Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4451
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุรเชษฐ์ แก้วคำen_US
dc.date.accessioned2556-10-21T04:18:09Z-
dc.date.available2556-10-21T04:18:09Z-
dc.date.issued2556-10-21T04:18:09Z-
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4451-
dc.descriptionนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีen_US
dc.description.abstractมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496 ที่บัญญัติมิให้มีการใช้กฎหมายว่าด้วย ลักษณะปกครองท้องที่ในส่วนที่บัญญัติถึงการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและให้บรรดาบุคคลที่เป็น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ้นจากตำแหน่งหน้าที่เฉพาะในเขตเทศบาลเมือง ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ได้มี การประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะท้องถิ่นใดเป็นเทศบาลเมืองเป็นเหตุให้ไม่มีบุคคลากรของ ฝ่ายปกครองในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 จึงเท่ากับเป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พระพุทธศักราช 2457 ไปโดยปริยาย ทำให้การรักษาความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน การอำนวยความเป็นธรรม การบำบัดทุกข์ บำรุงสุข แก่ประชาชนขาดประสิทธิภาพเป็นผลให้เกิดปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมา เช่น ปัญหาการประทุษร้าย ต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน ปัญหาแพร่ระบาดของยาเสพติด ประชาชน ในหมู่บ้าน/ชุมชนไม่มีคนกลางในการประสานหรืออำนวยความสะดวกในการติดต่อหรือรับบริการ กับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่มีการประชุมราษฎรเพื่อ ชี้แจงกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ เมื่อมิให้มีการแต่งตั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้านจึงไม่มี คณะกรรมการหมู่บ้านที่จะปฏิบัติหน้าที่ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในหมู่บ้าน เมื่อเกิดปัญหาข้อพิพาท ขึ้นในหมู่บ้าน/ชุมชน จึงไม่มีคณะผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทนั้นให้ยุติลงในชั้นหมู่บ้าน/ชุมชน ส่งผลให้มี คดีความมาสู่ศาลมากขึ้น สิ้นเปลืองงบประมาณทั้งของคู่ความและของราชการและการยกเว้นไม่ให้ มีกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลเมืองนั้น ยังส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะ ราชการส่วนภูมิภาคระดับ จังหวัด อำเภอ ขาดประสิทธิภาพ เนื่องจากกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ช่วยเหลือนายอำเภอในการนำนโยบายข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี มติคณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ไปปฏิบัติให้บรรลุผลทั่วทุกตำบล หมู่บ้าน จากการศึกษาพบว่ากำนัน และผู้ใหญ่บ้าน มีอำนาจและหน้าที่เน้นหนักไปในเรื่องการ รักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความเป็นธรรมให้แก่ราษฎร การไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อ พิพาท การเป็นคนกลางประสานงานระหว่างราษฎรและส่วนราชการต่าง ๆ ส่วนเทศบาลเมืองจะมี อำนาจหน้าที่เน้นหนักไปในด้านการจัดทำบริการสาธารณะ การบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ จัดให้มี ไฟฟ้า ประปา สาธารณูปโภค สาธารณูปการต่างๆ จึงไม่ได้มีความซ้ำซ้อนกับอำนาจและหน้าที่ ของ กำนันและผู้ใหญ่บ้านแต่อย่างใด จากการศึกษาดังกล่าวผู้ศึกษาเห็นว่าในด้านการปกครองและการรักษาความสงบเรียบร้อย ในตำบล หมู่บ้านนั้น ทางราชการจำเป็นต้องอาศัยกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ช่วยเป็นหูเป็นตาให้แก่ เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองอยู่เช่นเดิม เช่น การป้องกันและปราบปรามยาเสพติด การเป็นแหล่งข่าว ให้กับทางราชการ ทั้งนี้เนื่องจากกำนัน และผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ที่อยู่ในพื้นที่และมีความใกล้ชิดกับ ราษฎรมากกว่าราชการ มีข้อมูลปัญหาความต้องการต่าง ๆ ของประชาชนเป็นอย่างดี จึงสมควรให้มี การแก้ไขกฎหมายให้มีการแต่งตั้งกำนันและผู้ใหญ่บ้านให้ครบทุกหมู่บ้านเช่นเดิม แม้ว่าจะมีการ ยกระดับฐานะท้องถิ่นใดให้เป็นเทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครก็ตามen_US
dc.description.sponsorshipมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.language.isootheren_US
dc.subjectอำนาจหน้าที่en_US
dc.subjectกำนันen_US
dc.subjectผู้ใหญ่บ้านen_US
dc.subjectพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496en_US
dc.titleปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาลเมือง: ศึกษากรณีตามมาตรา 4แห่งพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ.2496en_US
dc.typeThesisen_US
Appears in Collections:วิทยานิพนธ์ปริญญาโท

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
11profile.pdf43.28 kBAdobe PDFView/Open
5chap1.pdf120.39 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.