Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3927
Title: ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการพิจารณาความผิดและการกำหนดโทษทางวินัยข้าราชการครู: ศึกษากรณีกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
Authors: พุฒิพร อุ่นเจริญ
Keywords: โทษทางวินัย
ข้าราชการครู
วินัย
ความผิด
Issue Date: 23-August-2555
Abstract: วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาความผิด และการ กำหนดโทษทางวินัยอันเป็นเหตุเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง และประวัติ ความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของความผิด และการกำหนดโทษทางวินัย รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวกับการ พิจารณาความผิด และการกำหนดโทษทางวินัยอันเป็นเหตุเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง เพื่อ นำมาวิเคราะห์ปัญหาการพิจารณาความผิด และการกำหนดโทษทางวินัยอันเป็นเหตุเสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง จนได้บทสรุปและข้อเสนอแนะมาใช้ในการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่ เกี่ยวกับการพิจารณาความผิด และการกำหนดโทษทางวินัยอันเป็นเหตุเสียหายแก่ราชการอย่าง ร้ายแรงต่อไป ในการศึกษานี้จะศึกษาความผิดทางวินัย 3 ฐานความผิดด้วยกัน ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ซึ่งได้แก่ ความผิดฐานจงใจไม่ปฏิบัติ ตามกฎหมายระเบียบแบบแผนของทางราชการ และหน่วยงานการศึกษา มติคณะรัฐมนตรีหรือ นโยบายรัฐบาล ประมาทเลินเล่อ หรือขาดการเอาใจใส่ระมัดระวังรักษาประโยชน์ของทางราชการ ความผิดฐานขัดคำสั่งหรือหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการ โดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบของทางราชการ ความผิดฐานละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร รวมทั้งความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการครู อันเป็นเหตุให้เสียหาย แก่ราชการอย่างร้ายแรง ผลการศึกษาพบว่าคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำเขต พื้นที่การศึกษา หรือคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษามีอำนาจผู้ใช้ดุลพินิจ กรณีความผิดวินัยจนทำให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงทั้งสอบสวน และอุทธรณ์ ส่วนองค์ประกอบความผิด ความผิดอย่างเดียวกันก็อาจแตกต่างกันในลักษณะพฤติการณ์ หรือเหตุผลซึ่ง อาจใช้ดุลพินิจวางโทษหนักเบาแตกต่างกันตามควรแก่กรณีได้ ได้แก่ ลักษณะของการกระทำผิด ผล แห่งการกระทำผิด การรู้หรือไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เหตุเบื้องหลังการกระทำผิด และ สภาพของผู้กระทำผิด การกำหนดโทษให้เหมาะสมกับกรณีความผิดโดยพิจารณาจากคุณสมบัติ หรือลักษณะของความผิดประเภทของความเสียหาย ผู้กระทำผิดจะถูกลงโทษสถานหนักถึงขั้นไล่ ออกหรือปลดออกจากราชการ ได้แก่ จะต้องพิจารณาพฤติการณ์ประกอบกับเจตนาของผู้กระทำผิด เป็นเรื่อง ๆ ไป มูลค่าแห่งความเสียหายสามารถคำนวณเป็นราคา กฎหมายมิได้กำหนดไว้โดย แน่นอน และดุลพินิจเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของข้าราชการครูอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ ราชการอย่างร้ายแรง การปล่อยให้ความรับผิดชอบทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่ปฏิบัติงานใน หน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ จึงเป็นการไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเจ้าหน้าที่จะต้องรับผิดในการกระทำ ต่าง ๆ เป็นการเฉพาะตัวเสมอไป เมื่อการที่ทำไปทำให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดต่อบุคคลภาย นอกเพียงใดก็จะมีการฟ้องไล่เบี้ยเอาจากเจ้าหน้าที่เต็มจำนวนนั้น ข้อเสนอแนะการใช้ดุลพินิจ อาจไม่ต้องแต่งตั้งกรรมการสอบสวน กรณีที่มีเหตุความ เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรงแต่ไม่ถึงที่สุด ควรที่จะกำหนดเป็นความผิดวินัยในระดับมากทั้ง ลักษณะของการกระทำผิด ผลแห่งการกระทำผิด การรู้หรือไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด เหตุ เบื้องหลังการกระทำผิด และสภาพของผู้กระทำผิดไว้ให้ชัดเจนการกำหนดโทษให้เหมาะสมกับ กรณีความผิด และควรจะกำหนดโทษให้ไล่ออก และปลดออกหรือไล่ออก ในกรณีที่มีเจตนาที่จะ ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น หรือหลีกเลี่ยง ไม่ทำตามคำสั่ง เจตนาการละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ความผิดประเภทของความเสียหายเกี่ยวกับประมาทเลินเล่อ ควรจะ กำหนดโทษที่ทางราชการจะได้รับที่สามารถคำนวณเป็นราคาได้ และความรับผิดทางละเมิดให้ แบ่งแยกความรับผิดชอบของแต่ละคนมิให้นำหลักลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมและเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของรัฐ
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3927
Appears in Collections:S_CHO-09. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
1title.pdf52.9 kBAdobe PDFView/Open
2abstract.pdf107.85 kBAdobe PDFView/Open
3acknow.pdf52.62 kBAdobe PDFView/Open
4content.pdf87.8 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf179.57 kBAdobe PDFView/Open
6chap2.pdf569.23 kBAdobe PDFView/Open
7chap3.pdf454.46 kBAdobe PDFView/Open
8chap4.pdf395.47 kBAdobe PDFView/Open
9chap5.pdf127.27 kBAdobe PDFView/Open
10bib.pdf127.72 kBAdobe PDFView/Open
11profile.pdf54.14 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.