ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ : ศึกษากรณีสิทธิบัตร= LEGAL PROBLEMS RELATED TO THE PROTECTION OF JASMINE RICE : CASE STUDY ON PATENT

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2558-02-18T12:48:47Z

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

เชิงนามธรรม

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ เนื่องจากปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีชีวภาพทำให้เกิดการตัดแต่งพันธุกรรมข้าว ดังนั้น เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกิดการคิดค้นและการพัฒนาพันธุ์ข้าว กระบวนการตัดแต่งพันธุกรรมและพันธุ์ข้าวที่เกิดขึ้นใหม่จึงถือเป็นการประดิษฐ์ที่ควรได้รับความคุ้มครอง แต่พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 มิได้กำหนดให้สิทธิบัตรให้ความคุ้มครองรวมไปถึงพันธุ์พืชด้วย ดังจะเห็นได้จากมาตรา 9 ซึ่งกำหนดห้ามมิให้ขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต จากการศึกษา ผู้วิจัยเห็นว่าประเด็นทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการให้ความคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิในประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนเพียงพอ ซึ่งระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้ความคุ้มครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ สิทธิบัตร ซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่ผู้ทรงสิทธิบัตรในการผลิต จำหน่าย หรือใช้ประโยชน์ เป็นต้น แม้จะมีขอบเขตระยะเวลาของการให้ ความคุ้มครองสิทธิบัตรการประดิษฐ์แต่ก็สามารถสร้างกำลังใจให้ผู้ประดิษฐ์ภายในระยะเวลาดังกล่าวได้ ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยเข้าเป็นภาคีในสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรแล้ว ผู้ขอสามารถที่จะยื่นคำขอรับความคุ้มครองที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศได้ อันเป็นการช่วยลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตรในการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่างๆ

คำอธิบาย

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

สิทธิบัตร, การคุ้มครองพันธุ์ข้าวหอมมะลิ

การอ้างอิง