เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบกังหันแนวตั้ง

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

โครงงานเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบกังหันแนวตั้งชนิด 9 เฟส ขนาด 300 วัตต์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมไปประจุแบตเตอรี่ขนาด 12 โวลต์ โดยลักษณะโครงสร้างเป็นแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดขั้วแม่เหล็กถาวร ฉนวนเรซิ่น หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมคือ ใบพัดรับพลังงานลมทำให้โรเตอร์ที่ประกอบด้วยชุดขั้วแม่เหล็กถาวรตัดกับ สเตเตอร์ที่ประกอบด้วยชุดขดลวดตัวนำ ซึ่งทำให้เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับขึ้นแล้วทำการแปลงให้เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงโดยผ่านวงจรเรียงกระแสเพื่อนำใช้ในการประจุแบตเตอรี่ จากผลการทดลองในสถานที่ทดสอบ (อาคาร2 ชั้นด่านฟ้า มหาวิทยาลัยศรีปทุม) พบว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบกังหันแนวตั้งนี้จะสามารถประจุกระแสไฟฟ้าให้กับแบตเตอรี่พิกัดขนาด 12 โวลต์ 60 แอมป์แปร์ชั่วโมงได้ ขณะที่ความเร็วรอบของใบพัดเท่ากับ 30 รอบต่อนาที และอัตราการไหลของลมเท่ากับ 2-3 เมตรต่อวินาที จากข้อมูลเบื้องต้นผู้จัดทำได้ทำการวิเคราะห์จากอัตราการไหลของลมในพื้นที่ติดตั้งจริง 6 เมตรต่อวินาที ขึ้นไป ซึ่งคาดว่าจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดประมาณ 3.5 แอมป์แปร์ ที่ความเร็วของใบพัดเท่ากับ 120 รอบต่อนาที และใช้เวลาในการประจุแบตเตอรี่ขนาด 12โวลต์ 60 แอมป์แปร์ชั่วโมง ได้ไม่เกิน 17 ชั่วโมง

คำอธิบาย

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำหลัก

พลังงานลม, กังหันลม, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า, Generator, สมบัติทางแม่เหล็กของวัสดุ, วงจรเรียงกระแสสามเฟสแบบไดโอด, แบตเตอรี่, การออกแบบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พลังงานลม

การอ้างอิง

ชัยภิวัฒน์ แจ่มใส, ไชยวัฒน์ สังข์เปีย, และชานนท์ สุขสำราญ. 2552. "เครื่องกำเนิดไฟฟ้าพลังงานลมแบบกังหันแนวตั้ง." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.