กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5008
ชื่อเรื่อง: โรงแรมชิโนโปรตุกีส จังหวัดภูเก็ต
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Chino-Protuguese Hotel, Phuket
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูมิ ดวงแข
คำสำคัญ: จังหวัดภูเก็ต
เอกลักษณ์ทางสถาปัตยกรรม
โรงแรม เมมโมรี่ แอท ออนออน
โรงแรมพูคาน่านฟ้า
ทฤษฏีการออกแบบ
โครงการ City Hotel
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ภูมิ ดวงแข. 2559. "โรงแรมชิโนโปรตุกีส จังหวัดภูเก็ต." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 54018007_ภูมิ ดวงแข
บทคัดย่อ: จังหวัดภูเก็ตถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย พร้อมทั้งยังมี โรงแรมที่พัก พร้อมสรรพในทุกระดับราคาเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามายังจังหวัดภูเก็ต ตกเฉลี่ยปีละ 4- 5 ล้านคน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในด้านตึกเก่าที่มีสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน จากการเป็นเมืองท่องเที่ยวที่โดดเด่น และความหลากหลายทางธรรมชาติ ทำให้ภูเก็ตมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวในทุกๆปี จึงทำให้เกิดปัญหาความต้องการในเรื่องสถานที่รองรับการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว ในขณะเดียวกันการที่จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นแนวโน้มความต้องการใช้บริการห้องพักจะขยายตัวตาม ส่งผลให้ธุรกิจโรงแรมและรีสอทร์เติบโตอย่างต่อเนื่องตลอดจนการลงทุน และมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ดังที่กล่าวมาจึงได้จัดทำ โครงการ City Hotel ขึ้น เป็นโรงแรมชิโนโปรตุกีส มีจำนวนห้องพักทั้งหมด 40 ห้อง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เช่น ร้านค้า ห้องประชุม ห้องอาหาร ห้องจัดเลี้ยง โครงการมีขนาดเนื้อที่ 17,500 ตารางเมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดภูเก็ต พื้นที่เป็นลักษณะซอยทาง ตั้งอยู่ที่ถนนสุรินทร์ ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมืองภเูก็ต จังหวัดภูเก็ต บริเวณโดยรอบมีสถานที่ที่สำคัญได้แก่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต และสำ นักงานเทศบาลนครภูเก็ต แนวคิดในการออกแบบ คือการนำเอารูปแบบผังจีนเข้ามาประยุกต์โดยมีส่วนสำคัญคือ การพัฒนาผังและคอร์ดภายใน รูปแบบของผังและคอร์ทภายในแบบจีนใช้เป็นพื้นที่ทำกิจกรรม ส่วนรูปแบบและการตกแต่งอาคาร มีการนำเอาเอกลักษณ์แบบชิโนโปรตุกีส ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นในจังหวัดภูเก็ตเข้ามาใช้ในการออกแบบ โดยโครงสร้างอาคารเป็นระบบโครงสร้างเสาและคาน ด้วยการวางผังบวกกับวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งจะทำให้เกิดรูปแบบที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5008
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TH_54018007_Poom_Daongkar.pdf3.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น