Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4446
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorบุษบา ประชาฉายen_US
dc.date.accessioned2556-10-21T03:49:32Z-
dc.date.available2556-10-21T03:49:32Z-
dc.date.issued2556-10-21T03:49:32Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4446-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractประมวลกฎหมายที่ดินได้กำ หนดหลักการในการขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกไว้ 2 กรณี คือ กรณีทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกยื่นคำขอจด ทะเบียนโอนมรดกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยตรง ตามมาตรา 81 และกรณีผู้จัดการมรดกยื่นคำขอจด ทะเบียนโอนมรดกให้แก่ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ตามมาตรา 82 ในทางปฏิบัติการขอจดทะเบียน โดยทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ตามมาตรา 81 เป็นปัญหากับพนักงานเจ้าหน้าที่และทายาทผู้มีสิทธิรับ มรดกไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมของเจ้ามรดก เนื่องจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ สิทธิในการรับมรดกที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้จากพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ทายาทผู้ยื่นคำขอจด ทะเบียนโอนมรดกนำมาแสดงนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงทำให้การจดทะเบียนฯ คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย จากการศึกษาปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก พบว่ามีปัญหาหลายประการ ได้แก่ ปัญหาทายาทผู้ขอจด ทะเบียนแจ้งเท็จเกี่ยวกับสิทธิในการรับมรดก ปัญหาจากสาระสำคัญของการจดทะเบียนสิทธิ เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกที่ทำให้การจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหา เนื่องจากเจ้าหน้าที่ขาดความรู้และความเข้าใจ ปัญหาการให้ความคุ้มครองพนักงานเจ้าหน้าที่ ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกหรือบุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหาย และปัญหา เกี่ยวกับการแจ้งเท็จปิดบังทายาทอื่นไม่เป็นเหตุให้ทายาทนั้นเสียสิทธิในมรดก ซึ่งจากปัญหาต่างๆ ส่งผลให้การจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกไปโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือกล่าวโดยสรุปได้ว่า ปัญหาการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก มีสาเหตุอันเนื่องมาจากบุคคลผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนฯ นั่นเอง ดังนั้น ผู้เขียนจึงเสนอให้ยกเลิกการยื่นคำขอจดทะเบียนโอนมรดกต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยตรงของทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก ตามบทบัญญัติมาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน และ แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติมาตรา 82 โดยกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้จัดการมรดกโดยคำสั่งศาล เท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดก เพื่อ แก้ไขปัญหาการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกไปโดยคลาดเคลื่อน หรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิในการรับมรดกที่พนักงาน เจ้าหน้าที่ได้จากพยานหลักฐานต่างๆ ตามที่ทายาทผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนนำมาแสดงนั้นไม่ถูกต้อง อีกต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectการจดทะเบียนสิทธิen_US
dc.subjectอสังหาริมทรัพย์en_US
dc.subjectมรดกen_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ซึ่งได้มาโดยทางมรดกen_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
12profile.pdf54.32 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf134.99 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.