กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4535
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในจังหวัดนครปฐม=FACTORS AFFECTING THE PROGRESS OF MISSION TRANSFER TO LOCAL GOVERNMENT : A CASE STUDY OF SUBDISTRICT ADMINISTRATION ORGANIZATION IN NAKHONPATHOM PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รังสรรค์ อินทน์จันทน์
คำสำคัญ: การถ่ายโอนภารกิจ
องค์การบริหารส่วนตำบล
วัฒนธรรมองค์การ
ภาวะผู้นำ
วันที่เผยแพร่: 7-มกราคม-2558
แหล่งอ้างอิง: รังสรรค์ อินทน์จันทน์. 2558. "ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.) ในจังหวัดนครปฐม ." วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท.
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ในจังหวัดนครปฐม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาระดับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจของ อบต.ตามภารกิจหลัก 6 ด้าน 2)ศึกษาปัจจัยแวดล้อมทางการบริหารจัดการของ อบต.3)วิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างสถานภาพส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างกับความก้าวหน้าของการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต.4)วิเคราะห์แบบถดถอย พหุคูณระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้ากับความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อบต. และ 5) ค้นหาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการถ่ายโอนภารกิจที่เหมาะสมให้แก่ อบต. การวิจัยครั้งนี้ ผู้ศึกษาใช้การวิจัยเชิงผสม ซึ่งรวมเอาข้อดีของวิธีวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์จากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งประกอบด้วย (1) พนักงาน อบต. จำนวน 300 คน สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ และ (2) นายก อบต. ปลัด อบต. และข้าราชการในสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนภารกิจ จำนวน 21 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มากที่สุดคือ นโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจ (ขั้นตอนระดมพลัง) รองลงมาคือทรัพยากรทางการบริหาร (งบประมาณ), วัฒนธรรมองค์การ (การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม) โดยมีภาวะผู้นำ (เผด็จการแบบมีศิลป์) มีค่าน้อยที่สุด โดยความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิตมีความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความ สงบเรียบร้อยด้านโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการวางแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว และด้านศิลปวัฒนธรรมจารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจน้อยที่สุด และเมื่อวิเคราะห์ความแปรปรวนเพื่อเปรียบเทียบสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า มีเพียงระดับการศึกษา และรายได้ เท่านั้นที่มีผลต่อความก้าวหน้าในการถ่ายโอนภารกิจ สาหรับการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ มีเพียง 2 ปัจจัยเท่านั้น คือ ภาวะผู้นำและนโยบายในการบริหารจัดการการถ่ายโอนภารกิจที่สามารถทำนายความเป็นไปได้ที่มีผลต่อความก้าวหน้าการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบทุกด้าน การวิจัยได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะดังนี้ 1)ข้อเสนอแนะเชิงวิชาการ (1)ต้องศึกษาเงื่อนไขของแต่ละบริบทและแต่ละปัจจัยอย่างถ่องแท้ (2)นำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบในการวางกลยุทธ์ในการขับเคลื่อนภารกิจให้ประสบผลสำเร็จเป็นลำดับ และ (3)มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอบต.อย่างสม่าเสมอทั้งในด้านปัจจัยภายในและภายนอกองค์การ 2)ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (1)รัฐบาลต้องจัดทำโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายโอนภารกิจทั้งในฝ่ายของผู้รับโอน ผู้ให้โอน และผู้รับผลกระทบให้เข้าใจได้ตรงกัน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันทาทำงาน (2)ปรับปรุงกฎหมายให้เกิดความทันสมัยและสอดคล้องกับการทำงาน (3)ไม่ควรกำหนดเงื่อนไขการทำงานที่รัดตัวผู้ปฏิบัติจนเกินไป (4)รัฐบาลต้องสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรบุคคลของท้องถิ่นทุกระดับเพื่อให้ทรัพยากรบุคคลมีศักยภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะผู้บริหาร อบต.ที่ต้องมีการฝึกให้มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ เพื่อติดตามสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์การ อันจะช่วยให้มีข้อมูลที่ถูกต้องทันสมัย และนำมากำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางขององค์การได้ รวมถึง แสวงหาเทคนิคการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม อันจะช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน 3)ข้อเสนอแนะเชิงเทคนิค (1)สร้างวัฒนธรรมองค์การแบบการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (2) สร้างผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ที่สามารถบริหารงานได้อย่างยืดหยุ่นตลอดเวลาตามสถานการณ์ (3)อบต. ต้องมีการเตรียมวางแผนเพื่อพร้อมรับสถานการณ์ที่ผันผวนและเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
รายละเอียด: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4535
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:S_PAY-10. วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
ปก รังสรรค์ PHD 2552.pdf41.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
ใบรับรอง รังสรรค์ PHD 2552.pdf68.12 kBAdobe PDFดู/เปิด
กิตติกรรมประกาศ รังสรรค์ PHD 2552.pdf54.7 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทคัดย่อ รังสรรค์ PHD 2552.pdf98.29 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 1 รังสรรค์ PHD 2552.pdf152.67 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 2 รังสรรค์ PHD 2552.pdf808.21 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 3 รังสรรค์ PHD 2552.pdf409.8 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 4 รังสรรค์ PHD 2552.pdf983.75 kBAdobe PDFดู/เปิด
บทที่ 5 ภาคผนวก รังสรรค์ PHD 2552.pdf162.16 kBAdobe PDFดู/เปิด
บรรณานุกรม ภาคผนวก รังสรรค์ PHD 2552.pdf153.04 kBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก รังสรรค์ PHD 2552.pdf52.81 kBAdobe PDFดู/เปิด
ภาคผนวก ภาคผนวก รังสรรค์ PHD 2552.pdf39.95 kBAdobe PDFดู/เปิด
แบบสอบถาม รังสรรค์ PHD 2552.pdf72.09 kBAdobe PDFดู/เปิด
ประวัติผู้วิจัย รังสรรค์ PHD 2552.pdf60.09 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น