CTH-06. ผลงานวิจัย

URI ถาวรสำหรับคอลเล็กชันนี้

เรียกดู

การส่งล่าสุด

ตอนนี้กำลังแสดง1 - 7 ของ 7
  • รายการ
    แนวทางการส่งเสริมคุณภาพการให้บริการเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจสปาในประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) ชญาณิศา วงษ์พันธุ์
    ปัจจุบันการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพถือว่าเป็นการท่องเที่ยวที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ทำให้พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไป ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพและให้ความสำคัญกับสุขภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยมุ่งพัฒนาเพื่อก้าวเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่จะแข่งขันกับนานาประเทศ โดยใช้ศักยภาพความแข็งแกร่งด้านระบบบริการสุขภาพของประเทศ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยว พฤติกรรมของนักท่องเที่ยว และคุณภาพการให้บริการ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่มีต่อคุณภาพการ ให้บริการของธุรกิจสปา 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการให้บริการของธุรกิจสปา
  • รายการ
    ปัจจัยทางการท่องเที่ยวและรูปแบบการบริหารงานที่ส่งผลต่อความสำเร็จของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร
    (Sripatum University, 2566) ณัฐกฤตา นันทะสิน
    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร เกี่ยวกับ 1) องค์ประกอบทางการท่องเที่ยว 2) รูปแบบการบริหารงาน และ 3) รูปแบบการบริหารการตลาด เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ กลุ่มนักท่องเที่ยวที่เคยใช้บริการร้านกาแฟเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร
  • รายการ
    การศึกษาประสบการณ์นักท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงศาสนาในประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) ปวีดา สามัญเขตรกรณ์
    การท่องเที่ยวเชิงศาสนาเป็นรูปแบบของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเภทหนึ่ง เป็นการท่องเที่ยวที่อยู่ในระดับที่ไม่ลึกซึ้งนัก ผู้เดินทางมีความพึงพอใจที่ได้ไปเยี่ยมเยือนในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่มีคุณค่าทางด้านความเชื่อ และเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม แต่เนื่องจากองค์ประกอบการท่องเที่ยวของการท่องเที่ยวเชิงศาสนาอาจมีความแตกต่างจากองค์ประกอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทําให้อาจส่งมอบประสบการณ์ที่แตกต่างให้แก่นักท่องเที่ยว ดังนั้นการนําเสนอประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงศาสนาให้ตรงกับความต้องการของนักท่องเที่ยวเชิงศาสนาจากองค์ประกอบการท่องเที่ยวจึงมีความสําคัญ ซึ่งการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบการท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่มีความสําคัญต่อนักท่องเที่ยว และ 2) เพื่อศึกษาประเภทของประสบการณ์การท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่นักท่องเที่ยวได้รับ โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสํารวจความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมายังแหล่งท่องเที่ยวเชิงศาสนาในเกาะรัตนโกสินทร์
  • รายการ
    แนวทางการพัฒนากิจกรรมนันทนาการและการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุในจังหวัดสมทุรสาคร
    (Sripatum University, 2566) กฤศนพัชญ์ บุญช่วย
    การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการท่องเที่ยวและความต้องการกิจกรรมนันทนาการของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาครและเสนอแนวทางการพัฒนากิจกรรมนันทนาการและการท่องเที่ยวเพื่อผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยในเชิงสำรวจ
  • รายการ
    อิทธิพลของคุณภาพการให้บริการที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุที่มาใช้บริการในสนามบินสุวรรณภูมิ
    (Sripatum University, 2566) ธนกร ณรงค์วานิช
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของคุณภาพการให้บริการ และนวัตกรรมการให้บริการ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ ของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) ศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการให้บริการ ที่มีต่อนวัตกรรมการให้บริการ และ (4) ค้นหาตัวพยากรณ์ที่ดีในการทำนายนวัตกรรมการให้บริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ที่มาใช้บริการ ในสนามบินสุวรรณภูมิ
  • รายการ
    แรงจูงใจผลักดันและดึงดูดของนักท่องเที่ยวในการท่องเที่ยวเรือสําราญ ในเขตประเทศไทย
    (Sripatum University, 2566) ชญาณิศา วงษ์พันธุ์
    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจทางการท่องเที่ยวด้านปัจจัยผลักดันและปัจจัยดึงดูดของนักท่องเที่ยวเรือสำราญที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อกระบวนการตรวจคนเข้าเมืองของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองในท่าเรือของประเทศไทย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจปัจจัยผลักดันกับปัจจัยดึงดูดของนักท่องเที่ยวเรือสำราญ ในเขตประเทศไทย ขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาแรงจูงใจเกี่ยวกับนักท่องเที่ยวเรือสำราญชาวต่างชาติ ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitativ Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล
  • รายการ
    ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฎิบัติงานของบุคลากรที่ปฎิบัติงานในสายการบินไทยแอร์เอเซีย
    (มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2561-08) ธนกร ณรงค์วานิช
    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสายการบินไทยแอร์เอเซียและเพื่อนำผลการศึกษาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการปฏิบัติงานของบุคลากรในธุรกิจสายการบินในประเทศไทย ผู้วิจัยกำหนดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานภาคพื้นดินของสายการบินไทยแอร์เอเซีย จำนวน 356 คน และใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบบังเอิญซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการรวบรวมแบบสอบถามที่ได้รับทั้งหมด นำมาวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัย โดยกำหนดระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 ทั้งนี้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation หรือ S.D.) และใช้การวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) สำหรับค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้กำหนดไว้ที่ระดับ .05 และ .01