Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5526
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorชนะรัตน์ ผกาพันธ์en_US
dc.date.accessioned2018-04-19T08:45:47Z-
dc.date.available2018-04-19T08:45:47Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.citationชนะรัตน์ ผกาพันธ์. (2560). มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.identifier.urihttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5526-
dc.descriptionชนะรัตน์ ผกาพันธ์. มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทย.สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.en_US
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้ถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอโดยใช้ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ย่อมทำให้เกิดความยุติธรรมกับผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ถูกกล่าวหา ผู้ต้องหา หรือจำเลย โดยหลงลืมหรือละเลยสิทธิของผู้เสียหาย กล่าวคือ ผู้เสียหายในคดีอาญา ซึ่งเป็นผู้ถูกกระทำหรือถูกละเมิดสิทธิและเป็นส่วนสำคัญของการเริ่มต้นการดำเนินคดีอาญา ไม่ค่อยได้รับการคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐและองค์กรต่าง ๆ เท่าที่ควร ทั้งที่สิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสมควรได้รับการคุ้มครองอย่างถูกต้องเหมาะสมและเพียงพอ เช่น ปฏิญญาว่าด้วยหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายจากอาชญากรรมและการใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้อง ค.ศ. 1985 ได้กำหนดมาตรฐานที่ตอบสนองต่อความต้องการของเหยื่ออาชญากรรมไว้ 4 ด้าน คือ การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมและได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม การได้รับการชดเชยความเสียหายจากผู้กระทำความผิด การได้รับการชดเชยความเสียหายจากรัฐ และการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหาย เมื่อพิจารณาบทบัญญัติกฎหมายอาญาและกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทยจะเห็นได้ว่ามีผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นศูนย์กลางและมุ่งที่จะคุ้มครองผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นหลักโดยให้การคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยมากขึ้นตั้งแต่ชั้นจับกุม ชั้นสอบสวน และชั้นพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งความจริงแล้วการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายนั้น ควรมีความเท่าเทียมหรือมากกว่าผู้ต้องหาหรือจำเลย โดยไม่มีการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในลักษณะอื่น เช่น การเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้เสียหาย เช่น การแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงกระบวนการสืบสวน สอบสวน การสั่งคดีของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การพิจารณาและพิพากษาคดี การให้ผู้เสียหายตรวจสอบสำนวนคดีได้ การส่งตัวผู้เสียหายไปบำบัดฟื้นฟูจิตใจในสถานพยาบาล การส่งตัวผู้เสียหายไปอยู่ในที่ปลอดภัย และการจำกัดสื่อมวลชนรายงานข่าวเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณา คำสำคัญ : ผู้เสียหาย กระบวนการยุติธรรมทางอาญาen_US
dc.description.sponsorshipหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยศรีปทุมen_US
dc.relation.ispartofseriesSPU_ชนะรัตน์_2560en_US
dc.subjectผู้เสียหายen_US
dc.subjectกระบวนการยุติธรรมทางอาญาen_US
dc.titleมาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativePROTECTION MEASURES OF THE INJURED PERSONS’ RIGHTS IN CRIMINAL JUSTICE SYSTEM OF THAILANDen_US
dc.typeArticleen_US
Appears in Collections:LAW-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ.pdf329.63 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.