ความคิดทางจริยศาตร์และการประยุกต์ใช้กับการศึกษาไทย ในทรรศนะของพระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตุโต)

เชิงนามธรรม

ผลการวิจัยพบว่า จริยศาสตร์ในทรรศนะของพระธรรมปิฎกมีความหมายและขอบเขตกว้างกว่าจริยศาสตร์ตะวันตกที่จำกัดขอบเตเฉพาะการประพฤติที่ดีงามภายนอก คือ การอยู่ร่วมกันด้วยดีในสังคมและธรรมชาติแวดล้อม ซึ่งตรงกับคำว่า ศลีธรรมหรือธรรมะระดับศลีในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ในขณะที่จริยศาสตร์ตามแนวคิดของพระธรรมปิฎกซึ่งมีแหล่งที่มาจากพระพุทธศาสนาเถรวาท มีลักษณะเป็นระบบความสัมพันธ์ในองค์รวมที่ส่งผลสัมพันธ์กันซึ่งเรียกว่า “จริยศาสตร์ทางสายกลาง” หรือ “จริยศาสตร์แบบองค์รวม” ที่ครอบคลุมและบูรณาการหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามของมนุษย์ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านพฤติกรรม (ศลี) จิตใจ (สมาธิ) และปัญญา (ปัญญา) โดยเชื่อมโยงและประสานองค์ประกอบแห่งระบบบูรณาการทั้ง สามคือ มนุษย์ ธรรมชาติ และสังคมเข้าด้วยกัน เพื่อเข้าถึงความจริง ความดีงามและความสุข...

คำอธิบาย

คำหลัก

จริยศาสตร์, พระธรรมปิฎก

การอ้างอิง

ธนภณ สมหวัง. 2555. "ความคิดทางจริยศาตร์และการประยุกต์ใช้กับการศึกษาไทย ในทรรศนะของพระธรรมปิฎก(ประยุทธ์ ปยุตุโต)." ผลงานวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

คอลเลคชัน