรรมและมโนกรรม หมายความว่าหากจิตใจมีการอบรม ฝึกฝนและสร้างทักษะให้เกิดวิธีคิดอย่างถูกต้องดีแล้วก็จะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เกิดดุลยภาพของพฤติกรรมนั้นได้ ตามนัยพุทธธรรมเรียกว่ากระบวนการนี้ว่าวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ คือการคิดไตร่ตรองอย่างแยบคาย การคิดเชิงวิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ มี ๑๐ ขั้น ผู้ฝึกฝนอบรมความคิดด้วยวิธีนี้อย่างครบถ้วน สามารถพัฒนาตนไปสู่ความเป็นคนเก่ง คนดี และมีความสุขได้จัดเป็นกระบวนการขัดเกลาทางพุทธศาสนาเรียกว่าไตรสิกขา คือสีลสิกขา ศึกษาให้เป็นคนดี สมาธิสิกขา ศึกษาให้มีความสุข จิตใจมั่นคง เบิกบานและปัญญาสิกขา ศึกษาให้เป็นคนเก่ง มีความเชี่ยวชาญ มีสติปัญญา มีความคิดถูกต้องดีงาม หากพิจารณาตามหลักสัมพันธภาพแล้ว วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ มีความสัมพันธ์กับกระบวนการที่เรียกว่าไตรสิกขาและอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ซึ่งอำนวยผลคือจะทำให้เป็นคนคิดกว้าง มองไกล ใฝ่สูง(หมายถึงใฝ่คุณธรรม) เป็นกระบวนการที่สอดคล้องเกี่ยวเนื่อง ถักทอ และเชื่อมต่อกันตลอดสาย
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3806
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:GEN-05. บทความที่ประชุมวิชาการ (ระดับชาติ)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Chulalongkron.doc87.5 kBMicrosoft Wordดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น