กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4514
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วัชรินทร์ สุทธิศัย
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
การนำนโยบายไปปฏิบัติ
วันที่เผยแพร่: 26-พฤศจิกายน-2557
แหล่งอ้างอิง: วัชรินทร์ สุทธิศัย. 2557. "ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ วิทยาคารพญาไท.
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัตถุประสงค์ 3ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะปรับปรุงพัฒนาในการนำนโยบายไปปฏิบัติด้านต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จานวน 30 คน เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และบุคลากรสายวิชาการหรือผู้สอนมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบุคลากรสายปฏิบัติงานหรือสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 308 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสาหรับวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถอดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยจะใช้วิธีการพรรณนา และอธิบายผล ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยภายในที่มีผลต่อความสำเร็จในการนานโยบายไปปฏิบัติในระดับค่อนข้างมาก 2 ปัจจัย คือ ด้านความชัดเจนในวัตถุประสงค์ของนโยบาย และด้านการติดตามการดำเนินงาน ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 7 ปัจจัย คือ ด้านการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ด้านการเผยแพร่ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ ด้านภาวะผู้นำ ด้านการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านการประสานงานและการติดต่อสื่อสาร และด้านสมรรถนะขององค์การ 2. ปัจจัยภายนอกเหนือการควบคุมที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติความคิดเห็นอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 3 ปัจจัย คือ ด้านเทคโนโลยี ด้านความผันผวนทางเศรษฐกิจ และด้านสภาพทางสังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง 1 ปัจจัย คือ ด้านการ เปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3. การนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติระดับความสาเร็จอยู่ในระดับค่อนข้างมาก 4 ด้าน คือ ด้านการทานุบารุงศิลปและวัฒนธรรมด้านผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ด้านการสอน และด้านการบริการทางวิชาการแก่สังคม ความคิดเห็นอยู่ในระดับปาน กลาง 1 ด้าน คือ ด้านการวิจัย 4. ปัจจัยที่มีผลต่อความสาเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายวิชาการและสายผู้สอน คือ ปัจจัยการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยการติดตามการดำเนินงานขององค์การ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้ำหนักสูงสุด 5. ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของสายสนับสนุนหรือสายปฏิบัติ คือ ปัจจัยสมรรถนะขององค์การ ปัจจัยการสนับสนุนจากภาคเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยการ ติดตามการดำเนินงาน และปัจจัยเทคโนโลยี อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .01 และมีน้าหนักสูงสุด 6. ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เห็นว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏประสบความสำเร็จในการนำนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏไปปฏิบัติ ต้องได้รับความร่วมมือจากบุคคล ในการร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมปฏิบัติ ร่วมติดตามผล รายงานผล และทบทวนอยู่เป็นประจำ นโยบายต้องเกิดจากการมีส่วนร่วม ที่สำคัญผู้บริหารสูงสุดต้องเข้าใจและสนับสนุนนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม ต้องตอบโจทย์ปัญหาของประเทศให้ได้ และจัดทำนโยบายที่เป็นรูปธรรมชัดเจน มีเป้าหมายชัดเจนสู่ทุกระดับ ต้องเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เป็น โครงการที่สามารถหาแหล่งทุนสนับสนุนจากรัฐได้ นโยบายแนวทางที่มีประโยชน์ ต้องมีงบประมาณดูแล ควบคุมอย่างต่อเนื่อง วางแผน พัฒนาอย่างต่อเนื่องเต็มรูปแบบ พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจ เข้าถึงความเจริญก้าวหน้า อยู่ตลอดเวลา ฯลฯ วิสัยทัศน์ ปรัชญา พันธกิจ มีกรอบการดาเนินงานชัดเจน และมีมาตรการสำหรับกำกับควบคุมการทำงานเลือกคนให้เหมาะกับงาน บูรณาการ การทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ มีเครือข่าย
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4514
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ปก วัชรินทร์ สุทธิชัย PHD-2555.pdf82.11 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทคัดย่อ วัชรินทร์ สุทธิชัย PHD-2555.pdf268.84 kBAdobe PDFดู/เปิด
กิตติกรรมประกาศ วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf66.58 kBAdobe PDFดู/เปิด
สารบัญ วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf196.96 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 1 วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf139.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 2 วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf492.94 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 3 วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf268.01 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 4 วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf1.26 MBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 5 วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf514.37 kBAdobe PDFดู/เปิด
บรรณานุกรม วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf185.27 kBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf659.06 kBAdobe PDFดู/เปิด
ประวัติผู้วิจัย วัชรินทร์ สุทธิศัย PHD-2555.pdf64.25 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น