Please use this identifier to cite or link to this item: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5585
Title: การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคบนเส้นทาง แหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานี
Other Titles: FEASIBILITY STUDY OF MULTIMODAL TRANSPORT OPERATOR BY TRUCKS AND TRAINS CASE STUDY: TRANSPORTATION OF CONSUMER PRODUCTS FROM LAEM CHABANG TO NONG TAKAI, UDONTHANI PROVINCE
Authors: ธีรวัลย์ ภิญโญวงษ์
Keywords: การขนส่งสินค้าต่อเนื่อง
การขนส่งสินค้า
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Citation: ธีรวัลย์ ภิญโญวงษ์. 2559. "การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคบนเส้นทาง แหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานี." บทความ การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Series/Report no.: SPU_ธีรวัลย์ ภิญโญวงษ์ _2559
Abstract: การศึกษาความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ กรณีศึกษา การขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค บนเส้นทางแหลมฉบัง – หนองตะไก้ จังหวัดอุดรธานีเป็นการสนับสนุนนโยบายการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสู่รูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก ใน (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม และประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ ด้านการตลาด ด้านเทคนิค ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ผลการศึกษาพบว่า การพัฒนาธุรกิจขนส่งสินค้าต่อเนื่องด้วยรถบรรทุกและรถไฟ เพื่อส่วนแบ่งทางการตลาดร้อยละ 1.5 ของการขนส่งภายในประเทศ สอดคล้องกับแนวทาง การปรับตัวของผู้ให้บริการขนส่งรายย่อยในการผันไปเป็นผู้ให้บริการรับช่วงขนส่ง (Sub-contractors) โดยรูปแบบธุรกิจที่มีความเป็นไปได้ คือ 1) ผู้ให้บริการขนส่งขยายขอบข่ายการให้บริการเชื่อมโยงการขนส่งด้วยรถไฟ และ 2) ผู้แทนรับจัดการขนส่งสินค้า โดยทำหน้าที่เป็นตัวกลางประสานงานระหว่างผู้เกี่ยวข้องทั้งภาคการผลิต ผู้ให้บริการขนส่งด้วยรถบรรทุก และการรถไฟแห่งประเทศ การปฏิบัติ งานจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ขนถ่ายสินค้าที่สามารถยกขนหรือขนถ่ายสะดวกด้วยโฟล์คลิฟท์ในการขนย้ายระหว่างคลังสินค้ากับรถบรรทุก และรถไฟ ตลอดจนการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานและการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันภายในกลุ่มผู้ให้บริการขนส่งและการรถไฟแห่งประเทศไทย ภายใต้ข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลทางการเงินและการลงทุนทั้ง 2 รูปแบบ มีระยะเวลาคืนทุน (PB) ใกล้เคียงกันอยู่ที่ประมาณ 4 ปี 11 เดือน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มีมูลค่าเท่ากับ - 577,137.92 และ - 954,796.01 และอัตราผลตอบแทนการลงทุน (IRR) อยู่ที่ร้อยละ 2.12 และ 2.03
Description: หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มหาวิทยาลัยศรีปทุม ปีการศึกษา 2559.
URI: http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5585
Appears in Collections:CLS-08. ผลงานนักศึกษา

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
บทความ_ธีรวัลย์ ภิญโญวงษ์_rev.041017.pdf495.25 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.