สถาปัตยกรรมเชิงโต้ตอบ : โครงการอาคารบำบัดรักษาผู้ป่วยจิตเวชชาย

กำลังโหลด...
รูปภาพขนาดย่อ

วันที่

2560

ชื่อวารสาร

วารสาร ISSN

ชื่อหนังสือ

สำนักพิมพ์

มหาวิทยาลัยศรีปทุม

เชิงนามธรรม

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ ทางความรู้สึกของมนุษย์กับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม โดยคำนึงถึงสภาพอารมณ์ความรู้สึกที่ตื่นเต้นของมนุษย์ การรับรู้ของมนุษย์ที่เกิดจากสัญชาติญาณที่มีผลกระทบต่อความรู้สึกกับทางร่างกาย ซึ่งการรับรู้ทางความรู้สึกที่มีผลต่อพัฒนาการทางด้านร่างกายและความนึกคิด จึงมีความสำคัญในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมที่สามารถส่งผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ แนวความคิดในการออกแบบ คือ การคำนึงถึงลักษณะของการรับรู้ที่แตกต่างกัน ไปตามพฤติกรรมของมนุษย์ โดยแบ่งเป็นลักษณะของการรับรู้ที่มีแบบมีกฎเกณฑ์ ซึ่งผ่านการรับรู้พื้นฐานของมนุษย์ต่อสิ่งต่าง ๆ (Perception) ได้แก่ การมองเห็น การสัมผัส การได้ยิน การได้กลิ่นและการลิ้มรส จะนาสู่การแสดงออกทางสถาปัตยกรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกมนุษย์ เช่น การใช้ระนาบ การใช้เส้นสายการใช้สี การใช้แสงและเงา ในพื้นฐานของอารมณ์ความรู้สึกตื่นเต้นที่จะเป็นสิ่งเร้าให้กับมนุษย์ เช่น การเคลื่อนที่ การเกิดกิจกรรม การละเล่น ก่อให้เกิดพฤติกรรมที่กำหนดให้มีความกระตือรือร้นหรือความสนใจ โดยพยายามให้พัฒนาการของมนุษย์นั้นเป็นไปโดยอิสระและเกิดผลลัพท์ที่ส่งผลต่อมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ที่มีอาการป่วยทางจิต (ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า) เพื่อให้เป็นการพัฒนาการทางด้านร่างกายและความนึกคิดของผู้ป่วยโดยผ่านการรับรู้ลักษณะโดยรวมของความรู้สึกตื่นเต้นของผู้ป่วย เน้นการรับรู้โดยใช้รูปแบบขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่สามารถรองรับวิธีการบา บัดรักษาที่แตกต่างกันตามความเหมาะสมของที่ว่าง เพื่อจา ลองหาเงื่อนไขใน 3 รูปแบบ ได้แก่ ที่ว่างภายนอก(Outdoor) ที่ว่างภายใน(Indoor) และทางสัญจร(Circulation) ตามความเหมาะสมของขนาดของพื้นที่ว่าง ที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ของโครงการ

คำอธิบาย

สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์

คำหลัก

การอ้างอิง

ชัชวาลย์ วงษารี. 2560. "สถาปัตยกรรมอีสานร่วมสมัย : ศูนย์ความรู้ด้านการออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ ขอนแก่น." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.