กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5041
ชื่อเรื่อง: โครงการศูนย์การเรียนรู้นาฏศิลป์ภาคใต้
ชื่อเรื่องอื่นๆ: SOUTHERN PERFORMING ARTS LEARNING CENTER
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปทิตตา ทองขาว
คำสำคัญ: หนังตะลุง
การเล่นหนังตะลุง
การเล่นแข่งหนัง
การแกะหนังตะลุง
มโนราห์
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
แหล่งอ้างอิง: ปทิตตา ทองขาว. (2559. " โครงการศูนย์การเรียนรู้นาฏศิลป์ภาคใต้." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
หมายเลขชุด/รายงาน: 55017035_ปทิตตา ทองขาว
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและออกแบบศูนย์การเรียนรู้นาฏศิลป์ภาคใต้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา เพื่อให้เป็นศูนย์การเผยแพร่ข้อมูลสนับสนุนการศึกษาอนุรักษ์วัฒนธรรมของนาฏศิลป์พื้นบ้านของภาคใต้ เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ความเป็นมา ความสำคัญของนาฏศิลป์ภาคใต้ที่อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนภาคใต้ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ให้นักเรียน นักศึกษาและบุคลทั่วไปได้รับรู้ เข้าใจ และให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมเหล่านี้มากขึ้น เพื่อยังคงอยู่ต่อไป วิธีการศึกษาออกแบบ เพื่อรับรู้และเข้าใจนาฏศิลป์ภาคใต้ มีการทำงานผ่านกระบวนการออกแบบสถาปัตยกรรม เริ่มจากการศึกษาทฤษฎี การรวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา ศึกษาโครงการกรณีศึกษาถึงวิธีการออกแบบ ศึกษาแนวความคิดด้านทฤษฎีการรับรู้ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม ความเชื่อทางด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ที่มีผลต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เอกลักษณ์ที่แตกต่างจากภาคอื่นๆ ตลอดจนองค์ประกอบทางกายภาพที่ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมที่มีความหลากหลาย และนำผลการการศึกษามาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การออกแบบ และกำหนดโปรแกรมของโครงการ เพื่อให้ตรงกับแนวความคิด ความเป็นสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับการส่งเสริม อนุรักษ์นาฏศิลป์ภาคใต้ ผลการศึกษาออกแบบสถาปัตยกรรมโดยใช้แนวความคิดกระบวนการของรูปทรงและองค์ประกอบส่วนต่างๆ ของอาคาร เป็นการนำการเล่นแสงเงาที่มาจากการเล่นหนังตะลุงโดยใช้การบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ผ่านการแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม อันเป็นลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่งของวัฒนธรรม การนำแสงเงาที่เกิดจากธรรมชาติมาใช้ในการให้ความสว่างในตอนกลางวันและการใช้ความเชื่อในการตั้งทิศทางของการแสดงมาเป็นส่วนในการจัดวางตัวอาคาร และคำนึงถึงมุมมองจากภายนอกพื้นที่โครงการเข้ามาภายในให้มีความเหมาะสมกับทิศทางและบริบทโดยรอบ มีพื้นที่สำหรับทากิจกรรมทั้งกลางแจ้งและในร่มไว้สำหรับผู้เข้ามาใช้บริการ และสร้างการรับรู้ของผู้ใช้อาคารโดยให้สถาปัตยกรรมนั้นทำหน้าที่บอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5041
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:ARC-08. ผลงานนักศึกษา

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
TH_55017035_Patitta_Thongkhaw.pdf7.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น