Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4428
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorภาสกร ชัยรุ่งโรจน์สกุลen_US
dc.date.accessioned2556-10-16T02:12:38Z-
dc.date.available2556-10-16T02:12:38Z-
dc.date.issued2556-10-16T02:12:38Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4428-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 รวมทั้งระเบียบและกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำ ให้ทราบถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของนิติบุคคลตามกฎหมาย เนื่องจากนิติบุคคล หมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้น ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย การจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพราะติดในเรื่องของกฎหมายที่ไม่ได้บัญญัติรองรับให้ ดำเนินการได้ตามความต้องการที่แท้จริง ทำให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรที่ตั้งขึ้นมีจำนวนน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนโครงการหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ เพราะการบัญญัติอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมายของนิติบุคคลหมู่บ้านไม่ได้รับความสนใจให้ผู้ซื้อที่ดินต้องการจัดตั้ง ประกอบกับผู้ ซื้อบ้านจัดสรรไม่ยอมรับหรือไม่เต็มใจในเรื่องของการที่จะต้องรับภาระการจ่ายค่าบำรุงหมู่บ้าน ให้กับนิติบุคคลหมู่บ้าน เพื่อนำไปปรับปรุงและพัฒนาสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้าน เนื่องจาก อาจจะมีความสงสัยในการดำเนินการของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านที่ตนได้เลือกไป ดำเนินการบริหารหมู่บ้าน หรือไม่มั่นใจในกฎหมายที่ควบคุมอยู่ เพราะพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 ไม่ได้บัญญัติอำนาจหน้าที่และการควบคุมกำกับดูแลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ นิติบุคคลหมู่บ้านให้ชัดเจนและเข้าใจได้ดี พอที่จะไว้วางใจในการมอบอำนาจทั้งหลายทั้งปวงให้ กำกับดูแลแทน หากมีกฎหมายเพิ่มเติมหรือบัญญัติให้ชัดเจน เพียงพอ การที่ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรจะ ตัดสินใจรวมตัวกัน เพื่อจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรและเลือกตัวแทนไปบริหารชุมชนภายใน หมู่บ้าน เพื่อประโยชน์ของตนเองและทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาจนทำให้หมู่บ้านมี มูลค่าทางทรัพย์สินต่อไปนั้นมีส่วนมาก เพราะแต่ละชุมชนจะทราบถึงความต้องการหรือปัญหาภายในชุมชนได้ดีกว่าผู้อื่น และเป็นการส่งเสริมการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แห่งประเทศไทย เป็นการเรียนรู้ถึงหลักการบริหารจากกลุ่มเล็กๆ ไปจนถึงระดับประเทศ และลด ภาระหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่จะต้องมาดำเนินการแก้ไขปัญหาให้กับแต่ละหมู่บ้าน จึงเป็น เจตนารมณ์ของรัฐที่จะให้มีแนวทางในการบริหารชุมชนกันเอง ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรจะมีการปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายและ ระเบียบ ให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจและหน้าที่ในการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการหมู่บ้านได้ มากกว่าเดิม โดยปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบให้นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรมีอำนาจและหน้าที่ได้ มากกว่าเดิม และกำหนดอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจนเพื่อประโยชน์ในการบริหารหมู่บ้านได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และมีสภาพคล่องทำให้ผู้ซื้อที่ดินจัดสรรหรือผู้อาศัยเห็นถึงความสำคัญในการจัดตั้ง นิติบุคคลหมู่บ้านขึ้นมาบริหารงานแทนตนเองแบบบูรณาการ ควรปรับปรุงกฎหมายให้นิติบุคคล หมู่บ้านสามารถดำเนินการจัดหาผลประโยชน์ได้จากการให้บริการสาธารณะ หรือบริหาร สาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับงบประมาณของหมู่บ้านให้มีงบประมาณในการปรับปรุง ซ่อมแซมสาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านได้ โดยไม่ต้องพึ่งหน่วยงานภาครัฐ และสมาชิกของหมู่บ้าน และกำหนดในกฎหมายให้มีการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้าน ใน การดำเนินการแสวงหาผลประโยชน์ให้ชัดเจน รัดกุม เพื่อความสุจริตตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และกำหนดให้มีสภาพบังคับหรือบทลงโทษแก่คณะกรรมการหมู่บ้านที่กระทำการทุจริต หรือ กระทำความเสียหายแก่สมาชิกหรือนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร อีกทั้งควรกำหนดตำแหน่ง คณะกรรมการหมู่บ้านให้มี คณะกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารเข้ามาเป็น กรรมการที่ปรึกษา ได้แก่ หน่วยงานฝ่ายปกครองหรือท้องถิ่น กรมที่ดิน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เพื่อให้ คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาและตรวจสอบการทำงานของคณะกรรมการนิติบุคคลหมู่บ้านไว้อย่างมี ประสิทธิภาพต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectการจัดสรรที่ดินen_US
dc.subjectนิติบุคคลen_US
dc.subjectหมู่บ้านจัดสรรen_US
dc.titleปัญหากฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน: ศึกษากรณีอำนาจและหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
14profile.pdf53.34 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf140.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.